แต่ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักประโยชน์ของมะรุมก่อนว่ามีประโยชน์มากมายหลากหลายแค่ไหน

เดี๋ยวเราจะมารู้จักประวัติคร่าวๆ ของเจ้าต้นมะรุมก่อนนะค่ะ

มะรุมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าMoringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย

ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทาง อีสาน เรียก "ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม" ภาคเหนือ เรียก "มะค้อมก้อน" ชาวกะเหรี่ยง แถบกาญจนบุรีเรียก"กาแน้งเดิง" ส่วน ชาวฉาน แถบแม่ฮ่องสอนเรียก " ผักเนื้อไก่"

มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร ทรงต้นโปร่ง ใบเป็นแบบขนนกคล้ายกับใยมะขามออกเรียงแบบสลับ ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็นช่อสีขาว ดอกมี 5 กลีบ

ฝักมีความยาว 20-50 เซนติเมตร ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง เป็นที่มาของชื่อต้นไม้ตีกลองในภาษาอังกฤษ (Drumstick Tree) เปลือกฝักอ่อนสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก เปล ือกฝักแก่มีสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มลักษณะกลมมีสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เมล็ดแก่สามารถบีบน้ำมันออกมากินได้

มะรุมเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ การปลูกการดูแลรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้! ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน 1-5 ต้น เพื่อให้เป็นผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา

คนไทยทุกภาคนิยมนำฝักมะรุมไปทำแกงส้ม ด้วยการปอกเปลือกหั่นฝักมะรุมเป็นชิ้นยาวพอคำ ถือว่าเป็นผักที่ทำแกงส้มคู่กับปลาช่อนอร่อยที่สุด จะต่างกันก็ในรายละเอียดของแกงตามแบบอย่างของแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น แม้แต่ทางใต้ก็นิยมนำมะรุมมาทำแกงส้มปลาช่อน โดยจะใช้ขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาวปลาและเพิ่มสีสันของน้ำแกง ปรุงรสเปรี้ยวด้วยการใส่ส้มแขกแทนน้ำมะขาม และหั่นปลาช่อนเป็นแว่นใหญ่ไม่โขลกเนื้อปลากับเครื่องแกง

ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม หาได้ง่าย รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาล คนที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอกนำไปดองเก็บไว้กินกับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อนนำมาลวกหรือต้ทให้สุก จิ้มกับน้ำพริกปลา ร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่วได้ทุกอย่าง หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้

ส่วนอื่นๆ ของโลกจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสานจังหวัดสกลนครใช้ใบมะรุมแห้งปรุงเข้าเครื่อง 'ผงนัว' กับสมุนไพรอื่นไว้แต่งรสอาหารมาแต่โบราณ ส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก

ประโยชน์ของมะรุม

1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดจนถึง ๑๐ ขวบ ลดสถิติการเสียชีวิตพิการและตาบอดจากการขาดสารอาหารได้เป็นอย่างดีในกรณีเด็กแรกเกิด
2. ช่วยผู้ปวยโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ สามารถลดการใช้ยาลงโดยความเห็นชอบและการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้ทำการรักษา
3. ใช้ควบคุมความดันโลหิตสูงให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ แต่ทั้งนี้จะต้องช่วยตัวเองด้วยการควบคุมอาหาร การบริหารร่างกายแบบง่าย ๆเช่น เดิน รำมวยไท้ชี่ เป็นต้น มิฉะนั้นแล้ว การบำบัดด้านนี้จะไม่ได้ผลเท่าที่ควร4. ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ถ้ารับประทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ นอกจากจะทำให้มารดามีสุขภาพสมบูรณ์และแข็งแรงแล้ว
5. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานที่ต่ำลงของผู้ป่วยโรคเอดส์ ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ และสามารถมีชีวิตอยู่อย่างคนปรกติทั่วไป
6.ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันมะเร็งและถ้าหาก เป็นอยู่ก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่กับยาแพทย์แผนปัจจุบัน หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง ได้รับการรักษาด้วยรังสีการ ดื่มน้ำมะรุมจะช่วยลดการแพ้รังสีช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น และมีร่างกายแข็งแรง
7. ช่วยบรรเทาอาการปวดบวมของโรคเก๊าท์ โรคข้อและกระดูกอักเสบโรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
8. ช่วยรักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น
9. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ เป็นต้น
10. รักษาปอดให้แข็งแรงและช่วยรักษาโรคปอดอักเสบ
11. รักษาโรคทางเดินหายใจอักเสบ โรคโพรงจมูกอักเสบ หอบหืด และโรคภูมิแพ้
12. ช่วยเชื่อมต่อกระดูกที่หักได้ผลรวดเร็ว
13. ช่วยรักษาโรคคอหอยพอกชนิดมีพิษ มีผลในเพศหญิงเต็ม 100% ชาย 75% ใบมะรุมผงสามารถรักษาจนผู้เขียนหายขาดจากโรคคอหอยพอก


วิธีการปลูกต้นมะรุม

1) การเตรียมดินและเมล็ด
การปลูกมะรุมขึ้นอยู่กับการเตรียมดินซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ดินที่เหมาะกับการปลูกควรจะต้องมีลักษณะเป็นดินดำหรือดินแดงที่ร่วนซุย มีค่า pH ที่ 5.5 – 8.0 ได้รับแสงแดด ไม่ควรเป็นดินเหนียวหรือดินที่มีน้ำท่วมขัง เตรียมดินโดยการไถพรวนลึก 2 ฟุต พร้อมกองหญ้า มูลสัตว์และไบโอเอ็นไซม์เพื่อฟื้นฟูดินให้สมบูรณ์และสามารถต้านทานโรคพืช ควรหว่านไถ 2 ครั้งเพื่อกำจัดและลดปริมาณวัชชพืชก่อนการปลูก เพื่อให้ต้นมะรุมได้รับสารอาหารจากดินเต็มที่ ควรขุดร่องน้ำห่างจากแนวยกร่องประมาณ 10 เซ็นติเมตร ลึก 50 เซ็นติเมตรและฝังกลบด้วยใบไม้ มูลสัตว์ ขี้เถ้าและดิน เพื่อเพิ่มผลผลิต

2) การเพาะปลูก

เมล็ดมะรุมที่เหมาะกับการเพาะปลูกควรเป็นเมล็ดพันธุ์แท้ซึ่งพัฒนาจากเมล็ดแม่พันธุ์โดยตรง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงและสม่ำเสมอ จำนวนฝักมากและจำนวนเมล็ดต่อฝักก็มากด้วย เพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านปุ๋ย สารอาหาร เวลา แรงงานและอื่นๆ ที่ใช้ในการเพาะปลูก ขั้นตอนการปลูกเริ่มจากการนำเมล็ดมะรุมพันธุ์แท้มาแช่ไบโอสุพรีมซึ่งเป็นสารเร่งรากประมาณ 8-12 ชั่วโมงก่อนการปลูกเพื่อเร่งการงอก กระตุ้นและเสริมสร้างระบบรากให้แข็งแรง เพื่อให้ตันมะรุมเจริญเติบโต การปลูกด้วยเมล็ดที่ให้ผลดีและรวดเร็วควรปลูกในที่ที่ต้องการเพาะปลูกและไม่โยกย้าย ควรใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน 1-2 เมล็ด หยอดในหลุมลึกลงไปประมาณ 3 ซม. ฝังให้ห่างกันประมาณ 1 นิ้วในแต่ละหลุม ระยะห่างแต่ละหลุมประมาณ 2.5 เมตร รดน้ำให้ดินชุ่มอาทิตย์ละหนึ่งหนก็เพียงพอเพื่อไม่ให้ผิวดินแห้ง การรดน้ำมากเกินไปจะทำให้รากเน่าตายได้ เมล็ดจะเริ่มงอกหลังจากหว่านประมาณ 5-7 วัน อัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์แท้จะสูงมาก ราว 90-95% หากปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์แท้ 2 เมล็ดและต้นกล้าเจริญเติบโตทั้ง 2 ต้น ให้เก็บไว้ ไม่จำเป็นต้องถอนทิ้ง หากจำเป็นต้องปลูกในถุงพลาสติคดำ ให้บรรจุดินผสมทรายและแกลบลงในถุงดำก่อนหยอดเมล็ดลงในถุงดำถุงละ 2 เมล็ด เสร็จแล้วรดน้ำพอชุ่มอาทิตย์ละครั้ง อย่าให้ถึงกับแฉะมาก ควรบำรุงต้นกล้าเมื่ออายุได้ประมาณ 15 วัน ด้วยการฉีดพ่นไบโอสุพรีมทุก 7 วันเพื่อให้ต้นมะรุมแตกรากได้สมบูรณ์ เร่งการเจริญเติบโต เพิ่มการแตกกอ เมื่อต้นกล้ามะรุมเจริญเติบโตงอกงามและมีอายุประมาณ 1 เดือน ก็จะสามารถย้ายไปปลูกในพืนที่ที่เตรียมไว้ได้ หลังการโยกย้ายใบต้นกล้ามะรุมอาจจะเฉาบ้าง แต่จะยังไม่ตาย ต้นมะรุมจะฟื้นตัวเองภายใน 1 วัน เมื่อต้นมะรุมเติบโตได้ประมาณ 2 เดือนหรือสูงประมาณ 75 เซ็นติเมตรควรเด็ดลำต้นกลางออกเพื่อเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต และจำกัดความสูงของต้น หากจำเป็นให้ทำอีกครั้งเมื่อลำต้นสูงประมาณ 4 ฟุต

3) การบำรุงต้นและใบ

ควรหว่านไบโอเอ็นไซม์เดือนละครั้งเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน ปรับสภาพดินให้คงความร่วนซุย และขจัดเชื้อราทางดินเมื่อใบมะรุมเริ่มมีสีเขียวจัดและเริ่มแตกตาดอกให้บำรุงด้วยไบโอบูมบูมทุก 7 วัน เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นมะรุมและเพิ่มผลผลิตปรกติต้นมะรุมสามารถทนแล้งได้ดีแต่ในฤดูแล้งควรรดน้ำอาทิตย์ละครั้ง และเพื่อเพิ่มผลผลิตควรให้ด้วยระบบน้ำหยดหรือระบบสเปรย์หมอก จะสามารถเพิ่มผลผลิตเป็น 2 เท่า

4) การป้องกันและปราบศัตรูพืช

เมื่อต้นมะรุมมีอายุได้ประมาณ 70 วัน หรือเมื่อพบแมลงและโรคพืช ให้ปราบด้วยน้ำมันสะเดาเข้มข้น ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ไม่เป็นอันตรายต่อชาวไร่และผู้บริโภค

5) การเก็บใบเพื่อนำมาใช้ประโยน์และแปรรูป

ใบมะรุมที่มีประโยชน์นำมารับประทานหรือมาแปรรูปควรเป็นใบที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป หรือควรเป็นใบที่เก็บจากต้นมะรุมที่มีอายุประมาณ 4 เดือน การรับประทานใบสดมีประโยชน์และสะดวกสำหรับผู้ที่สามารถปลูกมะรุมด้วยตนเอง แต่คุณประโยชน์จะไม่เทียบเท่าใบมะรุมแห้งในปริมาณเท่ากัน ยกเว้นวิตามินซีซึ่งในใบสดมีมากกว่าเท่านั้น ใบมะรุมสามารถนำมาแปรรูปเป็นผง และบรรจุในแคปซูล ขั้นตอนการผลิตควรระมัดระวังให้ได้มาตรฐาน GMP อย่างต่ำเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้บริโภค ไม่ใส่สารแปลกปลอมเช่น สี ส่วนอื่นที่ไม่ใช่ใบ ใบมะรุมแห้งที่ผ่านการอบจะไม่มีสีเขียวสดแน่นอน แคปซูลควรผลิตจากสารธรรมชาติที่ย่อยง่ายและไม่ควรทำจากเม็ดพลาสติค ขบวนการอบจะต้องได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันเชื้อราและเชื่อโรคอื่น ๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต

6) การเก็บฝักและเมล็ดเพื่อนำมาใช้ประโยชน์และแปรรูป

เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วว่าส่วนต่าง ๆ ของมะรุมอ่อนนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงส้ม แกงอ่อม ไข่เจียว จิ้มน้ำพริก เป็นต้น ส่วนฝักมะรุมแก่สามารถนำเมล็ดมาบริโภคบำบัดโรคได้หลายชนิด รวมทั้งนำมาบีบน้ำมันได้ น้ำมันมะรุมมีประโยชน์มากมายเช่นเดียวกันแต่ควรจะใช้วิธีสกัดเย็น ไม่ใช้ความร้อน แสะสารเคมีใด ๆ จึงจะมีประโยชน์สูงสุด การสกัดน้ำมันเองมีข้อดีที่สำคัญคือทำให้เชื่อมั่นว่าเป็นน้ำมันมะรุมบริสุทธุ์ไม่เจือปนน้ำมันชนิดอื่นที่มีราคาถูกกว่า หรือปลอมน้ำมันอื่นแล้วอ้างว่าเป็นน้ำมันมะรุม เมล็ดมะรุมที่มีคุณภาพดีจะสามารถให้น้ำมันได้ถึง 250-300 ซีซี ต่อเมล็ดมะรุมแห้ง 1 กก. ทั้งนี้อาจขึ้นกับเทคนิคการผลิตและเครื่องสกัดเย็นด้วย

0 comments: