at 8:29 PM Labels: Posted by Nutcharin

การเพาะเห็ดเป็นอาชีพที่มีความสำคัญในทางเศรษฐกิจอาชีพหนึ่ง เนื่องจากการเพาะเห็ดสามารถที่จะทำให้ ภายในครอบครัวมีอาหารที่มีคุณค่า โดยเฉพาะโปรตีนไม่แพ้เนื้อสัตว์ และมีความปลอดภัยจากสารเคมี การเพาะเห็ด สามารถเพาะสำหรับการบริโภคในครัเรือน หรือสามารถพัฒนาการเพาะเห็ดให้เป็นอาชีพหลัก มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ได้เป็นอย่างดี ในภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่นี้ การเพาะเห็ดนั้นเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย เปลือก มันสำปะหลัง ทะลายปาล์ม ขี้เลื่อย เปลือกถั่วเขียว หรือแม้กระทั่งวัสดุที่มีในธรรมชาติ ได้แก่ หญ้าชนิดต่างๆ ใช้เป็น วัสดุเพาะให้เหมาะสมกับท้องถิ่น เพื่อให้ต้นทุนต่ำลง อีกทั้งช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ต้องไปตัดไม้ทำลายป่าเพียงหาวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาเพาะ และทำให้คนมีงานทำได้อย่างต่อเนื่อง


ประเภทของการเพาะเห็ด เห็ดที่เกษตรกรเพาะในปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. เห็ดถุง ได้แก่ เห็ดสกุลนางฟ้า นางรม เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดขอนขาว เห็ดลม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดตีนแรด และ เห็ดหลินจือ เป็ นต้น วิธีการผลิตโดยนำขี้เลื่อยหรือวัสดุการเกษตรอื่นๆ มาเป็ นวัสดุเพาะ ผสมอาหารเสริมบรรจุ ถุงพลาสติกนำไปนึ่งฆ่าเชื้อ ใส่เชื้อเห็ดที่ผลิตขายในท้องตลาด เช่น เห็ดสกุลนางฟ้า นางรม เห็ดลมใช้เวลาในการเก็บ ประมาณ 3 เดือน – 1 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดเห็ด
2. เห็ดฟาง เป็นเห็ดยอดนิยม และเปรียบเสมือนเห็ดที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของเกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่ทำนา และนำ ฟางมาเพาะเห็ดหลังเสร็จสิ้นฤดูทำนา ปัจจุบันมีวิธีการเพาะ 2 ลักษณะคือ
   2.1 เพาะเห็ดกลางแจ้ง เป็นเห็ดที่มีปริมาณมากที่สุดของเห็ดในประเทศไทย การเพาะใช้ฟางข้าว เปลือกถั่วเขียว เปลือกมันสำปะหลัง ทะลายปาล์ม หรือวัสดุการเกษตรอื่นๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น การเพาะเห็ดเป็นแบบ กองเตี้ย หรือตะกร้า จะใช้เวลาในการเพาะ 10 – 15 วัน
  2.2 เพาะในโรงเรือนแบบอุตสาหกรรม การเพาะเห็ดฟางด้วยวิธีนี้ ต้องใช้เทคโนโลยีสูงกวาการเพาะ เห็ดกลางแจ้ง มีการลงทุนสูงในระยะแรก แต่ภายในโรงเรือนสามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น จึงทำให้สามารถเพาะ ได้ตลอดปี
วิธีการเพาะเห็ด
เมื่อตัดสินใจเลือกประเภทของเห็ดที่จะเพาะเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ผู้เพาะต้องศึกษาคือหลักวิชาการ ความรู้พื้นฐาน เงินทุน ผลตอบแทน เพื่อประกอบการตัดสินใจ รวมทั้ง หาโอกาสเข้าฝึกอบรม ดูงาน และลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจาก การลงทุนน้อยๆ เมื่อมั่นใจแล้วค่อยขยายกิจการต่อไป
1. การเพาะเห็ดถุง มีการเพาะกันทั่วทุกภาคของประเทศไทย สิ่งที่ต้องเรียนรู้ สำหรับผู้ที่ต้องการทำก้อนเชื้อขี้เลื่อย ไว้จำหน่ายหรือเปิดดอกเอง ขั้นตอนต่างๆ ในการเพาะมีดังนี้
1) การเตรียมวัสดุเพาะเห็ด
  1. ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ไม้เบญจพรรณ ชานอ้อย อาหารเสริม
  2. แม่เชื้อเห็ด ชนิดที่ต้องการ
  3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 63/4 x12 นิ้ว ครึ่ง หรือ 8x12 นิ้ว
  4. คอขวดพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ครึ่ง
  5. สำลี, ยางรัด
  6. ถังนึ่งไม่อัดความดัน
  7. โรงเรือนหรือที่บ่มเส้นใย และโรงเปิดดอก แยกกัน 
2) วิธีการเตรียมวัสดุเพาะ

ส่วนผสม เป็นสูตรพื้นฐาน สามารถปรับตามสภาพของแต่ละท้องถิ่น
ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแห้ง 100 กิโลกรัม
รำละเอียด 5 กิโลกรัม
ยิปซั่ม 2 กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม
ดีเกลือ 200 กรัม
นำส่วนผสมดังกล่าวข้างต้น (สูตรใดก็ได้แล้วแต่หาวัสดุได้) ผสมให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่องผสม แล้วปรับ ความชื้น 60-65 % โดยเติมน้ำพอประมาณ ใช้มือกำวัสดุเพาะบีบให้แน่น ถ้ามีน้ำ ซึมที่ง่ามมือแสดงว่าเปียกเกินไป 
3) วิธีการเพาะ

  1. บรรจุวัสดุเพาะใส่ถุงพลาสติกทนร้อน น้ำหนัก 8-10 ขีด กระแทกกับพื้น และทุบให้แน่นพอประมาณ
2 ใน 3 ของถุง ใส่คอขวดรัดด้วยหนังยาง จุกสำลี
  2. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่ 100 องศา 3 ชั่วโมง และนำมาพักให้เย็นในที่สะอาด
  3. ถ่ายเชื้อจากหัวเชื้อเห็ดที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟางโดยเขย่าเชื้อเห็ดที่เต็มขวด ถุงละ 10-15 เมล็ด       ปิดสำลี(เปิดและปิดจุกสำลีโดยเร็ว โดยปฏิบัติในที่สะอาดไม่มีลมโกรก เชื้อเห็ด 1 ขวดใส่ถุงได้   30-50 ถุง
  4. นำไปบ่มในที่สะอาด มีอากาศถ่ายเทสะดวกในอุณหภูมิห้อง เส้นใยจะเจริญเต็มถุง 25-90 วัน ขึ้นอยู่กับ ชนิดของเห็ด
  5. เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงคัดเฉพาะที่ไม่มีการปนเปื้อนของราและแมลงมาเปิดในโรงเรือนเปิดดอกที่สะอาด แสงสว่างพอสมควร การระบายอากาศดี และสามารถเก็บความชื้นสัมพัทธ์ ในโรงเรือนมากกว่า 70 % ขึ้นไป สามารถ บรรจุก้อนเชื้อได้ไม่ควรเกิน 5,000 ก้อน เพราะหากบริหารจัดการโรงเรือนไม่ดี การแพร่กระจายของเชื้อโรคจะรวดเร็ว และยากต่อการควบคุม
4) วิธีการเปิดดอกเห็ด
  1. เห็ดนางรม นางฟ้ า (ภูฏาน) เป๋ าฮื้อ ยานางิ จะเปิดถุงโดยเอาหนังยางสำลีออก ถอดคอขวดออก แล้ว พับถุงเข้าที่เดิม นำก้อนไปเรียงซ้อนกันจะใช้ชั้นไม้ไผ่ตัว A ชั้นไม้ตัว H หรือชั้นแขวนพลาสติกก็ได้ รดน้ำรักษาความชื้ ในโรงเรือนให้มากกว่า 70 % วันละ 2-6 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศโดยสเปยร์น้ำเป็นฝอย ระวังอย่ารดน้ำเข้าในถุงเพ ถุงจะเน่าและเสียเร็ว เก็บผลผลิตได้เมื่อดอกบานเต็มที่ แต่ขอบหมวกยังไม่บานย้วย
  2. เห็ดหูหนู ดึงสำลี ถอดคอขวด พับถุงพลาสติกทำเป็นจุกรัดหนังยาง แล้วกรีดด้วยมีดเป็นรอยเฉียง  3 แนว ๆ ละ 3 บั้ง นำไปแขวนหรือตั้งกับพื้น รดน้ำรักษาความชื้น 80-90 % ประมาณ 5-7 วัน จะเห็นดอกเล็ก ๆ และอีก 5-10 วัน ดอกบานย้วยเต็มที่ก็จะเก็บดอกได้
  3. เห็ดขอนขาว เห็ดลม เอามีดกรีดตรงบ่าถุงออกทั้งหมด (เห็ดลมพักไว้ 1 เดือนก่อนกรีด) นำไปวาง ซ้อนบนชั้นตัว A หรือแขวน รดน้ำรักษาความชื้น มากกว่า 70 % การดูแลเหมือนกับเห็ดนางฟ้ า นางรม แต่ต้องการแสง และการระบายอากาศมากกว่า หลังจากเปิดดอกก้อนเชื้อจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมากขึ้น การเกิดดอกใกล้เคียงกั เห็ดนางรม
  4. เห็ดหอม หลังจากเส้นใยเดินเต็มถุงทิ้งไว้ 1-2 เดือน เพื่อรอให้เส้นใยรัดตัว เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลกว่า 50 % ของก้อน นำไปกรีดพลาสติกออกให้เหลือเฉพาะส่วนก้นถุงประมาณ 1-2 นิ้ว เมื่อก้อนสัมผัสอากาศจะ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมากขึ้น ถ้าอุณหภูมิ 25 องศา ความชื้นเหมาะสม 70-80 % มีแสงและการระบายอากาศที่ดีก็จะเกิด ดอกประมาณ 7-10 วัน ก็เก็บผลผลิตได้ จากนั้นให้ก้อนพักตัวประมาณ 10-12 วัน สเปรย์รดน้ำแบบฝนเทียม 1 วัน 1 คืน (หรือคลุมด้วยน้ำแข็งก็ได้ ช่วงนี้ก้อนเชื้อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลกว่า 70 % แล้ว) ถ้าอุณหภูมิ, ความชื้นเหมาะสมก็ ให้ผลผลิตรุ่นที่ 1 และ 2 ดอกจะไม่ค่อยสมบูรณ์
2 การเพาะเห็ดฟางกลางแจ้งและโรงเรือนแบบอุตสาหกรรม 
2.1 การเพาะเห็ดฟางกลางแจ้ง ขั้นตอนต่างๆ ในการเพาะมีดังนี้ 
1. วัสดุอุปกรณ์ 
  1) วัสดุเพาะ เช่นฟางข้าว ผักตบชวา ทะลายปาล์ม ขี้เลื่อย เปลือกถั่วเขียว หรือก้อน เห็ดถุงที่เก็บผลผลิตแล้ว
  2) อาหารเสริม ได้แก่ ไส้ฝ้ าย ไส้นุ่น ผักตบชวาตากแห้ง ฝักถั่วเหลือง มูลสัตว์ ผสม ดินร่วนในอัตราส่วน 1 : 1
  3) ไม้แบบ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ด้านบนกว้าง 30 ซม. ด้านล่างกว้าง 35 ซม. ยาว 80-100 ซม. สูง 30 ซม. สำหรับไม้แบบที่ใช้วัสดุเพาะเป็นเปลือกถั่วเขียว และเปลือกมันสำปะหลังขนาดเล็กกว่านี้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการเคลื่อนย้ายออก และนั้นต้องมีแผ่นไม้สำหรับกดให้วัสดุเพาะแน่นแทนการเหยียบย่ำเหมือ การเพาะด้วยฟาง
  4) น้ำ ควรสะอาดปราศจากคลอรีน
  5) พลาสติกใสใช้สำหรับคลุมกองเห็ด
  6) อุปกรณ์รดน้ำ จอบหรือเสียม
  7) ฟางแห้ง หรือหญ้าแห้ง สำหรับคลุมกองเพาะเห็ด
  8) สถานที่สำหรับเพาะ ควรเป็นที่ดอน น้ำไม่ท่วมและต้องไม่เคยเป็นที่เพาะเห็ดฟางมา ก่อน 3-4 เดือน ไม่มีมด ปลวก ไม่มีสารเคมีตกค้างมาจากการใช้สารป้ องกันกำจัดศัตรูพืช
  9) เชื้อเห็ดฟาง การเลือกซื้อเชื้อเห็ดฟางคุณภาพดีและเหมาะสมกับราคา
มีหลักเกณฑ์ การพิจารณาดังนี้
- จับที่ถุงเชื้อเห็ดดูจะต้องมีลักษณะเป็นก้อนแน่นมีเส้นใยของเห็ดเดินเต็มก้อนแล้ว
- ไม่มีเชื้อราชนิดอื่นๆ หรือ พวกแมลง หนอน หรือตัวไร และไม่ควรมีน้ำอยู่ก้นถุงซึ่ง แสดงว่าชื้นเกินไป
- ไม่มีดอกเห็ดอยู่ในถุงเชื้อ เพราะเชื้อเริ่มแก่เกินไป
- เส้นใยไม่ฟูจัดหรือละเอียดเล็กเป็นฝอยจนผิดธรรมดา ลักษณะของเส้นใยควรเป็นสี ขาวนวล เจริญคลุมทั่วทั้งก้อนเชื้อ
- ต้องมีกลิ่นหอมของเห็ดฟางด้วย
- เชื้อเห็ดที่ซื้อต้องไม่ถูกแดด หรือรอการขายไว้นานจนเกินไป เมื่อซื้อแล้วควรเพาะภาย ใน 7 วัน
- อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาใด ๆ ของผู้ขาย ควรสอบถามจากผู้ที่เคยทดลองเพาะมาก่อน ดีกว่า และควรตรวจสอบเชื้อจากหลายยี้ห้อ ยี้ห้อใดให้ผลผลิตสูงก็เลือกใช้ยี่ห้อนั้น
- ราคาของเชื้อเห็ดฟางไม่ควรจะแพงจนเกินไป ควรสืบราคาหลายๆ ยี่ห้อ เพื่อเปรียบ เทียบราคา
2. ขั้นตอนและเทคนิคการเพาะเห็ดฟางกลางแจ้ง 
  1) นำวัสดุเพาะรวมทั้งอาหารเสริมทุกชนิดไปแช่น้ำให้โชกเสียก่อนยกเว้นอาหารเสริม เช่น ไส้ นุ่น
 ไส้ฝ้าย ผักตบชวา แช่น้ำ 1-2 ชั่วโมง ส่วนฟางข้าวควรแช่ประมาณ 1/2-1 วัน
  2) ปรับดินให้เรียบ และขุดหน้าดินเล็กน้อย รดน้ำให้ชุ่ม วางแบบพิมพ์ลงบนดิน ใส่ฟางลงไป ให้หนา 8-12 เซนติเมตร ขึ้นเหยียบสัก 1-2 เที่ยว ใส่อาหารเสริมบริเวณขอบโดยรอบ กว้าง 5-7 เซนติเมตร
  3) โรยเชื้อเห็ด โดยรอบบนอาหารเสริม เชื้อเห็ดที่ใช้ควรขยี้ให้แตกออกจากกันเสียก่อน เป็น อันเสร็จชั้นที่ 1 แล้วทำชั้นต่อไปเช่นเดียวกับการทำชั้นแรก คือ ใส่ฟางข้าวลงในแบบไม้อัดหนา 8-12 เซนติเมตร ขึ้น เหยียบให้แน่น ใส่อาหารเสริม โรยเชื้อ ถ้าเป็นฤดูหนาว หรือฤดูที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียสควรทำ 4-5 ชั้น ฤดู ร้อน ควรทำ 3 ชั้นหรือสูง 28-30 เซนติเมตร
  4) เมื่อทำกองเสร็จแล้วรดน้ำกองให้โชกอีกครั้ง ถอดแบบพิมพ์เพื่อนำไปใช้เพาะกองต่อไป โดยวางแบบพิมพ์ห่างกันประมาณ 1 คืบ แล้วทำกองตามขั้นตอนเดิมทุก ๆ กอง จำนวน 10-20 กอง การโรยเชื้อขั้น สุดท้าย ใช้เชื้อเห็ดฟางผสมกับอาหารเสริมโรยรอบกองและระหว่างกอง จะทำให้ดอกเห็ดเกิดระหว่างกอง เป็นการเพิ่ม ปริมาณดอกเห็ด
  5) คลุมกองด้วยผ้าพลาสติกใสหรือทึบทั้งหมด 2 ผืน โดยให้ขอบด้านหนึ่งทับกับบริเวณหลัง กอง จากนั้นใช้ฟางแห้งคลุมทับพลาสติกอีกที ก่อนคลุมด้วยพลาสติกอาจทำโครงไม้เหนือกองเพื่อไม่ให้พลาสติกติด หลังกองแล้วปิดด้วยฟางหลวม ๆ ก่อนในฤดูร้อนแดดจัด (อุณหภูมิสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส) ควรเปิดผ้าพลาสติกหลัง กองกว้าง ประมาณ 1 ฝ่ามือ เวลากลางวันถึงตอนอาทิตย์ตก ส่วนกลางคืนปิดไว้อย่างเดิม ในวันที่ 4-5 ให้ตรวจดู ความชื้น ถ้าเห็ดว่าข้างหลังกองแห้งให้ใช้บัวรดน้ำ โชยน้ำเบา ๆ ให้ชื้น แล้วปิดไว้อย่างเดิม   6) ประมาณ 7-9 วัน เก็บผลผลิตได้ผลผลิตเฉลี่ย 0.5 – 1 กิโลกรัม/กอง
2.2 การเพาะเห็ดโรงเรือนแบบอุตสาหกรรม 
1. วัสดุเพาะ 
  1) ฟางข้าว 250 กิโลกรัม
  2) กากฝ้าย 250 กิโลกรัม (อาจใช้น้อยกว่านี้แต่ต้องเพิ่มเปลือกถั่วเหลือง)
  3) รำละเอียด 15 กิโลกรัม
  4) แป้งข้าวเหนียว 2 กิโลกรัม (อาจใช้แป้ งข้าวสาลีแทนก็ได้)
  5) ยิปซั่ม 3 กิโลกรัม
  6) ปูนขาวที่ทำจากเปลือกหอย 6 กิโลกรัม
  7) เปลือกถั่วเหลือง (ไม่ใช้ก็ได้) 30-50 กิโลกรัม
  8) ปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0 400 กรัม
2. ขั้นตอนและเทคนิคการเพาะเห็ดฟางกลางแจ้ง 
วันที่ 1 นำกากฝ้ายผสมเปลือกถั่วเหลืองลงเกลี่ยให้ทั่วกระบะ รดน้ำให้เปียกโชก (อุดรูกระบะ) แล้ว รวมกากฝ้ายกองเป็นรูปยอดแหลม ตบกองให้แน่นคลุมด้วยผ้าพลาสติกและกระสอบป่ านอีกชั้นหนึ่ง เปิดรูระบายน้ำ ออกให้แห้ง และทำการหมักต่อซังข้าวกับปูนขาวอีกทีหนึ่ง
วันที่ 2 เปิดผ้าคลุมออก กระจายกองกากฝ้ ายแล้วนำส่วนผสมต่าง ๆ ทั้งหมดคลุกเคล้ากับกากฝ้ าย ให้ทั่ว แล้วรวมกองเป็นรูปฝาชี ใช้ผ้าพลาสติกคลุม หมักทิ้งไว้อีก 1-2 คืน
วันที่ 3 นำฟางที่หมักแล้วขึ้นเรียงบนชั้นในโรงเรือน เปิดผ้าคลุมกองออก กระจายเพื่อให้แก๊สที่เกิด หมดไป แบ่งออกเป็น 12 กอง เท่า ๆ กับจำนวนชั้นเพาะแล้วขนไปเกลี่ยบนฟางที่เรียงไว้ในโรงเรือนกระจายให้ทั่ว ห่าง จากริมฟางด้านละ 1 ฝ่ามือ ใช้มือกดให้แน่นพอประมาณจากนั้นปิดโรงเรือนให้มิดชิด ควบคุมอุณหภูมิ 40-45 องศา เซลเซียส โดยใช้ไอน้ำเพิ่มอุณหภูมิ เพื่อเลี้ยงเชื้อราชนิดหนึ่ง
วันที่ 4 ใส่ไอน้ำให้ได้อุณหภูมิ 60-65 องศา ประมาณ 5-6 ชั่วโมง ฆ่าเชื้อราและเชื้ออื่น ๆ แล้วพัก   โรงเรือนไว้ 1 คืน
วันที่ 5 โรยเชื้อเห็ดฟางให้ทั่วทุกชั้น (ชั้นละ 15-20 ถุง) ควบคุมอุณหภูมิไว้ประมาณ 35-36 องศา เซลเซียส ปิดโรงเรือนให้มิดชิดอย่าให้แสงเข้า ประมาณ 3 วัน เส้นใยเห็ดจะเดินทั่วแปลง
วันที่ 8 เมื่อเส้นใยเห็ดเดินทั่วแปลงแล้ว เปิดวัสดุบังแสงออกให้หมดทุกด้าน
วันที่ 9 เปิดประตู หน้าต่าง เพื่อไล่แก๊สแอมโมเนียและแก๊สอื่น ๆ ออก โดยเปิดโรงเรือนไว้ 3-5 นาทีต่อครั้ง
วันที่ 10 ควบคุมอุณหภูมิประมาณ 30-35 องศาเซลเซียส เมื่อเห็นว่าเกิดดอกเห็ดเล็ก ๆ ขึ้นมากพอจึง ปิดแสงหลังจากนี้อีก 2-3 วันก็สามารถเก็บดอกเห็ดได้ ผลผลิตเฉลี่ย 1.5 กิโลกรัม/ตารางเมตร
3. ลักษณะโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้ 
  1) หลังคาทรงจั่วกว้าง 5.80 เมตร ยาว 6.80 เมตร มีประตูหน้า-หลัง ด้านละ 1 บาน กว้าง 0.75 สูง 1.75 เมตร บนประตูทำหน้าต่างกว้างเท่ากับประตู สูง 30 ซม. ทั้งประตูและหน้าต่างกรุด้วยผ้าพลาสติก แล้วกรุด้วยแฝก ด้านนอกอีกชั้นหนึ่ง
  2) ภายในโรงเรือน กรุด้วยพลาสติกทนร้อนอย่างหนา ทั้งฝาผนังและหลังคามิดชิดทุก ด้านเพื่อให้สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้น
  3) ด้านนอกโรงเรือน ฝาผนังทุกด้านกรุด้วยแฝกจนถึงชายคาไม่ให้แสงเข้า
  4) พื้นโรงเรือน อาจเทคอนกรีตหรือไม่เทก็ได้ ควรใช้เสาคอนกรีตเพอื่ ความคงทนและป้องกัน ปลวก
  5) ทำชั้นสำหรับวัสดุเพาะ 3 ชุด ชุดละ 4 ชั้น กว้าง 80-90 ซม. ยาว 5 เมตร ชั้นแรกสูง จากพื้น 30 ซม. ชั้นต่อไปห่างกันชั้นละ 60 ซม. ตั้งห่างจากฝาผนังโรงเรือนโดยรอบ 80-90 ซม. พื้นของชั้นปูด้วยไม้ไผ่ ห่างกัน 5-10 ซม.
  6) กระบะหมักอาหารเสริม เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือผืนผ้าก็ได้ ยกขอบทั้ง 4 ด้าน สูงประมาณ 30 เซนติเมตร เจาะรูระบายน้ำออกด้านละ 2 รู   7) หม้อต้มผลิตไอน้ำเพื่อฆ่าเชื้อในโรงเรือน ใช้ถังน้ำขนาด 200 ลิตร วางถังนอนบนเตา คู่กัน หันด้านที่เป็นฝาเกลียวเล็ก ๆ ขึ้นด้านบนต่อท่อหัวเกลียวที่มีขนาดเท่าฝาถังออกมาทำที่สำหรับเติมน้ำ แล้วใช้สา ยางต่อจากท่อเหล็กไปยังโรงเรือน เพื่อฆ่าเชื้อต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อการเกิดดอกเห็ด หม้อต้มอาจดัดแปลงทำได้หลาย แบบแล้วแต่ทุนมากหรือน้อย ส่วนเชื้อเพลิงอาจใช้ฟืน แก๊ส น้ำมัน แล้วแต่จะหาได้
4 การปฏิบัติอื่น ๆ 
  1) ก่อนเพาะเห็ดรุ่นต่อไปต้องทำความสะอาดโรงเรือน แล้วอบไอน้ำฆ่าเชื้อประมาณ 2 –3 ชั่วโมง
  2) ถ้าดอกเห็ดมีขน ดอกแตกเป็นตุ่มคล้ายหนังคางคกแสดงว่าภายในโรงเรือนมีแก๊สมาก มีกลิ่นเหม็นฉุน อุณหภูมิสูง แก้ไขโดยการเปิดประตูโรงเรือนออกทุกด้านใช้น้ำฉีดล้างพื้น
  3) ถ้าดอกเห็ดเน่า ชุ่มน้ำมาก มีสาเหตุมาจากแปลงเพาะแฉะมากเกินไป แก้ไขเช่นเดียวกับข้อ 2
  4) เวลาเก็บดอกเห็ดควรเป็นเวลาบ่ายใกล้เย็น เพราะอุณหภูมิภายนอกกับภายในโรงเรือนใกล้เคียงกันทำ ให้ไม่กระทบต่อการเกิดดอกของรุ่นต่อไปและการเก็บดอกเห็ด


0 comments: