มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจอีกอย่างหนึ่งของประเทศไทยที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ก่อนอื่นเรามารู้จักประโยชน์ของมันสำปะหลังก่อน แล้วค่อยมาเรียนรู้วิธีปลูกมันสำปะหลัง

มันสำปะหลังเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุก ๆ ส่วน ตั้งแต่ยอดจนถึงราก (หัวมัน) มีการนำมาใช้ประโยชน์ในครัวเรือน เพื่อการบริโภคเป็นอาหารมนุษย์ และอาหาร สัตว์ และใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อการ
ใช้ประโยชน์ กับมนุษย์และสัตว์ ในหลาย ๆ รูปแบบ ตลอดทั้งใช้ในอุตสาหกรรมแป้งแปรรูป (Modified Starch) ใช้ประโยชน์อุตสาหกรรมต่างๆได้มากมายหลายชนิดและในวงการแพทย์ จึงกล่าว ได้ว่าการใช้
ประโยชน์จากมันสำปะหลังแยกได้ 3 ประเภท คือ บริโภคโดยตรง แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ (มันเส้น มันอัดเม็ด และแป้งมัน) และแป้งมันสำปะหลังแปรรูป (ทางเคมีและกายภาพใช้ประโยชน์ในระดับอุตสาหกรรมต่าง ๆ )

1. ใช้ประโยชน์บริโภคโดยตรง

1. หัวมันสด
ก. ใช้เป็นอาหารมนุษย์โดยตรง เช่น นึ่ง ย่าง อบ เชื่อม และหั่นฝอยคลุกน้ำมันหรือเครื่องเทศแล้วทอด หรือนำมาทำเป็นแป้งและแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ ตลอดจนนำมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆ (Chip) แล้วทอด
ข. ใช้เป็นอาหารสัตว์ ทั้งที่เป็นหัวสด กากที่เหลือจากการทำแป้งและเปลือกของหัว

2. ใบ
ก. ใช้เป็นอาหารมนุษย์ รับประทานเป็นผักสด โดยต้มจิ้มน้ำพริก นำมาแกง (ห่อหมก) ปรุงเป็นซุป
ข. ใช้เป็นอาหารสัตว์ ในรูปใบสด นำมาตากแห้งป่นผสมกับอาหารข้นเลี้ยงสัตว์ และเป็นอาหารผสม

3. ลำต้น
ก. ใช้ทำเป็นท่อนพันธุ์ นำไปปลูก
ข. ใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยตัดลำต้นส่วนยอดผสมกับใบสดใช้เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง ตากแห้งเป็นอาหารหยาบ
ค. ใช้ทำรั้วบ้านรั้วสวนและล้อมคอกสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านในชนบท

4. เมล็ด
ใช้สกัดน้ำมันที่มีคุณภาพดีสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยาได้

2.ใช้ประโยชน์โดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ (มันเส้น มันอัดเม็ด และแป้งมัน)

1.อุตสาหกรรมมันเส้น
การแปรรูปที่ใกล้ตัวมากที่สุด คือ การทำมันเส้น เมื่อเก็บเกี่ยวหัวมันสดแล้ว ก็จะนำส่งลานมัน ซึ่งเกษตร กรบางรายมีลานของตัวเอง ก็จะทำการแปรรูป โดยใช้ เครื่องตัดหัวมันเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปตากบน
ลานซีเมนต์ เมื่อแห้งดีแล้วก็ทำการเก็บ เพื่อส่งขายเป็นวัตถุ ดิบให้กับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ หรือ อุตสาหกรรมสัตว์ หรืออุตสาหกรรมมันอัดเม็ดต่อไป ปกติ 2.5 กิโลกรัม จะผลิตเป็น มันเส้นได้ 1 กิโลกรัม

2.อุตสาหกรรมมันอัดเม็ด
มันอัดเม็ดหรือที่เรียกว่า มันเม็ด ผลิตโดยการอัดมันเส้น โดยเครื่องอัดภายใต้สภาวะความร้อนและความดัน หลังจากอัแล้ว จะมีลักษณะเป็นท่อนยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 1ซม.
ความชื้นประมาณร้อยละ 14 ซึ่งจะส่งออกไปต่างประเทศเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์ เนื่องจากมันเม็ดจะมีปริมาณแป้งสูง (มากกว่าร้อยละ 65) จึงใช้เป็นแหล่งอาหารให้พลังงานของสัตว์


3.อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง
ในบรรดาประเทศที่ปลูกมันสำปะหลังมาก ๆ เช่น บราซิล ไนจีเรีย อินโดนีเซีย และไทย เป็นต้น ประเทศไทย เป็นประเทศเดียวที่ใช้มันสำปะหลังมาผลิตเป็นแป้งมากที่สุด ถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลัง
รายใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีกำลังความสามารถการผลิตมากกว่า 2 ล้านตัน มัน สำปะหลังต่อปี มีเทคโนโลยีการผลิตการผลิตแป้งมันสูงที่ สุดในบรรดาทุก ๆ ประเทศ และได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน

แป้งมันสำปะหลัง จึงถือได้ว่า เป็น "แป้งไทย" เป็นแป้งที่มีคุณภาพสูงและราคาถูกที่สุด
คุณสมบัติ
แป้งมันสำปะหลังมีคุณสมบัติที่พิเศษ คือ มีความขาวมันวาว เมื่อผสมน้ำและให้ ความร้อนจะเหนียวเป็นกาวใส กล่าวได้ว่า แป้งไทย ขาวใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีสี เหมาะสมมากเมื่อนำมาใช้ประโยชน์ โดย

เฉพาะในอาหารจะไม่มีกลิ่นรสแปลกปลอม

3.ใช้ประโยชน์ของแป้งมันสำปะหลัง หลังจากการแปรรูป (ทางเคมีและกายภาพใช้ประโยชน์ในระดับอุตสาหกรรมต่าง ๆ )

1. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
2. อุตสาหกรรมไม้อัด
3. อุตสาหกรรมกระดาษ
4. อุตสาหกรรมกาว
5. อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
6. วัสดุภัณฑ์ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
7. อุตสาหกรรมสารความหวาน
8. อุตสาหกรรมกรดมะนาว
9. อุตสาหกรรมผงชูรส
10.ยารักษาโรค

วิธีการเพาะปลูกมันสำปะหลังที่เหมาะสม


1. การเตรียมดิน
หากดินที่ทำการเพาะปลูกมันติดต่อกันหลายปี ควรปรับปรุงดิน เพื่อรักษาระดับผลผลิตในระยะยาว ด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเปลือกมันชนิดเก่าค้างปี (จากโรงแป้งทั่วไป) ที่หาได้ในท้องถิ่น หรือ ปลูกพืช

ตระกูลถั่วต่าง ๆ หมุนเวียนบำรุงดิน ในกรณีที่พื้นที่ประเภทหญ้าคา ควรใช้ยาราวด์อัพหรือเครือเถาต่าง ๆ ควรใช้ยาสตาร์เรน ฉีดพ่นยาจำกัดเสียก่อนการไถ จากนั้นไถครั้งแรกโดยไถกลบวัชพืชก่อนปลูกด้วย

ผาน 3 (อย่าเผาทำลายวัชพืช) ให้ลึกประมาณ 20-30 ซม. แล้วทิ้งระยะไว้ประมาณ 20-30 วัน เพื่อหมักวัชพืชเป็นปุ๋ยในดินต่อไป ไถพรวนด้วยผาน 7 อีก 1-2 ครั้ง ตามความเหมาะสม และรีบปลูกโดยเร็ว ในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่

2. การเตรียมท่อนพันธุ์
ใช้ท่อนพันธุ์มันที่สด อายุ 10-12 เดือน ตัดทิ้งไว้ไม่เกินประมาณ 15 วัน โดยติดให้มีความยาวประมาณ 20 ซม. มีตาไม่น้อยกว่า 5 ตา เพื่อป้องกันเชื้อราและแมลง ควรจุ่มท่อนพันธุ์ในยาแคปแทน 1.6 ขีด
(160 กรัม) ผสมร่วมกับมาลาไธออน 20 ซีซี ในน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 5 นาที ก่อนปลูก

3. การปลูก
ปลูกเป็นแถวแนวตรง เพื่อสะดวกในการบำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โดยใช้ระยะระหว่างแถว 1.20 เมตร ระยะระหว่างต้น 80 ซม. และปักท่อนพันธุ์ให้ตั้งตรงลึกในดินประมาณ 10 ซม.

4. การฉีดยาคุมเมล็ดวัชพืช
สำหรับการปลูกในฤดูฝนสภาพดินชื้น ควรฉีดยาคุมวัชพืชด้วยยาไดยูรอน (คาแม็กซ์) หลังจากการปลูกทันที ไม่ควรเกิน 3 วัน หรือก่อนต้นมันงอก หากฉีดหลังต้นมันงอก อาจทำให้ต้นมันเสียหายได้ ใช้ยาในอัตรา 6 ขีด (600 กรัม) ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นได้ประมาณ 1 ไร่ครึ่ง



5. การกำจัดวัชพืชและการใส่ปุ๋ย
กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 1 ประมาณ 30-45 วัน หลังการปลูก โดยใช้รถไถเล็กเดินตาม หรือ จานพรวนกำจัดวัชพืช ติดท้ายรถแทรกเตอร์ พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25-50 กก./ไร่ ห่างจากต้นมัน 1 คืบ   

(20 ซม.) จากนั้นใช้จอบกำจัดวัชพืชส่วนที่เหลือ พร้อมกับกลบปุ๋ยไปด้วย หรือใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุม ห่างจากโคนต้น 1 คืบ แล้วกลบดินตามก็ได้ ข้อสำคัญควรใส่ปุ๋ยขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ กำจัดวัชพืช
ครั้งที่ 2 ประมาณ 60-70 วัน หลังการปลูก โดยปฏิบัติเช่นเดียวกันกับครั้งแรก กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 3 ตาม ความจำเป็นโดยใช้จอบถาก หรือฉีดพ่นด้วยยากรัมม๊อกโซน (ควรใช้ฝากครอบหัวฉีด เพื่อป้องกันไม่ให้ยาโดนตาและลำต้นมัน)

6. การเก็บเกี่ยว
ทำการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงอายุที่เหมาะสม คือ ประมาณ 10-12 เดือน พร้อมทั้ง วางแผนการเตรียมท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เพื่อการปลูกในคราวต่อไปส่วนของต้นมันสำปะหลังที่ไม่ใช้ เช่น ใบ กิ่ง ก้าน หรือ ลำต้น ควรสับทิ้งไว้ในแปลง เพื่อให้เป็นปุ๋ยพืชสดในดินต่อไป

0 comments: