พริกหวาน
          พริกเม็ดโตสีสันสดใส มีลักษณะกลมยาว หลายครัวเรือนนิยมนำมาผัดเพราะไม่มีรสเผ็ด เนื่องจากมีสารแคปไซซินในปริมาณที่ตํ่ามากจนถูกเรียกว่าพริกหวาน

ประโยชน์ของพริกหวาน

          พริกหวานมีเบตาแคโรทีนสูง มีวิตามินซี เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งพริกหวานสีเหลืองจะมีไวตามินมากกว่าพริกหวานสีส้มถึง 4 เท่า ในพริกสีเขียว 100 กรัมก็จะมีไวตามินซี 100 กรัมเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีสาร แคบไซซิน ช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือด โรคต้อกระจก และโรคมะเร็ง
ในหนึ่งเมนูของวัน ถ้ามีพริกหวานเป็นส่วนประกอบก็จะช่วยกระตุ้นทางการทำงานของกระเพาะอาหาร ทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขั้น ช่วยเจริญอาหารบำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ขับลม ขับเสมหะ แก้อาเจียน แก้หิด กลากเกลื้อน และสามารถลดความด้นโลหิตได้ เพราะทำให้หลอดเลือดอ่อนตัว และช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ดี

สภาพแวดล้อมการปลูก พริกหวาน (Sweet Pepper)

          พริกหวาน ชอบสภาพที่มีความชื้นต่ำ จะทำให้อัตราการติดผลลดลง อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการผสมเกสรอยู่ระหว่าง 20-25 องศา มีความชื้นสัมพัทธ์สูง ใสสภาพอุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศา หรือสูงกว่า 32 องศา จะจำกัดการผสมเกสร อัตราการติดผลต่ำ พริกหวานสามารถเจริญเติบโตได้ดี ในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี และมีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8

การปฏิบัติดูแลรักษา พริกหวาน ระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

การเตรียมกล้า ทำการยกแปลงขนาด 1 ม. ย่อยดินให้ละเอียด แปลงห่างกัน 70 ซม. ร่องลึกประมาณ 10 ซม. ทำขวางแปลงความห่างระหว่างร่อง 10 ซม. รองพื้นด้วยไตรโคเดอร์ม่า หว่านเมล็ดแล้วกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม หรือคลุมด้วยตาข่ายพลาสติก หลังจาก 7-10 วัน ย้ายกล้าลงในหลุม

การเตรียมดิน ขุดดินทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เก็บวัชพืชออกให้หมด ย่อยดิน แล้วใส่ปูนขาวคลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยคอก และปุ๋ยสูตร 0-4-0 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ควรใส่โดโลไมด์อัตรา 100-150 กรัม/ตร.ม.

การปลูก ทำแปลงกว้าง 1 ม. เว้นร่องน้ำ 70 ซม. ระยะห่างระหว่างหลุม 40-50 ซม. เวลาปลูกรองพื้นด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสมคลุกเคล้ากัน ควรใส่โดโลไมด์ อัตรา 100-150 กรัม/ตร.ม.

การให้น้ำและปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยพร้อมน้ำระบบ Fertigation ในอัตราดังนี้
ระยะที่ 1     ปุ๋ย 46-0-0     1 ส่วนน้ำหนัก
    ปุ๋ย 20-20-20     1.2 ส่วนน้ำหนัก
    หรือ สูตรใกล้เคียง อัตราใช้ 0.25-1 กรัม/ตร.ม./วัน
ระยะที่ 2     ปุ๋ย 46-0-0     1 ส่วนน้ำหนัก
    ปุ๋ย 20-20-20     1.2 ส่วนน้ำหนัก
    หรือ ปุ๋ย 20-10-30 หรือ ปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 1-3 กรัม/ตร.ม./วัน หรือมากกว่า
ระยะที่ 3     ปุ๋ย 0-0-51     1 ส่วนน้ำหนัก
    ปุ๋ย 20-10-30     5 ส่วนน้ำหนัก
    หรือ ปุ๋ย 20-10-30 หรือ ปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 3 กรัม/ตร.ม./วัน หรือมากกว่า

การเก็บเกี่ยวพริกหวาน
พันธุ์สีเขียวเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตผิวเรียบ และแห้ง ใช้กรรไกรตัดตรงขั้ว พันธุ์สีแดงและเหลือง เก็บเกี่ยววิธีเดียวกับพันธุ์สีเขียว แต่เก็บเกี่ยวเมื่อผลเริ่มมีสีได้มากกว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์

โรคแมลงศัตรูที่สำคัญ พริกหวาน Sweet Pepper, Bell Pepper, Capcicum, ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
ระยะกล้า 18-21 วัน โรคที่พบ เช่น
โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคไวรัส, โรครากปม,
ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน  โรคที่พบ เช่น
แอนแทรคโนส, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคใบจุด, โรคเน่าเปียก, โรคไวรัส, โรคใบไหม้, โรครากปม, ไรขาว,
ระยะเจริญเติบโต 50-60 วัน โรคที่พบ เช่น
แอนแทรคโนส, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคใบจุด, โรคเน่าเปียก, โรคไวรัส, โรคใบไหม้, โรครากปม, ไรขาว,
ระยะเก็บเกี่ยว 90-100 วัน  โรคที่พบ เช่น
แอนแทรคโนส, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคใบจุด, โรคเน่าเปียก, โรคไวรัส, โรคใบไหม้, โรครากปม, ไรขาว, แมลงวันแตง,
Read more >>


มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจอีกอย่างหนึ่งของประเทศไทยที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ก่อนอื่นเรามารู้จักประโยชน์ของมันสำปะหลังก่อน แล้วค่อยมาเรียนรู้วิธีปลูกมันสำปะหลัง

มันสำปะหลังเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุก ๆ ส่วน ตั้งแต่ยอดจนถึงราก (หัวมัน) มีการนำมาใช้ประโยชน์ในครัวเรือน เพื่อการบริโภคเป็นอาหารมนุษย์ และอาหาร สัตว์ และใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อการ
ใช้ประโยชน์ กับมนุษย์และสัตว์ ในหลาย ๆ รูปแบบ ตลอดทั้งใช้ในอุตสาหกรรมแป้งแปรรูป (Modified Starch) ใช้ประโยชน์อุตสาหกรรมต่างๆได้มากมายหลายชนิดและในวงการแพทย์ จึงกล่าว ได้ว่าการใช้
ประโยชน์จากมันสำปะหลังแยกได้ 3 ประเภท คือ บริโภคโดยตรง แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ (มันเส้น มันอัดเม็ด และแป้งมัน) และแป้งมันสำปะหลังแปรรูป (ทางเคมีและกายภาพใช้ประโยชน์ในระดับอุตสาหกรรมต่าง ๆ )

1. ใช้ประโยชน์บริโภคโดยตรง

1. หัวมันสด
ก. ใช้เป็นอาหารมนุษย์โดยตรง เช่น นึ่ง ย่าง อบ เชื่อม และหั่นฝอยคลุกน้ำมันหรือเครื่องเทศแล้วทอด หรือนำมาทำเป็นแป้งและแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ ตลอดจนนำมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆ (Chip) แล้วทอด
ข. ใช้เป็นอาหารสัตว์ ทั้งที่เป็นหัวสด กากที่เหลือจากการทำแป้งและเปลือกของหัว

2. ใบ
ก. ใช้เป็นอาหารมนุษย์ รับประทานเป็นผักสด โดยต้มจิ้มน้ำพริก นำมาแกง (ห่อหมก) ปรุงเป็นซุป
ข. ใช้เป็นอาหารสัตว์ ในรูปใบสด นำมาตากแห้งป่นผสมกับอาหารข้นเลี้ยงสัตว์ และเป็นอาหารผสม

3. ลำต้น
ก. ใช้ทำเป็นท่อนพันธุ์ นำไปปลูก
ข. ใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยตัดลำต้นส่วนยอดผสมกับใบสดใช้เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง ตากแห้งเป็นอาหารหยาบ
ค. ใช้ทำรั้วบ้านรั้วสวนและล้อมคอกสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านในชนบท

4. เมล็ด
ใช้สกัดน้ำมันที่มีคุณภาพดีสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยาได้

2.ใช้ประโยชน์โดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ (มันเส้น มันอัดเม็ด และแป้งมัน)

1.อุตสาหกรรมมันเส้น
การแปรรูปที่ใกล้ตัวมากที่สุด คือ การทำมันเส้น เมื่อเก็บเกี่ยวหัวมันสดแล้ว ก็จะนำส่งลานมัน ซึ่งเกษตร กรบางรายมีลานของตัวเอง ก็จะทำการแปรรูป โดยใช้ เครื่องตัดหัวมันเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปตากบน
ลานซีเมนต์ เมื่อแห้งดีแล้วก็ทำการเก็บ เพื่อส่งขายเป็นวัตถุ ดิบให้กับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ หรือ อุตสาหกรรมสัตว์ หรืออุตสาหกรรมมันอัดเม็ดต่อไป ปกติ 2.5 กิโลกรัม จะผลิตเป็น มันเส้นได้ 1 กิโลกรัม

2.อุตสาหกรรมมันอัดเม็ด
มันอัดเม็ดหรือที่เรียกว่า มันเม็ด ผลิตโดยการอัดมันเส้น โดยเครื่องอัดภายใต้สภาวะความร้อนและความดัน หลังจากอัแล้ว จะมีลักษณะเป็นท่อนยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 1ซม.
ความชื้นประมาณร้อยละ 14 ซึ่งจะส่งออกไปต่างประเทศเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์ เนื่องจากมันเม็ดจะมีปริมาณแป้งสูง (มากกว่าร้อยละ 65) จึงใช้เป็นแหล่งอาหารให้พลังงานของสัตว์


3.อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง
ในบรรดาประเทศที่ปลูกมันสำปะหลังมาก ๆ เช่น บราซิล ไนจีเรีย อินโดนีเซีย และไทย เป็นต้น ประเทศไทย เป็นประเทศเดียวที่ใช้มันสำปะหลังมาผลิตเป็นแป้งมากที่สุด ถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลัง
รายใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีกำลังความสามารถการผลิตมากกว่า 2 ล้านตัน มัน สำปะหลังต่อปี มีเทคโนโลยีการผลิตการผลิตแป้งมันสูงที่ สุดในบรรดาทุก ๆ ประเทศ และได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน

แป้งมันสำปะหลัง จึงถือได้ว่า เป็น "แป้งไทย" เป็นแป้งที่มีคุณภาพสูงและราคาถูกที่สุด
คุณสมบัติ
แป้งมันสำปะหลังมีคุณสมบัติที่พิเศษ คือ มีความขาวมันวาว เมื่อผสมน้ำและให้ ความร้อนจะเหนียวเป็นกาวใส กล่าวได้ว่า แป้งไทย ขาวใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีสี เหมาะสมมากเมื่อนำมาใช้ประโยชน์ โดย

เฉพาะในอาหารจะไม่มีกลิ่นรสแปลกปลอม

3.ใช้ประโยชน์ของแป้งมันสำปะหลัง หลังจากการแปรรูป (ทางเคมีและกายภาพใช้ประโยชน์ในระดับอุตสาหกรรมต่าง ๆ )

1. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
2. อุตสาหกรรมไม้อัด
3. อุตสาหกรรมกระดาษ
4. อุตสาหกรรมกาว
5. อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
6. วัสดุภัณฑ์ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
7. อุตสาหกรรมสารความหวาน
8. อุตสาหกรรมกรดมะนาว
9. อุตสาหกรรมผงชูรส
10.ยารักษาโรค

วิธีการเพาะปลูกมันสำปะหลังที่เหมาะสม


1. การเตรียมดิน
หากดินที่ทำการเพาะปลูกมันติดต่อกันหลายปี ควรปรับปรุงดิน เพื่อรักษาระดับผลผลิตในระยะยาว ด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเปลือกมันชนิดเก่าค้างปี (จากโรงแป้งทั่วไป) ที่หาได้ในท้องถิ่น หรือ ปลูกพืช

ตระกูลถั่วต่าง ๆ หมุนเวียนบำรุงดิน ในกรณีที่พื้นที่ประเภทหญ้าคา ควรใช้ยาราวด์อัพหรือเครือเถาต่าง ๆ ควรใช้ยาสตาร์เรน ฉีดพ่นยาจำกัดเสียก่อนการไถ จากนั้นไถครั้งแรกโดยไถกลบวัชพืชก่อนปลูกด้วย

ผาน 3 (อย่าเผาทำลายวัชพืช) ให้ลึกประมาณ 20-30 ซม. แล้วทิ้งระยะไว้ประมาณ 20-30 วัน เพื่อหมักวัชพืชเป็นปุ๋ยในดินต่อไป ไถพรวนด้วยผาน 7 อีก 1-2 ครั้ง ตามความเหมาะสม และรีบปลูกโดยเร็ว ในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่

2. การเตรียมท่อนพันธุ์
ใช้ท่อนพันธุ์มันที่สด อายุ 10-12 เดือน ตัดทิ้งไว้ไม่เกินประมาณ 15 วัน โดยติดให้มีความยาวประมาณ 20 ซม. มีตาไม่น้อยกว่า 5 ตา เพื่อป้องกันเชื้อราและแมลง ควรจุ่มท่อนพันธุ์ในยาแคปแทน 1.6 ขีด
(160 กรัม) ผสมร่วมกับมาลาไธออน 20 ซีซี ในน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 5 นาที ก่อนปลูก

3. การปลูก
ปลูกเป็นแถวแนวตรง เพื่อสะดวกในการบำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โดยใช้ระยะระหว่างแถว 1.20 เมตร ระยะระหว่างต้น 80 ซม. และปักท่อนพันธุ์ให้ตั้งตรงลึกในดินประมาณ 10 ซม.

4. การฉีดยาคุมเมล็ดวัชพืช
สำหรับการปลูกในฤดูฝนสภาพดินชื้น ควรฉีดยาคุมวัชพืชด้วยยาไดยูรอน (คาแม็กซ์) หลังจากการปลูกทันที ไม่ควรเกิน 3 วัน หรือก่อนต้นมันงอก หากฉีดหลังต้นมันงอก อาจทำให้ต้นมันเสียหายได้ ใช้ยาในอัตรา 6 ขีด (600 กรัม) ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นได้ประมาณ 1 ไร่ครึ่ง



5. การกำจัดวัชพืชและการใส่ปุ๋ย
กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 1 ประมาณ 30-45 วัน หลังการปลูก โดยใช้รถไถเล็กเดินตาม หรือ จานพรวนกำจัดวัชพืช ติดท้ายรถแทรกเตอร์ พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25-50 กก./ไร่ ห่างจากต้นมัน 1 คืบ   

(20 ซม.) จากนั้นใช้จอบกำจัดวัชพืชส่วนที่เหลือ พร้อมกับกลบปุ๋ยไปด้วย หรือใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุม ห่างจากโคนต้น 1 คืบ แล้วกลบดินตามก็ได้ ข้อสำคัญควรใส่ปุ๋ยขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ กำจัดวัชพืช
ครั้งที่ 2 ประมาณ 60-70 วัน หลังการปลูก โดยปฏิบัติเช่นเดียวกันกับครั้งแรก กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 3 ตาม ความจำเป็นโดยใช้จอบถาก หรือฉีดพ่นด้วยยากรัมม๊อกโซน (ควรใช้ฝากครอบหัวฉีด เพื่อป้องกันไม่ให้ยาโดนตาและลำต้นมัน)

6. การเก็บเกี่ยว
ทำการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงอายุที่เหมาะสม คือ ประมาณ 10-12 เดือน พร้อมทั้ง วางแผนการเตรียมท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เพื่อการปลูกในคราวต่อไปส่วนของต้นมันสำปะหลังที่ไม่ใช้ เช่น ใบ กิ่ง ก้าน หรือ ลำต้น ควรสับทิ้งไว้ในแปลง เพื่อให้เป็นปุ๋ยพืชสดในดินต่อไป

Read more >>


มะละกอ พืชสมุนไพรสารพัดประโยชน์และยังสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทยอีกด้วย

ชื่อ : มะละกอ(ภาคกลาง) มะก้วยเทศ (ภาคเหนือ) หมักหุ่ง (ลาว,นครราชสีมา,เลย) ลอกอ (ภาคใต้) กล้วยลา (ยะลา) แตงต้น (สตูล)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 3-6 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลออกขาว ลำต้นตรง ไม่มีแก่น แตกกิ่งก้านน้อย มีรอยแผลใบชัดเจน มียางขาวข้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรอบต้นหนาแน่นที่ปลายยอด ใบรูปฝ่ามือ ขนาด 80-120 ซม. ขอบใบเว้าเป็นแฉกลึกถึงแกนก้าน ก้านใบเป็นหลอด กลมกลวงยาว 25-100 ซม. ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อยาวห้อยลง ดอกสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ มีกลิ่นหอม ดอกเพศเมียสีขาว ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกมีขนาดใหญ่ กว่าดอกเพศผู้ ผล รูปกระสวย ผิวเรียบ เปลือกบาง มียางสีขาว ผลสดสีเขียวเข้ม พอสุกเปลี่ยนเป็นสีส้ม รับประทานได้ มีเมล็ดมาก เมล็ดกลม สีดำ มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวใส

ส่วนที่ใช้ : ผลสุก ผลดิบ ยางจากผลหรือจากก้านใบ ราก

สรรพคุณ :

ผลสุก - เป็นยากัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย

ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อย ฆ่าพยาธิ

ราก - ขับปัสสาวะ

มะละกอมีมากมายหลายพันธุ์ แต่มะละกอเป็นพืชที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม จึงมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ที่เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศของบ้านเรา พันธุ์มะละกอที่นิยมปลูกในบ้านเรามีด้วยกันทั้งหมด 4 สายพันธุ์ คือ

1. พันธุ์โกโก้ มีทั้งก้านใบสีน้ำตาลเข้มหรือสีม่วงเข้มหรือสีเขียวอ่อน พวกที่ก้านสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวจะสังเกตเห็นจุดประสีม่วงตามบริเวณลำต้นได้ชัดเจน โดยเฉพาะในขณะต้นอายุไม่มาก พันธุ์โกโก้ เป็นพันธุ์ที่ออกดอกติดผลเร็ว ต้นเตี้ย อวบแข็งแรง มีขนาดผลขนาดเล็กถึงปานกลางผลค่อนข้างยาวผิวเกลี้ยงเป็นมันปลายผลใหญ่ หัวผลเรียว เนื้อแน่นและหนาสีแดงหรือสีชมพูเข้มรสหวานอร่อย

2. พันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์ที่ลำต้นอวบแข็งแรง ต้นเตี้ยให้ดอกติดผลเร็ว ก้านใบสีเขียวอ่อน รูปทรงของผลยาวรีสีผลออกสีเขียวแก่หรือสีเขียวเข้ม มีเนื้อหนาแน่น เมล็ดน้อย ผลสุกเนื้อสีแดงเข้มมีรสหวาน

3. พันธุ์สายน้ำผึ้ง ลักษณะต้นเตี้ย ก้านใบยาวกว่าพันธุ์แขกดำ ผลค่อนข้างโตทรงผลป้าน คือด้านขั้วผลเล็กและขยายออกด้านท้ายผล เปลือกผลสีเขียว เมื่อสุกเนื้อออกสีแดงปนส้ม เนื้อหนาเนื้อแน่น มีเมล็ดมากรสหวาน

4. พันธุ์จำปาดะ เป็นพันธุ์ที่มีลำต้นอวบแข็งแรง ออกดอกติดผลช้ากว่าพันธุ์โกโก้และพันธุ์แขกดำ ใบและก้านใบออกสีเขียวอ่อน ผลมีขนาดยาว ผลดิบมีสีเขียวอ่อนผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อค่อนข้างบางกว่าพันธุ์อื่นและเนื้อไม่ค่อยแน่น


การเตรียมต้นกล้า

มะละกอไม่เหมาะที่จะหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง เนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาในขั้นแรกมาก เพราะพื้นที่กว้างขวางและต้นกล้าที่งอกใหม่ๆ ต้องการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้น การเตรียมต้นกล้ามะละกอให้แข็งแรงก่อนแล้วจึงย้ายปลูกลงแปลงปลูก จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าการหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง การเตรียมต้นกล้ามะละกออาจใช้วิธีต่าง ๆ แต่เทคนิคที่ได้ผลดี ทำให้เมล็ดพันธุ์เจริญเติบโตพร้อมเพรียงกัน ใช้สำหรับเพาะปริมาณมาก ๆ มีขั้นตอน ดังนี้คือ

1. เตรียมดินผสมที่จะใช้เพาะเมล็ดให้ร่วนโปร่ง โดยผสมดิน 3 ส่วน ปุ๋ย(ยักษ์เขียว)หรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน และ อินทรียวัตถุ(ขุยมะพร้าว) 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน หากใช้ปุ๋ยคอกนั้นควรเป็นปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว และไม่ร้อน ส่วนอินทรียวัตถุอาจใช้เศษหญ้าสับ แกลบหรือถ่านหรือเปลือกถั่วแทนก็ได แล้วแต่จะหาอะไรได้ในท้องถิ่น

2. นำดินที่ผสมแล้วใส่ถุงขนาด 5 x 8 นิ้ว ที่เจาะรูระบายน้ำ เรียบร้อยแล้วประมาณ 4 รู ตามจำนวนหลุมปลูกในพื้นที่ซึ่งเราคำนวณ

3. เพาะเมล็ดมะละกอ ให้นำเมล็ดพันธุ์มะละกอที่เตรียมไว้แช่ด้วยน้ำอุ่นประมาณ 40 องศาเซลเซียส ทิ้งไว้ 1-2 วัน จนเมล็ดจมอยู่ในน้ำ แล้วแยกเมล็ดเสียที่ลอยน้ำทิ้ง นำเมล็ดพันธุ์ที่จมน้ำมาคลุกด้วยชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดรา ไตรโค-แม็ก อัตรา 200 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 ลิตร แล้วห่อด้วยผ้าสำลีหรือผ้าขาวม้าเปียก คลุมด้วยกระสอบป่าน หรือบ่มไว้ในถาดหรือภาชนะตามสะดวก เปิดกระสอบรดน้ำวันละครั้งให้พอชุ่ม(อย่าให้แฉะหรือน้ำขัง)หลังจากนั้นประมาณ 4-5 วัน(เมล็ดพันธุ์ที่ดีจะงอกเร็ว) รากจะเริ่มแทงออกจากเปลือก ให้คีบเมล็ดที่รากยาวประมาณ 1-3 มิลลิเมตร มาหยอดลงในถุงชำ โดยให้ฝังลงในดินให้ลึกประมาณครึ่งเซนติเมตร เกลี่ยดินปิด ถุงละ 5 เมล็ด ส่วนเมล็ดที่เหลือซึ่งรากยังไม่งอก ให้ห่มผ้าและรดน้ำเหมือนเดิม เปิดผ้าวันเว้นวัน หรือ ทุกวัน เพื่อคีบเมล็ดมาเพาะตามขั้นตอนด้านบน จนหมด

4. นำถุงชำที่หยอดเมล็ดตามขั้นตอนที่ 3 ไปตั้งในโรงเรือนกลางแจ้งที่เตรียมไว้ ตั้งเรียงไว้กลางแจ้งในบริเวณที่สามารถให้น้ำได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน รดน้ำให้ชุ่มทุกเช้าเย็น หลังปลูก

5. เมื่อต้นมะละกอมีใบจริง 2-3 ใบ ให้เลือกกล้าต้นที่แข็งแรงเอาไว้ถอนต้นที่อ่อนแอออก เหลือเพียง 3 ต้น หลังจากนั้น ให้ใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดรา ไตรโค-แม็ก ฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน สลับกับการใช้ชีวภัณฑ์ปองกันกำจัดแมลง เมทา-แม็ก ผสมยาจับใบ ฉีดพ่นทุก ๆ 5 วัน ครั้งแรกเมื่อตนกลาเริ่มงอกและหลังจากนั้น ช่วงระยะนี้ให้เพิ่มความแข็งแรงให้ต้นกล้าทำให้เจริญเติบโตได้เร็วขึ้นโดยให้ผสม ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ20 ลิตร ฉีดพ่นหรือผสมน้ำรดทุก ๆ 5-7 วัน จนกว่าจะย้ายกล้าลงแปลงปลูก

6. ย้ายกล้าปลูกหลังต้นมีอายุได้ 30-45 วัน หรือมีใบแท้ประมาณ 6-8 ใบ

การเลือกพื้นที่ปลูก

มะละกอเป็นไม้ผลที่ชอบดินร่วนปนดินทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุมาก ไม่ชอบน้ำขัง และควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอไม่ทนดินเกลือและไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง ถ้าหลีกเลี่ยงในการเลือกพื้นที่ที่มีลมแรงไม่ได้ควรทำแนวไม้กันลมโดยรอบด้วย ระบบไร่ ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 3 x 3 เมตร หรือ 2.5 x 3 เมตร หรือ2.5x2.5 เมตรสำหรับระบบร่องน้ำ

การเตรียมแปลงปลูก

1. ไถพื้นที่ปราบวัชพืช 2 ครั้ง ๆ แรกด้วยไถ 3 ผาน หรือ 4 ผาน ครั้งที่ 2 ให้ย่อยดินให้เล็กด้วยผาน 7

2. วัดระยะแปลงปลูกตามความต้องการ ควรปักหลักเล็ก ๆ ห่างจากหลักหลุมปลูกอีก 2 หลัก โดยปักให้ห่างข้างละ 50 เซนติเมตร

3. ขุดหลุมปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ขอบหลุมห่างจากหลักกลางประมาณ 25 ซม. และขุดลึก 50 ซม. เอาดินขึ้นไว้บนปากหลุมอย่าให้โดนหลักเล็กทั้ง 2 ซึ่งจะเป็นหลักบังคับระยะปลูก

4. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อหลุม และคลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี แล้วใช้จอบกลบดินลงหลุมให้เสมอปากหลุม

การให้ปุ๋ย

ปุ๋ยมะละกอที่เตรียมไว้สำหรับรองก้นหลุมนั้น เพียงพอสำหรับในช่วงแรก แต่หลังจากลงกล้าปลูกประมาณ 21-30 วัน จึงเริ่มให้ปุ๋ยเสริมเพิ่มขึ้น เพื่อให้มะละกอมีการเจริญเติบโตเต็มที่ มีลำต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง โดยแบ่งใส่ปุ๋ยดังนี้

ทางดิน
1. ระยะต้นเล็ก ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) จะใส่หลังจากปลูกแล้ว 2-3 อาทิตย์ โดยแบ่งใส่ ครั้งละ 1-2 กำมือ(150-300 กรัม) ต่อต้น ทุก ๆ 20-30 วัน จะทำให้มะละกอเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตเร็วและให้ผลผลิตได้นานกว่า

2. เมื่อเริ่มให้ผลผลิต เมื่อมะละกอติดผลแล้วใช้ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตรา 100-150 กรัม(1 กำมือ) ต่อต้น ร่วมกับ ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) ครั้งละประมาณ 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น ทุก ๆ 20-30 วัน จะทำให้ผลผลิตน้ำหนักดีและรสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาด

ทางใบ
1. หลังจากลงย้ายปลูก ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ฉีดพ่นในอัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วัน ทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี ใบเขียวทน แข็งแรง ทนต่อโรคและป้องกันแมลง(ช่วยลดปัญหาเรื่องเพลี้ยอ่อนได้) และศัตรูพืชต่าง ๆ เข้าทำลาย

2. เมื่อมะละกอเริ่มให้ผลผลิต(ตั้งแต่เริ่มติดดอกจนถึงเก็บเกี่ยวทุกรุ่น) ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ฉีดพ่นช่วงตั้งแต่มะละกอเริ่มแทงช่อดอก อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 5 วัน จนติดผล จะทำให้มะละกอติดดอกและผลมาก ขั้วเหนียว ให้ผลผลิตได้ปริมาณมากและมีคุณภาพดี เมื่อติดผลแล้ว ให้สลับใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรเร่งขนาดผล) อัตรรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพเนื้อแน่น ผลใหญ่ ได้น้ำหนัก

3. เมื่อมะละกอติดดอกและมีลูกคาบเกี่ยวอยู่ในช่วงเดียวกัน ให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)และ(สูตรเร่งขนาดผล) ฉีดพ่นสลับกัน ทุก ๆ 7-10 วัน อัตราการใช้ตามข้อ 2 จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ต้นไม่โทรม เก็บเกี่ยวได้นานหลายรอบ

การออกดอกติดผล
มะละกอเป็นพืชที่มีดอก 3 ชนิดอยู่คนละต้น คือ

1. ต้นตัวผู้ จะมีดอกตัวผู้ล้วนเป็นจำนวนมากอยู่บนก้านช่อยาวที่แตกแขนง ถ้าพบควรตัดทิ้งเพราะไม่ให้ผล หรือให้ผลได้ก็ไม่สามารถจำหน่ายได้คุ้มค่าเท่าต้นตัวเมีย หรือต้นสมบูรณ์เพศ

2. ต้นตัวเมีย จะมีแต่ดอกเพศเมียเท่านั้น ดอกจะออกจากส่วนมุมด้านใบติดลำต้นเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ รังไข่มีรูปร่างป้อม ให้ผลค่อนข้างกลม ช่องว่างในผลมีมากจึงไม่ค่อยนิยมเช่นกัน

3. ต้นสมบูรณ์เพศ จะมีช่อดอกติดกันเป็นกลุ่ม ต้นสมบูรณ์เพศจะมีดอกสมบูรณ์เพศและดอกตัวผู้อยู่ในช่อดอกเดียวกัน และดอกสมบูรณ์เพศจะมี 3 ชนิดตามตำแหน่งของเกสรตัวผู้ ดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา (Elongata) ทำให้ผลมีรูปร่างทรงกระบอกสวย เป็นที่นิยมของตลาด ผลที่เกิดจากดอกสมบูรณ์เพศที่ดอกตัวผู้ติดอยู่กับรังไข่ (Intermediate) ทำให้ผลบิดเบี้ยว และดอกสมบูรณ์เพศที่ทำให้ผลเป็นพลูลึก (Pantandria) ผลจากดอกสมบูรณ์เพศสองชนิดหลังนี้ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดเกษตรกรผู้ปลูก ต้องหมั่นคอยตรวจดูและปลิดออกตั้งแต่ผลยังเล็กๆ นอกจากนั้นแม้ว่ามีดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา แต่ถ้าช่อดอกแตกแขนงและติดผลดก ผลจะเบียดกันมาก ทำให้ผลเล็กได้ จึงขอแนะนำให้เด็ดผลเล็กที่อยู่ที่แขนงข้างออก ให้เอาไว้แต่ผลที่ปลายช่อดอกจึงจะได้ผลใหญ่สม่ำเสมอกันทั้งต้น ถ้าทำทั้งสวนจะทำให้มีขนาดผลเกินมาตรฐาน จะสามารถขายง่ายและป้องกันการโค่นล้มได้อีกด้วย


เทคนิคการสังเกตและตัดแต่งต้น

จากขั้นตอนการเพาะชำนั้น จะเหลือต้นมะละกอ 3 ต้นต่อถุง หรือ ต่อหลุมปลูก เราสามารถเริ่มตัดต้นทิ้งให้เหลือแต่ต้นสมบูรณ์เพศ(กะเทย) ได้โดยให้สังเกตเมื่อมะละกอเริ่มออกดอก ตัดเหลือต้นสมบูรณ์เพศ(กะเทย)ไว้เพียงต้นเดียวจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี และได้ราคา
Read more >>


มะยงชิดผลไม้แสนอร่อยและราคาแพงช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับคนรับประทาน ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักประโยชน์ของมะยงชิดก่อน


ประโยชน์ของมะยงชิด

มะยงชิด เป็นผลไม้ตระกูลเดียวกับมะปราง ผลดิบมีรสชาติเปรี้ยว ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว ขนาดของผลจะมีขนาดใหญ่กว่ามะปรางหวาน ผลสุก รับประทานเป็นของว่าง ทำน้ำผลไม้ ทำแยม กวน
ผลดิบ ใช้จิ้มกะปิหวาน น้ำปลาหวาน ใช้ดองและแช่อิ่ม เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกาย มีวิตามินซีสูง มีกากไยอาหารมาก ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี
คุณค่าทางโภชนาการ : ผลสุก มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีน้ำตาล วิตามินซีและวิตามินเอสูง ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม และ อื่นๆ
คุณค่าทางยาสมุนไพร : เป็นยาถอนพิษไข้และพิษสำแดง ใบ ตำพอกแก้ปวดศีรษะ ผลมีรสเปรี้ยวอมหวาน แก้เสมหะในลำคอ
ความต่าง “ มะยงชิด มะปรางหวาน”
มะปราง มี 2 ชนิด นั้นคือ มะปรางหวาน ผลสุกมีรสหวานเย็น ผลยาวรี กิโลกรัมมีประมาณ 9 – 20 ผล มะปรางเปรี้ยว ผลสุกลูกมีขนาดใหญ่ หนึ่งกิโลกรัมมีประมาณ 5 – 15 ผล สีผิวมีสีส้มชวนรับประทานแต่รสชาติ

เปรี้ยวมากจนมีคนเก่าคนแก่ท่านกล่าวไว้ว่า “เปรี้ยวจนกาวาง”แต่มะปรางเปรี้ยวผลดิบอ่อน ๆ นำไปแชอิ่ม
มะยง รสชาติมีสองรสในหนึ่งผล - มีหวานอมเปรี้ยว หากรสมะยงรสชิดไปทางหวานมากกว่าเปรี้ยวจะเรียก “ มะยงชิด” หากรสชิดไปทางเปรี้ยวมากกว่าหวาน จะเรียก “ มะยง หรือมะยงห่าง” ผลของมะยงจะมีขนาดใหญ่กว่ามะปรางหวานและใหญ่กว่าไข่ไก่ หนึ่งกิโลกรัมมีประมาณ 8-15 ผล


การปลูกมะยงชิด-มะปรางหวาน และระยะปลูกที่เหมาะสม

เตรียมต้นพันธุ์ดียิ่งมีรากมากยิ่งดี ขุดหลุมปลูก กว้าง 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร เอาดินก้นหลุมขึ้นมาผสมกับแกลบและปุ๋ยมูลวัว คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วเอาดิน กลับลงไปรองก้นหลุม เอากิ่งพันธุ์มะยงชิดตั้งปลูกกลบดินที่โคนต้น อย่าให้ดินไปกลบรอยแผลที่ทาบเอาไว้เด็ดขาด ไม่เช่นนั้นจะทำให้ต้นไม่เจริญเติบโต รอยแผลที่ทาบไว้จะเกิดเชื้อรา ทำให้เน่าได้ ข้อสำคัญอยู่ตรงนี้ พอปลูกแล้วก็รดน้ำอย่าให้ดินโคนต้นแฉะ เพราะมะยงชิดไม่ชอบน้ำขังแฉะจะทำให้เกิดโคนเน่า รดน้ำสังเกตพอดินชุ่มเท่านั้น


ระยะปลูก

ระยะปลูกอยู่ที่ว่าเกษตรกรมีพื้นที่มากน้อยแค่ไหน และชอบที่จะปลูกระยะไหน ปลูกได้เลย หากจะปลูกระบบร่องสวนก็สามารถปลูกได้เช่นกัน
1. ระยะปลูก 8 x 8 เมตร
ระยะปลูกนี้ปลูกได้ไร่ละ 25 ต้น

2. ระยะปลูก 6 x 6 เมตร
ระยะปลูกนี้ปลูกได้ไร่ละ 44 ต้น

3. ระยะปลูก 4 x 4 เมตร
ระยะปลูกนี้ปลูกได้ไร่ละ 100 ต้น


การให้ปุ๋ยและการกำจัดศัตรูพืช

หลังจากลง ปลูกพอต้นตั้งตัวได้ประมาณ 3 เดือน ใส่ปุ๋ยคอกเล็กน้อย 3 เดือนใส่ครั้ง ใช้วิธีใส่น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง ปุ๋ยคอกควรเป็นปุ๋ยมูลวัว วิธีใส่ให้โรยรอบๆ ทรงพุ่ม ไม่ต้องขุดดินทำเป็นร่องเวลาใส่ปุ๋ยจะทำให้รากฝอยของต้นขาดได้ เวลาขุดใช้วิธีหว่านปุ๋ยให้รอบต้นจะดีกว่า

ปีแรกมะยงชิดจะไม่ค่อยโต เท่าไรนัก สาเหตุอาจจะต้องให้เวลาการปรับตัวของต้นบ้าง แต่พอปีที่สองที่สาม ต้นจะโตเร็วมาก หลังลงปลูกปีที่ 3 ต้นก็จะให้ผลผลิตแล้ว เมื่อสวนเป็นคราวแรกปล่อยไปตามธรรมชาติก่อน พออีกปีถึงจะเก็บผลผลิตขายได้


เมื่อถึงปีที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิต  แนะนำว่า ในช่วงเดือนมีนาคมให้ใส่ปุ๋ยคอก แล้วก็ตัดแต่งกิ่ง เอากิ่งไม่ดีในทรงพุ่มออก ตัดแต่งให้ในทรงพุ่มโล่งพอสมควร ใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงดินให้ต้นสมบูรณ์ที่สุดก่อนจะมีผลให้
เก็บเกี่ยว ครั้นถึงเดือนกันยายนหรือกลางเดือนตุลาคม ใส่ปุ๋ย สูตร 8-24-24 ให้เต็มที่อีกครั้ง
ถึงตอนนี้ต้นจะสมบูรณ์มาก ใบเขียวเข้มเป็นมัน พอหมดฝนอากาศหนาวมาเยือน มะยงชิด มะปราง กระทบอากาศหนาว อุณหภูมิราว 20-23 องศาเซลเซียส ประมาณ 7-8 วัน ต้นจะแทงช่อดอกออกมาทันที

เมื่อติดช่อ ดอกแล้ว ให้ฉีดยาป้องกันเชื้อรา 1 ครั้ง พอดอกพัฒนาเป็นผลจุดเล็กๆ ฉีดยาอีกครั้ง โตขนาดเมล็ดถั่วเขียวฉีดยาอีกครั้ง รวมแล้วประมาณ 3 ครั้ง ปล่อยให้ผลโตขนาดผลมะเขือพวง ฉีดยาป้องกันเพลี้ยไฟไรแดง พร้อมกับฮอร์โมน แคลเซียม โบรอน ใครมีสูตรบำรุงผลดีๆ ก็เอามาฉีดตอนนี้แหละ
ฉีด 1-2 ครั้ง ก็พอแล้ว หยุดฉีด ปล่อยให้ผลเจริญเติบโตนั้นจากวันแทงช่อดอกเรื่อยไป 75 วัน สามารถเก็บผลขายได้เลย

ช่วงผลโตขนาดมะเขือพวง ใส่ปุ๋ย สูตร 8-24-24 อีกครั้ง ก่อนเก็บ 10-15 วัน ให้งดการให้น้ำเพื่อให้เนื้อมะยงชิดมีรสหวาน

มะยงชิด ใน 1 ปี จะติดดอกประมาณ 2 รุ่น คือ อากาศหนาวมาเยือนครั้งแรกต้นจะติดดอกรุ่นหนึ่ง และถ้าอากาศหนาวลงมากระทบต้นก็จะติดดอกอีก รวมแล้วสามารถเก็บได้ 2 รุ่น ใน 1 ปี รุ่นที่ 2 นั้นมีมะยงชิดดกมาก

หลังเก็บผลผลิตหมด ก็ตัดแต่งกิ่ง ถึงเดือนมีนาคมราวกลางเดือนใส่ปุ๋ยคอกบำรุงต้น เพื่อให้สร้างผลผลิตในปีต่อไป

สำหรับแมลงวันทองศัตรูมะยงชิดนั้น ต้องทำสวนให้สะอาด ให้โล่งเตียน ไม่ให้มีเปลือกหรือผลตกหล่นตามสวนไว้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงวันทอง

การขยายพันธุ์มะยงชิด มะปรางหวาน

มะยงชิด มะปรางหวานเป็นไม้ผลที่เติบโตช้า ขยายพันธุ์ได้ยาก และใช้เวลาขยายพันธุ์ยาวนานกว่าไม้ผลที่สำคัญบางชนิด การขยายพันธุ์ที่นิยมกันมาก
การเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์วิธีนี้ง่าย และสามารถทำได้จำนวนมาก มีข้อเสียที่มีการกลายพันธุ์ และให้ผลผลิตช้า ประมาณ 7-8 ปี


อุปกรณ์ที่ใช้เพาะเมล็ดมะยงชิด มะปรางหวาน
1.เมล็ดพันธุ์มะปรางที่สมบูรณ์
2.ถุงพลาสติกสีดำขนาด 4X7 นิ้ว หรือ 5X9 นิ้ว
3.ดินปลูก ดินร่วนผสมปุ๋ยคอก ขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 3:1:2
4.บัวรดน้ำ
5.ผ้าพลาสติกปูพื้น
6.ปุ๋ยทางใบ
7.สารเคมีป้องกันแมลง
8.เครื่องพ่นสารเคมี

ขั้นตอน
1.ผสมดินปลูก ดินร่วน 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 2 ส่วน
2.นำผลมะปรางที่จะเพาะล้างเอาเนื้อออก ผึ่งในร่ม ก่อนเพาะควรนำไปจุ่มสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราก่อน การเพาะควรใช้ไม้ไผ่กลมเล็กแทงลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วนำเม็ดมะปรางมายอดในแนวนอน กลบเมล็ดด้วยดินเพาะ ประมาณ 5-10 วัน เมล็ดจะงอก
3.เมื่องอกเป็นต้นกล้า ควรมีการรดน้ำ และให้ปุ๋ยทางใบ
2.การตอนกิ่ง ควรเริ่มทำการตอนกิ่งช่วงต้นฤดูฝน ควรใช้ขุยมะพร้าวหุ้มดีกว่าใช้ดิน เพราะอุ้มน้ำดีกว่า

วิธีการตอน
1.เลือกกิ่งมะยงชิด มะปรางหวานที่เป็นกิ่งเพสลาด คือผิวเปลือกสีน้ำตาลปนเขียว ลักษณะใบต้องสมบูรณ์ไม่เป็นโรค
2.ควั่นกิ่งตอน โดยหางจากปลายกิ่ง 40 เซนติเมตร โดยเปิดแผลกว้าง 2-3 เซนติเมตร แกะเปลือกออก ขูดเยื่อเจริญออก อาทิ้งแผลไว้ 7 วัน
3.หุ้มกิ่งตอนด้วยขุยมะพร้าว ให้มิดรอยแผล แล้วเอาผ้าพลาสติกหุ้มต้นตออีกขั้นหนึ่ง จากนั้นเอาเชือกรัดหัวท้ายให้แน่นพอควร
4.ทิ้งไว้ 45-55 วัน ก็จะเกิดราก รอจนรากเดินดี จึงตัดไปชำ
5.ชำกิ่งตอนมะยงชิด มะปรางหวาน ควรทำในที่ร่มรำไร กิ่งตอนควรเลี้ยง 1-2 เดือน จึงนำไปปลูก อย่าลืมเอาถุงพลาสติกออกก่อนที่จะนำกิ่งลงชำ
3.การทาบกิ่ง เป็นวิธีขยายพันธุ์มะปราง มะยงชิด ที่เหมาะสมที่สุด เพราะมะปรางมีระบบรากแก้วที่แข็งแรง เหมาะที่ทนสภาพแล้งได้ดี การทาบกิ่งนิยมทาบแบบประกบ คือเฉือนต้นกิ่งพันธุ์ดีเป็นแผลยาว 2-3 นิ้ว เฉือนเข้าเนื้อไม้เล็กน้อยเฉียง 30 องศา ต้นตอใช้วิธีตัดยอดออก เฉือนเป็นปากฉลาม นำต้นตอที่เตรียมไว้ สอดเข้าแผลกิ่งพันธุ์ดี ต้นตอควรได้จาการเพาะเมล็ด อายุต้นตอ 1-2 ปี หรือต้นขนาดหลอดกาแฟ (ปฐพีชล,2529)
4.การเปลี่ยนยอด ควรเปลี่ยนยอดในช่วงฤดูฝน ส่วนฤดูอื่นต้องรดน้ำโคนต้นอยู่เสมอ

วัสดุอุปกรณ์
1.กรรไกรแต่งกิ่ง
2.มีดตอนที่สะอาด
3.ผ้าพลาสติกใส
4.ถุงพลาสติก
5.ต้นมะปราง ต้นเพาะเมล็ดที่ปลูกในสวนอายุ 1-3 ปี
6.กิ่งหรือยอดพันธ์ดี ที่มีตาที่สมบูรณ์ พร้อมที่จะเป็นยอดใหม่
7.กิ่งไม้ทำเพิงชั่วคราว บังขณะต่อยอด

วิธีเปลี่ยนยอด
1.ใช้กรรไกรตัดยอดมะปรางหวาน มะยงชิดพันธุ์ดีที่เราต้องการ มาเปลี่ยนยอดพันธุ์ไม่ดี ที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ตัดยอดพันธุ์ที่จะต่อยาว 7-15 เซนติเมตร ตัดใบออกให้หมด
2.เมื่อถึงที่สวน ใช้กรรไกรตัดแต่งกิ่ง ตัดยอดต้นมะปรางที่สมบูรณ์ นำใบมีดโกนที่คมและสะอาดผ่ายอดต้นตอเป็นรูปลิ่ม 2-3 เซนติเมตร
3.นำยอดพันธุ์ดีของมะปราง ที่จัดเตรียมไว้แล้ว มาตัดยอดเหลือยาว 5-7 เซนติเมตร แล้วใช้ใบมีดโกนที่คมและสะอาด เฉือนกิ่งพันธุ์ดีทั้งสองด้านเป็นรูปปากฉลาม แผลยาว 2-3 เซนติเมตร แล้วนำไปเสียบบนยอดต้นตอ ในแนวเยื่อเจริญ
4.นำผ้าพลาสติกใสมาพันแผลบริเวณรอยต่อให้สนิท
5.นำซองพลาสติก หรือซองใส่ยามาคลุมบริเวณที่ต่อยอดมะยงชิด มะปรางหวานให้เลยรอยแผลเล็กน้อยใช้มือรัดปากถุง
6. หลังจากการเปลี่ยนยอดมะปราง ให้ตัดยอดที่เหลือทิ้งให้หมดเพราะอาหารจะได้มาเลี้ยงยอดใหม่ได้เต็มที่
7. หลังจากเปลี่ยนยอดได้ 30 วัน มะปราง มะยงชิดจะมีการแตกใบอ่อนให้เลื่อนปากถุงขึ้นไปข้างบนที่ละน้อยเพื่อให้ยอดมะปรางแทงได้สะดวก และเมื่อเห็นยอดมะปรางปรับตัวเข้ากับอากาศภายนอกได้ดีแล้วให้นำซองยาออกได้
Read more >>


สำหรับคนรักสุขภาพผลไม้อย่างแก้วมังกร น่าจะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ช่วยได้ เพราะเป็นผลไม้ที่มีกากใยสูง แคลอรี่ต่ำ อุดมไปด้วยวิตามินซี คลอโรฟิลล์ เมล็ดของแก้วมังกรอุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวสามารถ
ต่อต้านปฏิกริยาอ๊อกซิเดชั่นทานแล้วนอกจากดับร้อนผ่อนกระหายยังบำรุงสุขภาพผิวพรรณสดชื่น ในสุภาพสตรีจะช่วยกระตุ้นต่อมน้ำนม ใช้เป็นผลไม้เสริมสุขภาพ และความงามได้เป็นอย่างดี




ส่วนประกอบที่เป็นไฟเบอร์ซึ่งมีปริมาณสูงมากในแก้วมังกรช่วยบำรุงการทำงานของระบบขับถ่ายและในสายเส้นใย ส่วนเนื้อจะมีสารที่เรียกว่า Complex Polysaccharides เป็นตัวที่ช่วยลดการดูดซึมของไขมัน
ประเภทไตรกลีเซอร์ไรด์ ช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือด

นอกจากนี้แก้วมังกรยังเป็นผลไม้ที่มีแร่ธาตุมากมายไม่ว่าจะเป็นวิตามินซี ฟอสฟอรัส โปรตีน แคลเซียม ช่วยบำรุงสุขภาพผิว และระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคท้องผูก สร้างเสริมระบบการกำจัดของเสียของร่างกาย

ต่อไปเราก็จะมาเรียนรู้วิธีการปลูกและวิธีดูแลรักษา "ต้นแก้วมังกร"

วิธีการปลูก
1. ขั้นตอนการเตรียมเสา
- ใช้ท่อใยหินกว้าง 4-6 นิ้ว สูง 1.5-2.0 เมตร (ตามความชอบและงบประมาณ ท่อละ 40-70 บาท)
- นำท่อมาเจาะรูที่ปลาย 4 รู เพื่อใช้เหล็กเส้นสอดเข้าไป
- ตัดเหล็กเส้นให้ได้ขนาดตามยางรถ ใช้เสาละ 2 เส้น
- นำเหล็กเส้นสอดเข้าไป แล้วนำยางรถมาวาง ใช้ลวดมัดให้แน่นหนา แข็งแรง

2. ขั้นตอนการปลูก(ควรปลูกในฤดูฝน)
- ขุดหลุมให้ได้ขนาด 60x60x60 เซนติเมตร
- นำเสาที่เจาะรูแล้วใส่ลงไปในหลุม แล้วใช้ดินกลบเล็กน้อย
- นำปุ๋ยคอกใส่ลงไปในหลุมจนเกือบเต็มหลุม
- นำต้นแก้วมังกร 4-5 ต้น ปลูกรอบๆ โคนเสาแล้วใช้ดินกลบให้เต็มหลุม
- ใช้เชือกหรือผ้ามัดต้นแก้วมังกรไว้เพื่อไม่ให้ล้มหรือหัก

วิธีการดูแลรักษาต้นแก้วมังกร
1. ขั้นตอนการดูและต้นแก้วมังกร
ต้นแก้วมังเป็นต้นไม้ประเภทเดียวกันกับกระบองเพชร จึงไม่ชอบน้ำ ในฤดูหนาวและฤดูร้อนควรให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่วนในฤดูฝนไม่ต้องให้น้ำเลย
- การให้ปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยปีละ 2-3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ควรให้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 (ถ้าให้ปุ๋ยคอกรสชาติของแก้วมังกรจะออกหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ที่สำคัญผมชอบด้วย และดินจะไม่แน่น)
ครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนมกราคมเป็นการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ และใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 ครั้งที่ 3 ในช่วงเดือนเมษายนเป็นการเตรียมและเร่งให้ต้นแก้วมังกรออกดอกควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีตัวหลังเยอะหน่อย เช่น 15-17-18 หรือสูตร 10-10-40 เป็นต้น
- ถ้าต้นแก้วมังกรออกยอดสูงพ้นเกิดเสานิดหน่อย ให้ใช้มือเด็ดปลายยอดทิ้ง เพื่อเป็นการทำให้แก้วมังกรแตกยอดออกมากๆ
- หญ้าที่ขึ้นใกล้ๆ โคนต้น ควรถอนออกเป็นประจำ เพื่อให้ต้นแก้วมังกรได้รับอาหารเต็มที่ไม่ต้องแบ่งปันให้กับหญ้า
- เมื่อครบ 2 ปี หลังจากต้นแก้วมังกรออกผลจนหมด ในช่วงเดือนตุลาคมควรตัดแแต่งกิ่งให้สวยงาม เพื่อเป็นการทำให้ต้นแก้วมังกรแตกกิ่งได้มาก และควรตัดทุกๆ 2 ปี

2. ขั้นตอนการเก็บผลผลิต
- ต้องให้ผลแก้วมังกรมีสีแดงทั่วทั้งผล ซึ่งอายุของผลแก้วมังกรตั้งแต่ออกดอกจนเก็บผลได้ประมาณ 2 เดือน
- เมื่อผลแก้วมังกรสุกเต็มที่แล้วให้ใช้กรรไกรตัดกิ่งตัดผลออกมาจากกิ่ง (อย่าให้กิ่งเสียหาย)

การขยายพันธ์
วิธีการขยายพันธ์แก้วมังกรที่ง่ายและสะดวก คือการปักชำแต่มีเทคนิคที่สำคัญหลายประการคือ เกษตรกรต้องเลือกเฉพาะกิ่งที่แก่เท่านั้น อย่าใช้กิ่งอ่อนเพราะจะเน่าเสียก่อน เมื่อได้กิ่งแก่มาปักชำส่วนใหญ่จะรอดตาย 100%
กิ่งแก่ในแต่ละกิ่งสามารถตัดเป็นท่อนได้หลายท่อน ตัดให้มีความยาวประมาณ 12 ฟุต ก่อนที่จะปักชำให้เอาทางโคนปักลง (สังเกตจากทางโคนจะมีหนามตั้งขึ้น) ก่อนที่จะนำกิ่งมาปักชำ นั้น ควรจะนำกิ่งแก่มาจุ๋มในน้ำที่ผสมน้ำยาเร่งราก (ใช้น้ำยาเร่งรากในอัตราเข้มข้นกว่าปกติ)จุ๋มกิ่งแก้วมังกรลงไปในน้ำยาลึกประมาณ 10 ซม.แล้วนำมาตั้งเรียงไว้ในร่มเป็นเวลา 7-10 วัน จนกิ่งเริ่มเหี่ยว ตั้งกิ่งให้ตรง

สำหรับเกษตรกรที่เริ่มปลูกควรจะเลือกซื้อกิ่งประเภทนี้ที่ผ่านการแช่น้ำยาเร่งรากแล้ว เพราะจะสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายได้รับการกระทบกระเทือนน้อยที่สุดและขนได้ครั้งละปริมาณมาก หลังจากได้กิ่งไปแล้วนำไปปักชำในแปลงเพาะที่เตรียมเอาไว้
สำหรับกิ่งประเภทที่นำลงถุงแล้วจะเคลื่อนย้ายค่อนข้างลำบากและขนได้ครั้งละปริมาณน้อยรวมถึงมีราคาที่แพงกว่าไม่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่

การเตรียมแปลงเพาะชำกิ่งหลังจากปรับพื้นที่ดินให้เรียบแล้วใส่ขี้เถ้าแกลบดำลงในแปลงให้มีความหนาประมาณ 1 คืบ ถ้าแปลงเพาะชำอยู่กลางแจ้งจะต้องมุงด้วยตาข่ายพรางแสงชนิด 60% จากนั้นนำกิ่งที่ชุบน้ำยาเร่งรากแล้วไปปักชำให้ลึกประมาณ 10 ซม
รดน้ำ 2-3 วันต่อครั้งก็เพียงพอแล้ว ถ้ารดบ่อยเกินไปอาจจะทำให้เกิดปัญหากิ่งเน่าได้ หลังจากปักชำไปได้นานประมาณ 1 เดือนก็จะออกรากและนำไปปลูกในแปลงได้

วิธีการสังเกตว่ากิ่งแก้วมังกรที่นำไปปักชำนั้นมีรากที่สมบูรณ์แล้วสังเกตได้ว่าจะมีการแตกยอดอ่อนออกมาใหม่ คัดเลือกเฉพาะกิ่งที่แตกยอดออกทยอยไปปลูก

ต่อไปก็จะเป็นวิธีการปลูกแก้วมังกรในกระถาง

การปลูกแก้วมังกรในกระถางนั้นเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจะปลุกแก้วมังกรไว้รับประทานเองภายในบ้าน ซึ่งการปลูกด้วยวิธีนี้ใช้พื้นที่ในการปลูกน้อย สำหรับอุปกรณ์ที่จะใช้สำหรับปลูกแก้วมังการในกระถาง
มีดังนี้
1.ท่อน้ำทิ้งหรือเสาไม้หรือเสาปูน ขนาดพอเหมาะ
2.กระถาง
3.ค้างด้านบนจะเป็นปูนหรือไม้ก็ได้
4.ดิน
5.ขุยมะพร้าว
6.เชือกฟาง


วิธีปลูกแก้วมังกรในกระถาง

ขั้นตอนแรกให้นำเสาไม้หรือเสาปูนที่เตรียมไว้ตั้งเป็นหลักลงในกระถางที่เตรียมไว้จากนั้นให้นำขุยมะพร้าวใส่ลงในกระถางอัตราส่วน 1 ใน 3 ของกระถางจากนั้นให้นำดินผสมกับแกลบหรือขุยมะพร้าว
เทลงในกระถางจนถึงปากกระถาง นำต้นแก้วมังกรลงปลุกในกระถางให้ติดกับเสาจากนั้นให้นำเชือกมัดต้นแก้วมังกรและเสาติดกัน จากนั้นนำดินมากลบต้นแก้วมังกรให้เรียบร้อย ข้อควรระวังคือ ไม่ควรมัดต้นแก้วมังกรกับเสาให้แน่นจนเกินไป และควรนำด้านแบนผูกติดกับเสาเนื่องจากด้านแบนคือด้านที่จะออกราก

Read more >>


แต่ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักประโยชน์ของมะรุมก่อนว่ามีประโยชน์มากมายหลากหลายแค่ไหน

เดี๋ยวเราจะมารู้จักประวัติคร่าวๆ ของเจ้าต้นมะรุมก่อนนะค่ะ

มะรุมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าMoringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย

ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทาง อีสาน เรียก "ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม" ภาคเหนือ เรียก "มะค้อมก้อน" ชาวกะเหรี่ยง แถบกาญจนบุรีเรียก"กาแน้งเดิง" ส่วน ชาวฉาน แถบแม่ฮ่องสอนเรียก " ผักเนื้อไก่"

มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร ทรงต้นโปร่ง ใบเป็นแบบขนนกคล้ายกับใยมะขามออกเรียงแบบสลับ ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็นช่อสีขาว ดอกมี 5 กลีบ

ฝักมีความยาว 20-50 เซนติเมตร ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง เป็นที่มาของชื่อต้นไม้ตีกลองในภาษาอังกฤษ (Drumstick Tree) เปลือกฝักอ่อนสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก เปล ือกฝักแก่มีสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มลักษณะกลมมีสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เมล็ดแก่สามารถบีบน้ำมันออกมากินได้

มะรุมเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ การปลูกการดูแลรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้! ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน 1-5 ต้น เพื่อให้เป็นผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา

คนไทยทุกภาคนิยมนำฝักมะรุมไปทำแกงส้ม ด้วยการปอกเปลือกหั่นฝักมะรุมเป็นชิ้นยาวพอคำ ถือว่าเป็นผักที่ทำแกงส้มคู่กับปลาช่อนอร่อยที่สุด จะต่างกันก็ในรายละเอียดของแกงตามแบบอย่างของแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น แม้แต่ทางใต้ก็นิยมนำมะรุมมาทำแกงส้มปลาช่อน โดยจะใช้ขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาวปลาและเพิ่มสีสันของน้ำแกง ปรุงรสเปรี้ยวด้วยการใส่ส้มแขกแทนน้ำมะขาม และหั่นปลาช่อนเป็นแว่นใหญ่ไม่โขลกเนื้อปลากับเครื่องแกง

ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม หาได้ง่าย รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาล คนที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอกนำไปดองเก็บไว้กินกับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อนนำมาลวกหรือต้ทให้สุก จิ้มกับน้ำพริกปลา ร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่วได้ทุกอย่าง หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้

ส่วนอื่นๆ ของโลกจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสานจังหวัดสกลนครใช้ใบมะรุมแห้งปรุงเข้าเครื่อง 'ผงนัว' กับสมุนไพรอื่นไว้แต่งรสอาหารมาแต่โบราณ ส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก

ประโยชน์ของมะรุม

1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดจนถึง ๑๐ ขวบ ลดสถิติการเสียชีวิตพิการและตาบอดจากการขาดสารอาหารได้เป็นอย่างดีในกรณีเด็กแรกเกิด
2. ช่วยผู้ปวยโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ สามารถลดการใช้ยาลงโดยความเห็นชอบและการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้ทำการรักษา
3. ใช้ควบคุมความดันโลหิตสูงให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ แต่ทั้งนี้จะต้องช่วยตัวเองด้วยการควบคุมอาหาร การบริหารร่างกายแบบง่าย ๆเช่น เดิน รำมวยไท้ชี่ เป็นต้น มิฉะนั้นแล้ว การบำบัดด้านนี้จะไม่ได้ผลเท่าที่ควร4. ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ถ้ารับประทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ นอกจากจะทำให้มารดามีสุขภาพสมบูรณ์และแข็งแรงแล้ว
5. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานที่ต่ำลงของผู้ป่วยโรคเอดส์ ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ และสามารถมีชีวิตอยู่อย่างคนปรกติทั่วไป
6.ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันมะเร็งและถ้าหาก เป็นอยู่ก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่กับยาแพทย์แผนปัจจุบัน หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง ได้รับการรักษาด้วยรังสีการ ดื่มน้ำมะรุมจะช่วยลดการแพ้รังสีช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น และมีร่างกายแข็งแรง
7. ช่วยบรรเทาอาการปวดบวมของโรคเก๊าท์ โรคข้อและกระดูกอักเสบโรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
8. ช่วยรักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น
9. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ เป็นต้น
10. รักษาปอดให้แข็งแรงและช่วยรักษาโรคปอดอักเสบ
11. รักษาโรคทางเดินหายใจอักเสบ โรคโพรงจมูกอักเสบ หอบหืด และโรคภูมิแพ้
12. ช่วยเชื่อมต่อกระดูกที่หักได้ผลรวดเร็ว
13. ช่วยรักษาโรคคอหอยพอกชนิดมีพิษ มีผลในเพศหญิงเต็ม 100% ชาย 75% ใบมะรุมผงสามารถรักษาจนผู้เขียนหายขาดจากโรคคอหอยพอก


วิธีการปลูกต้นมะรุม

1) การเตรียมดินและเมล็ด
การปลูกมะรุมขึ้นอยู่กับการเตรียมดินซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ดินที่เหมาะกับการปลูกควรจะต้องมีลักษณะเป็นดินดำหรือดินแดงที่ร่วนซุย มีค่า pH ที่ 5.5 – 8.0 ได้รับแสงแดด ไม่ควรเป็นดินเหนียวหรือดินที่มีน้ำท่วมขัง เตรียมดินโดยการไถพรวนลึก 2 ฟุต พร้อมกองหญ้า มูลสัตว์และไบโอเอ็นไซม์เพื่อฟื้นฟูดินให้สมบูรณ์และสามารถต้านทานโรคพืช ควรหว่านไถ 2 ครั้งเพื่อกำจัดและลดปริมาณวัชชพืชก่อนการปลูก เพื่อให้ต้นมะรุมได้รับสารอาหารจากดินเต็มที่ ควรขุดร่องน้ำห่างจากแนวยกร่องประมาณ 10 เซ็นติเมตร ลึก 50 เซ็นติเมตรและฝังกลบด้วยใบไม้ มูลสัตว์ ขี้เถ้าและดิน เพื่อเพิ่มผลผลิต

2) การเพาะปลูก

เมล็ดมะรุมที่เหมาะกับการเพาะปลูกควรเป็นเมล็ดพันธุ์แท้ซึ่งพัฒนาจากเมล็ดแม่พันธุ์โดยตรง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงและสม่ำเสมอ จำนวนฝักมากและจำนวนเมล็ดต่อฝักก็มากด้วย เพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านปุ๋ย สารอาหาร เวลา แรงงานและอื่นๆ ที่ใช้ในการเพาะปลูก ขั้นตอนการปลูกเริ่มจากการนำเมล็ดมะรุมพันธุ์แท้มาแช่ไบโอสุพรีมซึ่งเป็นสารเร่งรากประมาณ 8-12 ชั่วโมงก่อนการปลูกเพื่อเร่งการงอก กระตุ้นและเสริมสร้างระบบรากให้แข็งแรง เพื่อให้ตันมะรุมเจริญเติบโต การปลูกด้วยเมล็ดที่ให้ผลดีและรวดเร็วควรปลูกในที่ที่ต้องการเพาะปลูกและไม่โยกย้าย ควรใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน 1-2 เมล็ด หยอดในหลุมลึกลงไปประมาณ 3 ซม. ฝังให้ห่างกันประมาณ 1 นิ้วในแต่ละหลุม ระยะห่างแต่ละหลุมประมาณ 2.5 เมตร รดน้ำให้ดินชุ่มอาทิตย์ละหนึ่งหนก็เพียงพอเพื่อไม่ให้ผิวดินแห้ง การรดน้ำมากเกินไปจะทำให้รากเน่าตายได้ เมล็ดจะเริ่มงอกหลังจากหว่านประมาณ 5-7 วัน อัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์แท้จะสูงมาก ราว 90-95% หากปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์แท้ 2 เมล็ดและต้นกล้าเจริญเติบโตทั้ง 2 ต้น ให้เก็บไว้ ไม่จำเป็นต้องถอนทิ้ง หากจำเป็นต้องปลูกในถุงพลาสติคดำ ให้บรรจุดินผสมทรายและแกลบลงในถุงดำก่อนหยอดเมล็ดลงในถุงดำถุงละ 2 เมล็ด เสร็จแล้วรดน้ำพอชุ่มอาทิตย์ละครั้ง อย่าให้ถึงกับแฉะมาก ควรบำรุงต้นกล้าเมื่ออายุได้ประมาณ 15 วัน ด้วยการฉีดพ่นไบโอสุพรีมทุก 7 วันเพื่อให้ต้นมะรุมแตกรากได้สมบูรณ์ เร่งการเจริญเติบโต เพิ่มการแตกกอ เมื่อต้นกล้ามะรุมเจริญเติบโตงอกงามและมีอายุประมาณ 1 เดือน ก็จะสามารถย้ายไปปลูกในพืนที่ที่เตรียมไว้ได้ หลังการโยกย้ายใบต้นกล้ามะรุมอาจจะเฉาบ้าง แต่จะยังไม่ตาย ต้นมะรุมจะฟื้นตัวเองภายใน 1 วัน เมื่อต้นมะรุมเติบโตได้ประมาณ 2 เดือนหรือสูงประมาณ 75 เซ็นติเมตรควรเด็ดลำต้นกลางออกเพื่อเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต และจำกัดความสูงของต้น หากจำเป็นให้ทำอีกครั้งเมื่อลำต้นสูงประมาณ 4 ฟุต

3) การบำรุงต้นและใบ

ควรหว่านไบโอเอ็นไซม์เดือนละครั้งเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน ปรับสภาพดินให้คงความร่วนซุย และขจัดเชื้อราทางดินเมื่อใบมะรุมเริ่มมีสีเขียวจัดและเริ่มแตกตาดอกให้บำรุงด้วยไบโอบูมบูมทุก 7 วัน เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นมะรุมและเพิ่มผลผลิตปรกติต้นมะรุมสามารถทนแล้งได้ดีแต่ในฤดูแล้งควรรดน้ำอาทิตย์ละครั้ง และเพื่อเพิ่มผลผลิตควรให้ด้วยระบบน้ำหยดหรือระบบสเปรย์หมอก จะสามารถเพิ่มผลผลิตเป็น 2 เท่า

4) การป้องกันและปราบศัตรูพืช

เมื่อต้นมะรุมมีอายุได้ประมาณ 70 วัน หรือเมื่อพบแมลงและโรคพืช ให้ปราบด้วยน้ำมันสะเดาเข้มข้น ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ไม่เป็นอันตรายต่อชาวไร่และผู้บริโภค

5) การเก็บใบเพื่อนำมาใช้ประโยน์และแปรรูป

ใบมะรุมที่มีประโยชน์นำมารับประทานหรือมาแปรรูปควรเป็นใบที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป หรือควรเป็นใบที่เก็บจากต้นมะรุมที่มีอายุประมาณ 4 เดือน การรับประทานใบสดมีประโยชน์และสะดวกสำหรับผู้ที่สามารถปลูกมะรุมด้วยตนเอง แต่คุณประโยชน์จะไม่เทียบเท่าใบมะรุมแห้งในปริมาณเท่ากัน ยกเว้นวิตามินซีซึ่งในใบสดมีมากกว่าเท่านั้น ใบมะรุมสามารถนำมาแปรรูปเป็นผง และบรรจุในแคปซูล ขั้นตอนการผลิตควรระมัดระวังให้ได้มาตรฐาน GMP อย่างต่ำเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้บริโภค ไม่ใส่สารแปลกปลอมเช่น สี ส่วนอื่นที่ไม่ใช่ใบ ใบมะรุมแห้งที่ผ่านการอบจะไม่มีสีเขียวสดแน่นอน แคปซูลควรผลิตจากสารธรรมชาติที่ย่อยง่ายและไม่ควรทำจากเม็ดพลาสติค ขบวนการอบจะต้องได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันเชื้อราและเชื่อโรคอื่น ๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต

6) การเก็บฝักและเมล็ดเพื่อนำมาใช้ประโยชน์และแปรรูป

เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วว่าส่วนต่าง ๆ ของมะรุมอ่อนนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงส้ม แกงอ่อม ไข่เจียว จิ้มน้ำพริก เป็นต้น ส่วนฝักมะรุมแก่สามารถนำเมล็ดมาบริโภคบำบัดโรคได้หลายชนิด รวมทั้งนำมาบีบน้ำมันได้ น้ำมันมะรุมมีประโยชน์มากมายเช่นเดียวกันแต่ควรจะใช้วิธีสกัดเย็น ไม่ใช้ความร้อน แสะสารเคมีใด ๆ จึงจะมีประโยชน์สูงสุด การสกัดน้ำมันเองมีข้อดีที่สำคัญคือทำให้เชื่อมั่นว่าเป็นน้ำมันมะรุมบริสุทธุ์ไม่เจือปนน้ำมันชนิดอื่นที่มีราคาถูกกว่า หรือปลอมน้ำมันอื่นแล้วอ้างว่าเป็นน้ำมันมะรุม เมล็ดมะรุมที่มีคุณภาพดีจะสามารถให้น้ำมันได้ถึง 250-300 ซีซี ต่อเมล็ดมะรุมแห้ง 1 กก. ทั้งนี้อาจขึ้นกับเทคนิคการผลิตและเครื่องสกัดเย็นด้วย

Read more >>


ข้าวโพด

เป็นพืชที่มีประโยชน์หลายอย่างคือ เป็นทั้งอาหารของมนุษย์และสัตว์ มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมาก เพราะนอกจากเพื่อใช้ภายในประเทศแล้ว ยังสามารถส่งออกได้ปีละมากๆ ข้าวโพดที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ข้าวโพดหัวบุบ ข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดแป้ง ข้าวโพดอาหารสัตว์ แต่ในการอธิบายเทคนิควิธีการเพาะปลูก จะขอแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ข้าวโพดหวาน
2. ข้าวโพดอาหารสัตว์
3. ข้าวโพดฝักอ่อน


1. ข้าวโพดหวาน
เป็นพันธุ์ที่ชอบดินร่วน หรือชอบดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบความแห้งแล้งและความชื้นแฉะ ดินที่มีความชื้นธรรมดา ไม่แฉะ ข้าวโพดจะเจริญเติบโตได้ดีมาก มีรายละเอียดสำคัญดังนี้



1.1 พันธุ์ที่นิยมปลูก เป็นพันธุ์ลูกผสม มีเมล็ดสีเหลือง สามารถเก็บเกี่ยวได้ในระยะ 18-20 วัน หลังจากออกไหม


1.2 ฤดูกาลปลูก

- ปลูกได้ตลอดปี ถ้ามีน้ำเพียงพอ

- ฤดูปลูกที่เหมาะคือ ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – เดือนมกราคม หรือเริ่มปลูกในระยะต้นฤดูฝน คือระหว่างเดือนพฤษภาคม - เดือนกรกฎาคม

หลังเก็บเกี่ยวข้าวก็สามารถปลูกในนาได้ จะให้แน่นอน เกษตรกรต้องพยายามสังเกตความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศด้วยว่า

- ฝนจะเริ่มตกเมื่อไร

- ฝนจะหมดเมื่อไร


จะปลูกในระยะนั้นๆ เพราะข้าวโพดไมชอบความแห้งแล้งหรือมีน้ำมาก ทั้งแห้งและแฉะ จะไม่เหมาะต่อการปลูกข้าวโพด ระยะที่ดีที่จำได้ง่ายๆ คือระยะต้นหรือระยะปลายฤดูฝน


การเตรียมดิน


ปลูกบนพื้นราบ

- ใส่โบกาฉิก่อนไร่ละ 100-200 กิโลกรัมตามสภาพ

- พ่นด้วย EM ขยาย 40-50 ลิตรต่อ 1 ไร่ ผสมน้ำสะอาด 1:500-1,000 ตามสภาพดินแห้งหรือเปียก


ถ้าพื้นดินขาดอินทรียวัตถุ ควรใส่มูลสัตว์หรืออินทรียวัตถุอื่นๆ ด้วย เช่นใบไม้ ซากต้นข้าวโพด ฯลฯ แล้วจึงใส่โบกาฉิและพ่น EM ให้ชื้นโดยทั่วไป แล้วไถดะ หรือไถด้วยผาล 3 และผาล 7 หมักไว้ 7-15 วัน พรวนด้วยผาล 7 อีกครั้ง แล้วยกแปลงปลูกการดำเนินเช่นนี้เพื่อ

- การกำจัดวัชพืช

- เพิ่มปุ๋ยในดิน

- กำจัดเชื้อโรคต่างๆ


การปลูกจะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยภายหลัง และการใส่ปุ๋ยโบกาฉิก่อน ทำให้รากยาว ลึก โค่นล้มยาก และหาอาหารได้เก่ง ทนต่อภาวะอากาศแล้งหรือฝนชุก
ถ้าปลูกไม่มาก มีพื้นที่ 2-3 งาน ให้ได้ผลผลิตสูง ทำดังนี้

- หลังการไถ่ครั้งแรก พรวนแล้วชักร่องให้ลึกตามแปลงที่จะปลูก นำอินทรียวัตถุมาใส่ เช่น หญ้า ฟาง ใบไม้ มูลสัตว์ ฯลฯ แล้ว

- ใส่โบกาฉิ เมตรละ 1-2 กำมือ

- รด EM (1:1:500)

- กลบร่องและยกเป็นแปลง หมักไว้ไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนปลูก

ในแปลงนาหรือแปลงที่มีวัชพืชมากๆ หว่านโบกาฉิ พ่น EM แล้วไถพรวน หญ้าฟางคือปุ๋ย ขอให้ได้หมักและย่อยสลายก่อนด้วย EM


หมายเหตุ

หากมีอินทรียวัตถุและมีโบกาฉิมูลสัตว์เพียงพอ ผลผลิตจะสมบูรณ์มากน้อยตามสภาพ

การใช้เทคนิคเกษตรธรรมชาติด้วย EM จะปรับสภาพให้เป็นปกติ ทั้งสภาพดินโรค ดินกรด ดินด่าง หรือดินขาดสารอาหาร


1.3 วิธีการปลูก


ก่อนปลูก นำเมล็ดพันธุ์แช่ EM (1:500-1,000) นาน 10-20 นาทีเพื่อ

- กำจัดเชื้อโรค สารพิษสารเคมี

- เร่งการงอก

ข้าวโพดหวาน ปลูกหลุมละ 1-2 เมล็ด

ข้าวโพดข้าวเหนียว ปลูกหลุมละ 2-3 เมล็ด



1.4 ระยะระหว่างหลุม

- ถ้าปลูกเป็นแถวเดี่ยวระหว่างหลุม ระยะ 25 เซนติเมตร

- ถ้าปลูกแถวคู่ให้เยื้องกัน ระหว่างหลุม 25-30 เซนติเมตร


1.5 การดูแลรักษา


1. ใส่ปุ๋ย พิจารณาตามสภาพดิน หรือดูที่ต้นกล้า

- ดินดี ต้นกล้าสวยแข็งแรง ใส่เมื่ออายุ 40 วัน

- ดินไม่ดี กล้าไม่สมบูรณ์ ใส่ 2 ครั้ง เมื่อกล้าอายุ 20 วัน และ 40 วัน

- พ่น EM เสมอทุกครั้งที่ใส่โบกาฉิ

2. การให้น้ำ

- ยกร่องให้น้ำสูง 3/4 ของร่อง สัปดาห์ละครั้งหรือตามความเหมาะสม

- แปลงราบ รดด้วยการสาดพ่น รด ราด ทุกๆ 7-10 วัน/ครั้ง เมื่อสักเกตเห็นว่าใบข้าวโพดเหี่ยวนั้นแสดงว่าดินแห้ง ควรรีบให้น้ำ (ยกเว้นฝนตก)



1.6 ศัตรูและการป้องกัน


การได้ใส่โบกาฉิ หรือบำรุงดินสม่ำเสมอ หรือถ้าดินดี พืชจะไม่มีโรคและไม่ถูกรบกวนจากศัตรูพืชด้วย
ในระยะปีแรกๆ ควรใช้ EM5 สม่ำเสมอ เดือนละ 2 ครั้ง พ่นให้ทั่วในระยะแดดร่มลมตก



1.7 การเก็บเกี่ยว

ต้องทำทุกระยะ เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวได้คุณภาพ


- เก็บเกี่ยวหลังออกไหมได้ 50% เป็นเวลา 18-20 วัน หรือสังเกตสีของไหม จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม


- ข้าวโพดฝักบนสุด ฉีกเปลือก เล็บกดเมล็ดจะมีน้ำนมไหล


- ข้าวโพดหวานควรเก็บทั้งหมดภายใน 5-7 วัน


ถ้าเก็บก่อนหรือหลังระยะที่เหมาะสม 1-2 วัน จะทำให้ได้ข้าวโพดคุณภาพไม่ดี


- ใช้มือหักฝักสดให้ถึงบริเวณด้านฝักที่ติดลำต้น


1.8 การปฎิบัติหลังการเก็บเกี่ยว


- รีบนำผลผลิตไว้ที่ร่ม ไม่ให้ถูกแสงแดด


- ไม่ควรกองสมให้สูงมากเกินไป มีอากาศถ่ายเทดี


- ถ้ามีการขนส่งไกลนานเกิน 3 ชั่วโมง ควรมีที่ระบายอากาศ โดยใช้ท่อพีวีซี ขนาด 2-3 นิ้ว ยาว 3-4 เมตร


การดูแลแปลงหลังเก็บเกี่ยว


ถ้าทำได้จะดีมากคือ


- ไม่เผาต้น ควรตีป่นด้วยเครื่อง


- ใส่โบกาฉิ + EM ขยาย พ่น


- ไถกลบซากไว้ในดิน ถ้าจะปลูกต่อก็ควรหมักไว้ก่อน 7-15 วัน แล้วไถพรวนตามที่กล่าวมาข้างต้น


2. ข้าวโพดอาหารสัตว์



ข้าวโพดอาหารสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความต้องการเพิ่มทุกปี แต่มีปัญหาเพิ่มทุกปีคือ


- มีพื้นที่เพาะปลูกลดลง แต่ความต้องการเพิ่ม


- ประสิทธิภาพการผลิตต่ำทั้งฤดูกาล และการปนเปื้อนสารพิษสารเคมี


- มีการระบาดของโรคสูง


- ผลผลิตกระจุกตัวในเดือนสิงหาคม – เดือนตุลาคม


- เมล็ดพันธุ์ราคาแพง


2.1 สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม


- พื้นที่ไม่ลาดเอียงมาก


- ดินร่วน ดินเหนียว ดินร่วนทราย


- การระบายน้ำดี


2.2 การเตรียมดิน


- ใส่โบกาฉิไร่ละ 100-200 กิโลกรัม


- สาดพ่นด้วย EM (1:1:500-1,000) ให้ทั่ว (ใช้ EM ประมาณไร่ละ 30-40 ลิตร เป็น EM ขยาย)


- ไถด้วยผาล 3 ต่อด้วยผาล 7


- หมักดินไว้ไม่น้อยกว่า 7 วัน พรวนอีกครั้ง


ขั้นตอนนี้มีประโยชน์มากเพื่อหมักดินให้เกิดปุ๋ย กำจัดวัชพืช และกำจัดเชื้อโรค สารพิษสารเคมีปรับสภาพความเป็นกรด ด่าง ให้เป็นกลาง


- ยกร่องปลูกได้ หรือจะปลูกโดยไม่มีร่องก็ดำเนินการได้


2.3 ฤดูกาลปลูก


- ต้นฤดูฝนเดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม


- ปลายฤดูฝนเดือนกรกฏาคม - เดือนสิงหาคม



2.4 วิธีปลูก


- ระหว่างแถว 75 เซนติเมตร


- ระหว่างต้น 25 เซนติเมตร


- ใส่หลุมละ 1-2 เมล็ด


ก่อนปลูกนำเมล็ดพันธุ์แช่ในน้ำผสม EM 1:500-1,000 เป็นเวลานาน 20-30 นาทีก่อน



2.5 การให้ปุ๋ย


- ใส่โบกาฉิเดือนละครั้ง


- พ่นด้วย EM (1:1:500-1,000) เดือนละครั้ง


- ฮอร์โมนเร่งดอก สารสกัดพืชหมัก (F.P.E.) 20-30 วันต่อครั้ง


2.6 การรักษาป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช


- EM5 (สุโตจู) ในการใช้เทคนิคเกษตรธรรมชาติต้องใช้เสมอๆ ทุกๆ 15-20 วัน หากงดเคมีได้ในปีต่อๆ ไปไม่ต้องใช้ เพราะเมื่อดินสะอาดโรคต่างๆ จะไม่มี


2.7 การเก็บเกี่ยว


- เก็บเกี่ยวได้เมื่อข้าวโพดแห้งทั้งแปลงไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อไม่ให้มีความชื้นมากเกินไป


- ไม่ควรเก็บหลังฝนตก


2.8 หลังการเก็บเกี่ยว


- ตากให้แห้ง ก่อนการกระเทาะฝัก


- ตากเมล็ดอีกครั้ง


- นำไปจำหน่าย


ไม่ควรปล่อยแปลงทิ้ง เพราะจะถูกเผาเล่นควรป่นต้นข้าวโพด ใส่โบกาฉิไร่ละ 100 กิโลกรัม พ่นด้วย EM เหมือนการเตรียมแปลง ไถด้วยผาล 3 ต่อด้วยผาล 7

จะปลูกพืชอื่นใดต่อก็ได้หรือไม่ปลูกก็ได้เป็นการรักษาดินให้มีคุณภาพ เมื่อถึงฤดูกาลปลูกก็เริ่มเตรียมแปลงใหม่เหมือนเดิม ผืนดินจะไม่เสื่อม ผลผลิตจะได้เพิ่มทุกปี คุ้มกับการลงทุนลงแรง



3. ข้าวโพดฝักอ่อน


เป็นผักส่งออกที่สำคัญของประเทศในรูปผักสดหรือผักบรรจุกระป๋อง หรือการแช่แข็ง แต่การเพาะปลูก การดูแลต้องมีความรอบรู้ รอบคอบ ละเอียดละออพอควร

การเพาะปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ต้องใช้แรงงานมาก และผลผลิตก็ต้องมาก เกษตรกรจึงควรร่วมกันผลิตเป็นกลุ่ม มีผู้นำเพื่อการดูแล การดำเนินงานทุกขั้นตอนกระทั้งส่งออก



3.1 พันธุ์ที่นิยม สุวรรณ1, สุวรรณ2, สุวรรณ3, รังสิต1,เชียงใหม่ 90


3.2 การปรับปรุงดิน ชอบดินร่วน ไม่ชอบแฉะมีน้ำขัง การปรับปรุงดินหรือเตรียมแปลง ปฎิบัติเหมือนที่กล่าวมาแล้ว คือ


- โบกาฉิ ไร่ละ 100-200 กิโลกรัม ตามสภาพดิน


- EM ไร่ละ 30-40 ลิตร ผสม 1:1:500-1,000


- ไถดะ ไถแปร (ผาล 3 ต่อด้วยผาล 7 )


- หมักไว้ก่อนไม่น้อยกว่า 7 วัน


- ไถแปร ยกร่อง


3.3 ระยะปลูก


- 50x50 หรือ 40x40 เซนติเมตร


- หลุมละ 3 ต้น


3.4 การดูแล


- การให้น้ำต้องดูแลเอาใจใส่มาก ขาดความชื้นไม่ได้เลย แต่อย่าให้แฉะ ข้าวโพดยังเล็ก ก็ให้ทุกๆ 2-3 วัน ต่อ 1 ครั้ง เมื่อสูงประมาณเข่าให้ 5-7 วัน/ครั้ง


- โบกาฉิ พิจารณาใส่บริเวณที่ข้าวโพดไม่สวย เจริญเติบโตช้า หากข้าวโพดสมบูรณ์แล้วไม่ต้องใส่


- EM ควรพ่นสม่ำเสมอ


- EM5 ก็ควรใช้เป็นประจำ


(ดูรายละเอียดที่ผ่านมาในข้าวโพดหวาน)


3.5 การถอดยอด


ข้าวโพดอายุ 38 วัน หรือมีใบจริงครบ 7 คู่ จะมีช่อดอกตัวผู้โผล่ออกมาจากใบธง (ใบยอด) ให้ดึงช่อดอกออกทิ้ง ต้องระวังต้นให้มั่น การทำเช่นนี้เพื่อป้องกันการผสมพันธุ์กับเกสรตัวเมียที่ปลายฝัก


3.6 การเก็บเกี่ยว


- เก็บเกี่ยวฝักอ่อนได้หลังดึงช่อดอกตัวผู้ออกแล้ว 3-5 วัน สังเกตได้จากไหมที่โผล่พ้นฝักประมาณ 1-2 เซนติเมตร


- ต้องเก็บทุกวัน เพื่อไม่ให้ฝักแก่เกินไป


การปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ต้องขยัน ละเอียด มีความรู้ ความเข้าใจในสภาพต่างๆ ที่พอเหมาะพอดี จึงต้องมีหลายคน แต่ก็เป็นที่น่ายินดีกับงานนี้คือ ราคาดี ไม่มีตกค้าง และปฎิบัติได้ตลอดปี

ต้องขยัน อดทน แต่มีรายได้ดี เป็นงานไม่หนัก แต่ไม่ค่อยจะว่าง


3.7 การรักษาคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว


- หลังเก็บ รีบนำเข้าร่ม หรือโรงเรือนที่ระบายอากาศได้ดี


- ขนส่งควรทำโดยเร็ว


- การปอกเปลือก ต้องชำนาญในการกรีดไม่ให้เกิดแผลที่ฝัก


- ทำความสะอาด


- การส่งออกต้องทำตามเทคนิควิธีอย่างถูกต้อง


3.8 การดูแลแปลงหลังการเก็บเกี่ยว


- ต้นข้าวโพดนำไปเป็นอาหารสัตว์ได้


- แต่ถ้าไม่ทิ้งหรือไม่นำออกไปไหนเลย จะตีป่นคลุมดิน ใส่โบกาฉิ และ EM เหมือนที่กล่าวมาแล้ว


- ไถกลบด้วยผาล 3 ต่อด้วยผาล 7 หมักไว้ดีกว่าการตากแปลง จะทำให้ดินไม่เสื่อม การเพาะปลูกรุ่นต่อๆ ไปจะลดปุ๋ยลงได้เมื่อดินสมบูรณ์


หมายเหตุ


1. ต้นข้าวโพดเป็นพืชสด หากไม่ได้ใช้โบกาฉิ + EM จะทำให้ดินเป็นกรด การไถกลบจึงต้องใส่โบกาฉิและ EM จึงจะเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน


2. นำไปเป็นอาหารสัตว์ ควรตัดเป็นท่อนสั้นๆ หมักด้วย EM ก่อน สัตว์จะกินทั้งหมด หากไม่ตัดเป็นท่อนสั้นๆ สัตว์จะกินแต่ใบ
Read more >>

กล้วยเป็นพืชที่ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำอีกทั้งปลูกแล้วดูแล รักษาง่ายให้ผลผลิตเร็ว และเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย รวมทั้งตลาดยังมีความคล่องตัวสูงทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก กล้วยจึงเป็น ไม้ผลที่เกษตรกรควรพิจารณาปลูกเป็นการค้าทั้งในลักษณะพืชหลัก หรือแซมพืชอื่น ๆ เป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

กล้วยเป็นไม้ผลล้มลุกที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพภูมิอากาศแบบ ร้อนชื้น โดยเฉพาะในสภาพที่อากาศคงที่ จะทำให้กล้วยเจริญเติบโตและให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ช่วงอากาศแห้งแล้งที่ยาวนาน หรือช่วงอากาศ หนาวเย็น 2-3 เดือน มีผลต่อการชะงักการเจริญเติบโตของกล้วยได้ และทำให้ผลผลิตกล้วยต่ำลง ดิน ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกกล้วย ควรเป็นดินที่มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 4.5-7 ที่เหมาะสมที่สุดคือ (pH) = 6 เป็นดินร่วนซุยมีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี ความชื้น พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วย ควรมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยระหว่าง 50-100 นิ้ว/ปี จำนวนวันที่ฝนตกควรยาวนาน หากมีฝนตกในช่วงสั้น การปลูกกล้วยจะต้องให้น้ำชบประทานช่วยเพิ่มรักษาความชุ่มชื้น ของดินเพิ่ม ขึ้น แต่ในพื้นที่มีฝนตกชุกควรทำการระบายน้ำให้แก่กล้วย ลม พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วย ไม่ควรเป็นแหล่งที่มีลมแรงตลอดปี นอกจากจะทำให้ใบกล้วยฉีกขาดแล้ว อาจจะมีผลทำให้กล้วยหักกลางต้น (หักคอ) หรือโค่นล้มได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กล้วยออก เครือแล้ว

พันธุ์กล้วยที่ปลูกเป็นการค้า

1. กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทยสามารถทนทาน สภาพดินฟ้าอากาศได้ดีกว่ากล้วยพันธุ์อื่น ๆ การดูแลรักษาง่าย การใช้ประโยชน์จากผล ต้น ใบ ดอก มากกว่ากล้วย ชนิดอื่น ๆ ลำต้นสูงปานกลาง เมื่อสุก มีรสชาดหวาน เนื้อแน่น สีเหลืองอ่อน กล้วยน้ำว้าสามารถจำแนกเป็นพันธุ์ต่าง ๆ ดังนี้
1.1 กล้วยน้ำว้าแดง สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีแดง
1.2 กล้วยน้ำว้าขาว สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีเหลือง
1.3 กล้วยน้ำว้าเหลือง สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีเหลือง
1.4 กล้วยน้ำว้าค่อม เป็นกล้วยที่ลำต้นเตี้ยหรือแคระ

2. กล้วยหอมทอง เป็นกล้วยที่มีลักษณะลำต้นใหญ่ แข็งแรง กาบใบชั้นในมีสีเขียวหรือชมพูอ่อน เครือได้รูปทรงมาตรฐาน มีน้ำหนักมาก ผลยาวเรียว ปลายผลคอดเป็นแบบคอขวด เปลือกหนา ผลสุกผิวมีสีเหลืองทอง เนื้อมีรสชาดหอมหวาน โดยเฉลี่ยเครือหนึ่ง ๆ จะมีประมาณ 6 หวี เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานโรคตายพราย และโรคใบจุด

3. กล้วยหอมเขียว เป็นกล้วยที่มีลักษณะทั่ว ๆ ไป คล้ายกล้วยหอมทอง แต่กล้วยหอมเขียวกาบใบชั้นในมีสีแดงสด ปลายผลมน ผลสุกมีสีเหลืองอมเขียว เปลือกหนา เป็นที่นิยมของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ นอก จากนี้ กล้วยหอมเขียวยังต้านทานโรคตายพรายได้ดี แต่อ่อนแอต่อโรคใบจุด

4. กล้วยหอมค่อม เป็นกล้วยหอมอีกชนิดหนึ่งลำต้นเตี้ย หรือแคระ ผลมีลักษณะคล้ายกล้วยหอมเขียว เนื้อรสชาดดี จึงมีชื่อว่า กล้วยหอมเขียวเตี้ยอีกด้วย

5. กล้วยไข่ เป็นกล้วยที่มีลำต้นสูงบาง สีใบและก้านใบสีเหลืองอ่อน ไม่มีนวล กาบใบมีสีน้ำตาลหรือสีช็อคโกแลต เครือเล็ก ผลมีขนาดเล็ก เปลือกบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองเข้ม เนื้อแน่ สีเหลืองรสหวาน เจริญเติบโตได้ดี ในที่ร่ม ต้านทานโรคตายพราย แต่อ่อนแอต่อโรคใบจุด

6. กล้วยหักมุข เป็นกล้วยที่มีลำต้นขนาดปานกลาง ลำต้นมีสีเขียวนวล ผลโต เป็นเหลี่ยม สีเขียวนวล ปลายผลเรียว ผลเมื่อสุกสีเหลืองนวล เปลือกหนามีรอยแตกลายงาเนื้อฟู สีเหลืองเข้มเหมาะสำหรับนำมาทำกล้วยปิ้ง กล้วยเชื่อม

7. กล้วยเล็บมือนาง เป็นกล้วยที่มีลำต้นค่อนข้างเล็กไม่สูงมากนัก ผลขนาดเล็ก ปลายผลเรียวแหลม ผลสุกมีสีเหลืองเข้ม เนื้อแน่น รสชาดหอมหวาน ใช้สำหรับรับประทานสุก หรือทำเป็นกล้วยตา เป็นพันธุ์ที่ปลูกเป็น การค้าทางภาคใต้ของประเทศไทย จังหวัดที่ปลูกเป็นการค้ามากคือ จังหวัดชุมพร








ฤดูกาลปลูกกล้วย

การปลูกกล้วยให้ได้ผลดี ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ซึ่งดินมีความชุ่มชื้นในช่วงฤดูฝนเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตทางลำต้นและออก ปลี จนสามารถเก็บเกี่ยวกล้วยได้ในช่วงปลายฤดูฝนพอดี แต่อย่างไรก็ตามสำหรับการปลูกกล้วยในเขตชลประทานที่มีน้ำเพียงพอ สามารถดำเนินการได้ตลอดเวลา
กล้วยที่กำหนดเวลาปลูกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค ได้แก่
1. กล้วยไข่ ควรได้ผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงสารทไทย ไหว้พระจันทร์ ชาวสวนส่วนใหญ่จะเริ่มปลูกในราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งจะทำให้สามารถเก็บเกี่ยวกล้วยได้ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม
2. กล้วยหอม การปลูกกล้วยเป็นการค้าสำหรับตลาดภายในประเทศก็เช่นเดียวกันกับกล้วยไข่ เกษตรกรคาดหวังว่าจะเก็บเกี่ยวกล้วยขายในช่วงสารทไทย ไหว้พระจันทร์ และกินเจ ซึ่งจะทำให้ราคากล้วยสูงกว่าช่วงปกติ แต่สำหรับการผลิตกล้วยหอมเพื่อการส่งออกนั้น ส่วนใหญ่จะทำการผลิตในลักษณะรวมกลุ่มใหญ่ เพื่อผลิตกล้วยส่งให้ตลาดผู้ส่งออกอย่างต่อเนื่อง เช่น การผลิตกล้วยหอมทองของสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น ซึ่งการผลิตจะต้องมีการวางแผนการผลิตให้สามารถเก็บเกี่ยวตามที่ตลาดส่งออก ต้องการ

การขยายพันธุ์
ในการผลิตกล้วยเป็นการค้านั้น นิยมทำการขยายพันธุ์กล้วยสำหรับการเพาะปลูก 3 วิธี ดังนี้
1. การขยายพันธุ์จากหน่อ หน่อที่เกิดจากต้นแม่ที่ได้ทำการปลูกกล้วยต้นแรกไปแล้ว ได้แก่ หน่ออ่อน หน่อใบคาบ หน่อแก่ หน่อใบกล้า จะมีวิธีการดังนี้ เตรียมอุปกรณ์ขุด ได้แก่ เสียมหรือชะแลงหน้ากว้างที่คมสำหรับขุดตัดแยกหน่อจากต้นแม่ และขณะเดียวกันก็สามารถใช้งัดหน่อที่ตัดแยกจากต้นแม่แล้วนำหน่อมาตัดรากออก ด้วยมีดโต้ แล้วกลบดินไว้ตามเดิม
2. การขยายพันธุ์ด้วยเหง้า วิธีการนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยของไทยนัก เพราะเป็นขบวนการขยายพันธุ์ที่ค่อนข้างยุ่งยากเสียเวลานานในการเลี้ยงกล้า ที่เกิดใหม่ มีวิธีการดังนี้ ขุดเหง้ากล้วยที่ตัดเครือใบแล้วนำ มาผ่าใบลงตามยาวเป็น 2 หรือมากกว่า 2 แล้วแต่ขนาดและความสมบูรณ์ของเหง้า และนำไปชำในวัสดุเพาะชำ จนได้ต้นกล้าขนาดพร้อมที่จะปลูกได้ จึงทำการย้ายปลูกได้ต่อไป
3. การขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งในการผลิตกล้วยในหลาย ๆ ประเทศ นิยมใช้วิธีนี้มาก เพราะในการผลิตกล้วยเพื่อส่งตลาดในครั้งละมาก ๆ จะต้องมีการวางแผนการผลิตให้ได้ผลผลิตคุณภาพดีส่งตลาด ในเวลาเดียวกันเป็น ช่วง ๆ ไป เหมาะสำหรับการผลิตกล้วยเป็นการค้าแบบแปลงใหญ่ ข้อดีกล้วยที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้คือ กล้วยจะตกเครือในเวลาเดียวกัน แต่เกษตรกรต้องเสียเวลาในการเพาะปลูกยาวนานกว่าวิธีการ แยกหน่อ


การใส่ปุ๋ย
เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่มีอายุสั้น จึงทำให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากกล้วยตั้งตัวได้แล้ว เกษตรกรควรรีบใส่ปุ๋ยให้แก่กล้วย เพื่อการเจริญเติบโตทางลำต้น และการตกเครือที่มีคุณภาพ ชนิดปุ๋ยมีดังนี้

1. ปุ๋ยคอก ใส่ขณะเตรียมหลุมปลูกแล้ว อัตรา 5 กิโลกรัม/ต้น และหลังกล้วยเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนออกปลี อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ต้น
2. ปุ๋ยไนโตรเจน ที่นิยมใช้คือ โซเดียมไนเตรทหรือแอมโมเนียมซัลเฟต ใช้วิธีการหว่านลงดินปริมาณ 60 กรัม/ต้น แล้วให้น้ำทันที (การใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตบ่อย และมากเกินไปจะทำให้ดินเป็นกรด และเป็น อันตรายต่อกล้วย)
3. ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ปุ๋ยนี้ควรให้หลังติดผลแล้ว อัตรา 500 กรัม/ต้น โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง
- ครั้งแรกหลังตัดปลีแล้ว
- ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 1 เดือน

การกำจัดวัชพืช
วัชพืชเป็นพืชที่มาแย่งดูดอาหารในดินไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต มีผลทำให้กล้วยมีความเจริญเติบโตช้าลง บางชนิดอาจทำให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความยากลำบาก ที่อาศัยของโรคและแมลงบางชนิด เกษตรกรควร มีการกำจัดวัชพืชอย่างเหมาะสม และถูกวิธี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. วิธีกล ได้แก่ การถอน ดาย หรือถากด้วยจอบ ควรทำการกำจัดขณะที่วัชพืชมีต้นเล็ก ก่อนที่วัชพืชนั้นจะออกดอก ถ้าเป็นพืชที่มีดอก ต้องเก็บภาชนะที่ใส่เมล็ดวัชพืช ร่วงหล่นไปตามพื้นดิน มิฉะนั้นจะทำให้วัชพืชมี การระบาดและแพร่กระจายมากยิ่งขึ้น ควรเก็บวัชพืชออกมารวมกันแล้วทำการเผาหรือฝัง หากกองทิ้งไว้เฉย ๆ เมล็ดที่แห้งอาจถูกลมพัดพาไปงอกเป็นต้นใหม่ได้ต่อไป
2. วิธีเขตกรรม โดยการปลูกพืชแซม เลือกพืชที่มีระบบรากตื้น และสามารถใช้ลำต้นเป็นปุ๋ยได้อีกด้วย เช่น พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ หรือพืชผักชนิดต่าง ๆ นอกจากจะช่วยลดปริมาณวัชพืชในแปลงปลูกกล้วย ยังทำให้ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
3. ใช้วิธีคลุมดิน หลังจากมีการตัดแต่งกิ่งใบกล้วยแล้ว เกษตรกรก็นิยมใช้ใบกล้วยช่วยคลุมหน้าดินไว้ นอกจากจะช่วยให้ลดปริมาณวัชพืชลงได้แล้ว ยังช่วยป้องกันการชะล้างของหน้าดินอีกด้วย


การตัดแต่งหน่อ
หลังจากปลูกกล้วยไปแล้วประมาณ 5-6 เดือน กล้วยจะเจริญเติบโตมากขึ้น ในช่วงนี้จะมีหน่อกล้วยเจริญขึ้นมาพร้อมกับต้นแม่ จำนวน 4-5 หน่อ หรือมากกว่านั้น หน่อขนาดใหญ่เป็นหน่อตาม อยู่ตรงข้ามต้นแม่ จะ แย่งอาหารจากต้นแม่ ทำให้เครือกล้วยที่ออกมาจากต้นแม่มีขนาดเล็ก เกษตรกรที่มีการดูแลสม่ำเสมอ ควรขุดแยกออกตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กอยู่ หากหน่อดังกล่าวมีขนาดใหญ่มากแล้ว จะไม่สามารถขุดออกได้ ทำลาย โดยใช้น้ำมันก๊าดหยอดลงที่ยอดประมาณ 1/2 ช้อนชา ส่วนหน่ออื่น ๆ เก็บไว้ได้ 1-2 หน่อ หากมีมากกว่านี้ควรขุดออกบ้าง แต่ไม่ควรขุดหน่อในช่วงกล้วยออกเครือ เพราะอาจทำให้กล้วย ผลลีบเล็ก เครือเล็กหรือสั้นลงได้ เกษตรกรควรใช้มีดปาดหน่อ ที่เกิดช่วงตกเครือให้สั้นลงได้ จะช่วยลดการแย่งอาหารจากต้นแม่ได้อีก ทั้งยังสามารถชะลอการเจริญเติบโตของหน่อ และสามารถขุดหน่อมาใช้ปลูกต่อไป หลังจากที่ทำการตัดเครือกล้วยแล้ว

การออกปลี
เมื่อปลูกกล้วยไปประมาณ 6-8 เดือน กล้วยจะมีลำต้นขนาดใหญ่พร้อมที่จะออกปลี โดยกล้วยจะแตกใบยอดสุดท้าย ซึ่งมีขนาดสั้นและเล็กมาก ชูก้านใบขึ้นชี้ท้องฟ้า ซึ่งเรียกว่า "ใบธง" หลังจากนั้นกล้วยจะแทงปลี กล้วยสีแดงออกให้เห็นชัด และกาบปลีจะบานต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งผลกล้วยที่อยู่บนหวีเริ่มสั้นและเล็กลง อีกทั้งขนาดแต่ละผลไม่สม่ำเสมอกัน ซึ่งเรียกว่า "หวีตีนเต่า" ส่วนหวีที่ถัดจากหวีตีนเต่าลงมาก็จะมีขนาดเล็ก มากเท่ากับก้านดอกในกาบปลีที่ กำลังบานอยู่ ถ้าปล่อยให้หัวปลีบานต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะเห็นเพียงก้านดอกกล้วยเล็ก ๆ เรียงกัน คล้ายหวีกล้วยขนาดจิ๋ว การบานของหัวปลีจะทำให้การพัฒนาขนาดของผลกล้วยช้าลง ส่งผล ให้ผลกล้วยมีขนาดเล็ก ๆ ไม่โตเท่าที่ควร


การตัดปลี
หลังจากกล้วยออกปลีมาแล้วระยะหนึ่ง ก็จะเห็นผลกล้วยเล็กจำนวนมาก เป็นหวี ๆ อย่างชัดเจน โดยทุกหวีจะมีผลกล้วยขนาดเท่า ๆ กัน ยกเว้นหวีตีนเต่า และหวีต่อไปก็จะเป็นผลกล้วยขนาดเล็กมาก ๆ ให้ทำการตัด ปลีออกหลังจากปลีบานต่อไปจากหวีตีนเต่าอีก 2 ชั้น เพื่อไว้สำหรับมือจับปลายเครือ ขณะทำการตัดเครือกล้วยในช่วงเก็บเกี่ยว อีกทั้งสะดวกในการหยิบยกและแบกหาม

การห่อผล
หลังจากที่ได้ทำการตัดปลีกล้วยออกไปแล้ว ผลกล้วยก็จะเริ่มพัฒนาและขยายขนาดใหญ่ขึ้น ในการผลิตกล้วยเป็นการค้าที่ต้องการให้ผิวกล้วยสวยงามปราศจากโรคแมลงทำลาย สีผิวนวลขึ้น และน้ำหนักผลเพิ่มมากขึ้น ควรมีการห่อผล

การค้ำกล้วย
ต้นกล้วยหลังจากตกเครือแล้ว จะมีการหักกลางต้น (หักคอ) ได้ง่าย เมื่อกล้วยใกล้จะแก่ ทั้งนี้เพราะน้ำหนักผลมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกล้วยหอมทอง ซึ่งจะมีการหักล้มได้ง่ายมาก เพื่อป้องกันการเสียหายจาก หักล้ม เกษตรกรควรใช้ไม้ค้ำกล้วยหลังตกเครือแล้ว ด้วยไม้รวกที่ผ่านการแช่น้ำมาแล้วประมาณ 1 เดือน โดยดำเนินการดังนี้
1. นำไม้รวกมาเสี้ยมปลายด้านที่จะใช้ปักลงดินทั้ง 2 อัน แล้วผูกเชือกปลายไม้ทั้งสองอันนี้ โดยให้เหลือส่วนปลายไม้ด้านบนอันละ 30 เซนติเมตร เพื่อทำหน้าที่รับน้ำหนักต้นกล้วย จากนั้นให้ถ่างไม้ทั้งสองไขว้กันเป็น ลักษณะคีม แล้วนำไปค้ำต้นกล้วยบริเวณที่ต่ำลงมาจากตำแหน่งเครือกล้วย ประมาณ 30-50 เซนติเมตร

โรคและแมลงศัตรูกล้วยที่สำคัญ

โรคกล้วย
1. โรคตายพราย เกิดจากเชื้อรา มักจะเป็นกับกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป โดยจะเห็นทางสีเหลืองอ่อนตามก้านใบของใบล่างหรือใบแก่ก่อน ต่อมาปลายใบหรือขอบใบจะเริ่มเหลือง และขยายออกไปอย่างรวดเร็วจน เหลืองทั่วใบ ใบอ่อนจะมีอาการเหลืองไหม้หรือตายนึ่งและบิดเป็นคลื่น ใบกล้วยจะหักพับบริเวณโคนก้านใบ ใบยอดจะเหลืองตั้งตรงเขียวอยู่ในระยะแรก ต่อมาก็ตายไปเช่นกัน กล้วยที่ตกเครือแล้วจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่ สม่ำเสมอ หรือแก่ก่อนกำหนด เนื้อฟ่ามจืด บางครั้งพบใบกล้วยหักพับที่โคนใบโดยไม่แสดงอาการใบเหลือง หรือเหลืองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าตัดลำต้นตามขวางจะพบว่าเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสีน้ำตาลแดง และอาจมีเส้นใยของเชื้อราให้เห็นบ้าง
การป้องกันและกำจัด
1. โรคนี้เป็นมากกับกล้วยน้ำว้า และกล้วยหอมทอง ควรปลูกกล้วยไข่หรือกล้วยหักมุกแทน
2. ในพื้นที่ปลูกอย่าให้มีน้ำขังแฉะ เพราะจะทำให้กล้วยเจริญได้ไม่เต็มที่ ทำให้อ่อนแอเป็นโรคง่าย โดยเฉพาะดินที่เป็นกรด จะต้องใช้ปูนขาวปรับสภาพดินให้เป็นกลางเสียก่อน
3. ตัดทำลายต้นที่เป็นโรคด้วยการเผาทิ้ง
4. ใส่ปุ๋ยที่มีแร่ธาตุฟอสเฟตและโปแตสเซี่ยมสูง และไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนมาก
5. คัดเลือกหน่อพันธุ์กล้วยจากแหล่งที่ไม่มีโรคนี้หรืออย่างน้อยจากกอที่ไม่เป็นโรค

2. โรคเหี่ยวของกล้วย เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จะพบอาการเหี่ยวบนใบอ่อน ๆ ของกล้วย และมีอาการหักตรงก้านใบ อาการเหี่ยวจะระบาดอย่างรวดเร็ว หน่อกล้วยที่กำลังจะแตกยอดมีสีดำ ยอดบิดและแคระแกร็นและจะ ตายในที่สุด แสดงอาการคล้ายโรคตายพราย แต่เมื่อตัดดูลักษณะภายในลำต้นจะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลแดง พบบริเวณไส้กลางต้นและจะขยายไปยังกาบ ก้านใบ และไปยังเครือกล้วย ผล หน่อ ตา กล้วยจะเหลืองและตาย ในที่สุด ภายในจะพบเนื้อเยื่อเน่าตายเห็นเป็นช่องว่าง เมื่อตัดกล้วยอ่อนที่เป็นโรคแช่น้ำในน้ำ จะพบเชื้อแบคทีเรียสาเหตุเป็นน้ำขุ่น ๆ ไหลออกมาผลจะเน่าดำ การป้องกันและกำจัด ใช้หน่อกล้วยที่ไม่มีโรคทำพันธุ์ ระวังไม่ให้เกิดผลกับลำต้นกล้วย แช่หน่อกล้วยที่ถูกตัดแต่งในน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนปลูก

3. โรคใบจุดของกล้วย เกิดจากเชื้อหลายชนิด แต่ละชนิดแสดงอาการบนใบแตกต่างกัน ดังนี้
3.1 ลักษณะอาการเป็นขีดสีน้ำตาลแดงสั้น ๆ ขนานไปกับเส้นใบ บางครั้งกระจายไปทั่วทั้งใบและขยายไปทางกว้าง ทำให้เกิดอาการใบจุด และแผลลามติดต่อกันทำให้เกิดอาการใบไหม้ โดยมากเกิดจากริมใบเข้าไป แผลมีสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม พบทุกระยะการเจริญเติบโต โดยมากเป็นกับกล้วยน้ำว้า ทำให้จำนวนหวีน้อยลง ขนาดผลเล็กลง การป้องกันและกำจัด ตัดใบกล้วยที่เป็นโรคนำไปเผาไฟทิ้ง และฉีดพ่นด้วยสารเคมีคอปเปอร์อ๊อกซีคลอไรด์ ผสมสารจับใบฉีดพ่น 2-3 ครั้งต่อเดือน หรือใช้สารเคมีแมนโคเซบ หรือเบนโนมิลผสมไวท์ออยย์ฉีดพ่น
3.2 ลักษณะอาการใบจุดรูปไข่สีน้ำตาล มักเกิดกับกล้วยไข่ บนใบจะเห็นแผลมีลักษณะรูปไข่สีน้ำตาล ตรงกลางแผลสีน้ำตาลอ่อนปนเทาถัดเข้ามามีเส้นวงสีน้ำตาลเข้ม และมีวงสีเหลืองล้อมรอบแผลอีกชั้นหนึ่ง การแผ่ ขยายของแผลจะเป็นไปตามความยาวของเส้นใบ การป้องกันและกำจัด ตัดใบที่เป็นโรคออกจากแปลงแล้วเผาทำลายทิ้ง และฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซบ หรือแคปแทน
3.3 ลักษณะอาการใบจุดกลมรี ทั้งขนาดเล็ก-ใหญ่ แผลมีสีน้ำตาล ขอบแผลสีน้ำตาลเข้มล้อมรอบด้วยบริเวณสีเหลือง ตรงกลางแผลมีส่วนสปอร์ของเชื้อราสีดำเกิดเรียงเป็นวงมักเป็นกับกล้วยน้ำว้า การป้องกันและกำจัด ให้ตัดใบกล้วยที่เหี่ยวแห้งคาต้นไปเผาไฟทิ้ง และฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซบ

4.โรคยอดม้วน เกิดจากเชื้อไวรัส แมลงพาหะได้แก่ แมลงประเภทปากดูดทุกชนิด ได้แก่ เพลี้ยต่าง ๆ เชื้อโรคจะแพร่กระจายติดไป กับหน่อหรือส่วนขยายพันธุ์ต่าง ๆ อาการที่พบคือ ในระยะแรก ๆ จะปรากฎรอยขีดสี เขียว และจุดเล็ก ๆ ตามเส้นใบ และก้านใบ ใบถัด ๆ ไปจะมีขนาดเล็กลง สีเหลือง ใบม้วนที่ปลาย เมื่อโรคนี้ระบาดมากขึ้น ต้นกล้วยจะแคระแกร็น ใบขึ้นรวมกันเป็นกระจุก ดอกและปลีของต้นที่เป็นโรคจะเจริญเติบโต อย่างช้า ๆ เมื่อเกือบจะโผล่จะพองโตขึ้น บางคราวเมื่อโผล่ออกมาที่ยอด ทำให้ยอดปริ เครือเล็ก จนใช้ประโยชน์ไม่ได้ ถ้าต้นกล้วยเป็นโรคทุก ๆ หน่อที่เกิดมาก็จะเป็นโรคด้วย การป้องกันและกำจัด ทำลายส่วนต่าง ๆ ของต้นที่เป็นโรคหรือกอที่สงสัยจะเป็นโรค โดยสังเกตจากอาการดังกล่าวข้างต้น

การเก็บเกี่ยว
ปกติแล้วกล้วยจะแก่โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน หลังจากเริ่มออกดอก การเก็บเกี่ยวจะเก็บเกี่ยวความแก่ 80-100 % ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการของตลาด ลักษณะของผลที่นิยมเก็บเกี่ยวนั้น จะมีลักษณะผลกลมและเห็นเหลี่ยมเล็กน้อย ถึงผลกลมไม่มีเหลี่ยมเลย การตัดเครือกล้วยให้ใช้มือที่ถนัดมากที่สุดจับมีด และมืออีกข้างหนึ่งจับที่ปลายเครือ แล้วใช้มีดยาวซึ่งคมตัดก้านเครือ (งวง) เหนือกล้วยหวีแรก ประมาณ 20 เซนติเมตร ในสวนที่เป็นแบบยกร่องจะล้างน้ำไปเลย ช่วย ให้น้ำยางไม่เปื้อนผลกล้วย แล้วนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม การผึ่งควรตั้งให้ปลายเครืออยู่ด้านบนโดยวางพิงกันไว้


การจัดการผลกล้วยหลังเก็บเกี่ยว
1. ทำการชำแหละหวีกล้วยเป็นหวี ๆ แล้วบรรจุหีบห่อส่งตลาดปลายทาง เพื่อนำไปบ่มขายในตลาดผู้บริโภคต่อไป ช่วงขณะชำแหละหวีกล้วยต้องระวังน้ำยางกล้วยจะเปื้อนผลกล้วยจะดูไม่สวยงาม อาจชำแหละลงในน้ำแล้ว ผึ่งให้แห้ง หรือเป่าด้วยพัดลม
2. การคัดคุณภาพและการคัดขนาด หลังชำแหละกล้วยเป็นหวี ๆ แล้ว ก็อาจจะพบกล้วยบางหวีหรือบางผลมีตำหนิ หรือถูกโรคแมลงทำลายก็ให้คัดแยกออก ขณะเดียวกันให้ทำการคัดขนาดหวี และผลกล้วยไปในคราว เดียวกันเลย ตามขนาดใหญ่ กลาง เล็ก
3. บรรจุหีบห่อลงในกล่อง หรือเข่งที่บุด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือใบตองสดก็ได้ เพื่อป้องกันมิให้กล้วยผิวช้ำหรือดำได้ ขณะบรรจุจะมีการนับจำนวนผลไว้แล้ว กรณีจำหน่ายแบบนับผล แต่ถ้าจำหน่ายเป็นกิโลกรัมก็ทำ การชั่งน้ำหนักแต่กล่องหรือเข่ง แล้วเขียนบอกขนาดและน้ำหนักไว้เลยด้วยป้ายกระดาษแข็ง นอกจากบรรจุภาชนะแล้ว ในบางท้องที่อาจใช้วิธีบรรจุบนกระบะรถยนต์บรรทุก หรือตู้รถไฟแบบห้องเย็น โดยการเรียงหวีกล้วยคว่ำลงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ

การบ่มกล้วย
เป็นวิธีที่ทำให้กล้วยที่ตัดมานั้นสุกและเข้าสีสม่ำเสมอกัน สะดวกในการจัดจำหน่าย ในประเทศไทยนิยมบ่มกันได้แก่ กล้วยไข่ และกล้วยหอมทอง โดยเรียงกล้วยในเข่งที่กรุด้วยกระดาษโดยรอบ หรือใส่กล้วยลงใน โอ่งแล้วใส่ถ่านแก๊ซแคลเซี่ยมคาร์ไบด์ ที่ทุบเป็นก้อนเล็ก ๆ ห่อด้วยกระดาษ จะทำให้กล้วยสุกภายใน 1-3 วัน นอกจากนี้แล้วยังมีการใช้สารละลายเอทธีลีน เช่น อีเธล (Ethel) ความเข้มข้น 500-1000 ppm พ่นที่ผลกล้วยแล้วหุ้มด้วยถุงพลาสติก 1 วัน แล้วเปิดออกผึ่งไว้ให้อากาศถ่ายเท กล้วยจะสุกภายใน 1-3 วัน สิ่งที่ควรคำนึง ในการบ่มนั้น ภาชนะที่ใช้บ่มต้องสะอาด อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 12-17 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90%

การชะลอการสุก
ในการส่งกล้วยไป จำหน่ายในตลาดปลายทางที่ค่อนข้างไกล หรือตลาดต่างประเทศที่ต้องการกล้วยดิบ ในกล้วยหอมทองมีปัญหา เพราะสุกง่าย แม้ไม่ต้องบ่ม การทำให้กล้วยสุกช้า โดยใช้อุณหภูมิต่ำในการขนส่งก็จะ ช่วยชะลอการสุกได้ระยะหนึ่ง ทั้งนี้รวมถึงการใช้สารละลายโปแตสเซี่ยมเปอร์มังกาเนต (ด่างทับทิม) ใส่ลงไปในกล่องก็สามารถชะลอการสุกได้อีกวิธีหนึ่งด้วย
Read more >>

at 8:29 PM Labels: Posted by Nutcharin 0 comments

การเพาะเห็ดเป็นอาชีพที่มีความสำคัญในทางเศรษฐกิจอาชีพหนึ่ง เนื่องจากการเพาะเห็ดสามารถที่จะทำให้ ภายในครอบครัวมีอาหารที่มีคุณค่า โดยเฉพาะโปรตีนไม่แพ้เนื้อสัตว์ และมีความปลอดภัยจากสารเคมี การเพาะเห็ด สามารถเพาะสำหรับการบริโภคในครัเรือน หรือสามารถพัฒนาการเพาะเห็ดให้เป็นอาชีพหลัก มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ได้เป็นอย่างดี ในภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่นี้ การเพาะเห็ดนั้นเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย เปลือก มันสำปะหลัง ทะลายปาล์ม ขี้เลื่อย เปลือกถั่วเขียว หรือแม้กระทั่งวัสดุที่มีในธรรมชาติ ได้แก่ หญ้าชนิดต่างๆ ใช้เป็น วัสดุเพาะให้เหมาะสมกับท้องถิ่น เพื่อให้ต้นทุนต่ำลง อีกทั้งช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ต้องไปตัดไม้ทำลายป่าเพียงหาวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาเพาะ และทำให้คนมีงานทำได้อย่างต่อเนื่อง


ประเภทของการเพาะเห็ด เห็ดที่เกษตรกรเพาะในปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. เห็ดถุง ได้แก่ เห็ดสกุลนางฟ้า นางรม เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดขอนขาว เห็ดลม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดตีนแรด และ เห็ดหลินจือ เป็ นต้น วิธีการผลิตโดยนำขี้เลื่อยหรือวัสดุการเกษตรอื่นๆ มาเป็ นวัสดุเพาะ ผสมอาหารเสริมบรรจุ ถุงพลาสติกนำไปนึ่งฆ่าเชื้อ ใส่เชื้อเห็ดที่ผลิตขายในท้องตลาด เช่น เห็ดสกุลนางฟ้า นางรม เห็ดลมใช้เวลาในการเก็บ ประมาณ 3 เดือน – 1 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดเห็ด
2. เห็ดฟาง เป็นเห็ดยอดนิยม และเปรียบเสมือนเห็ดที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของเกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่ทำนา และนำ ฟางมาเพาะเห็ดหลังเสร็จสิ้นฤดูทำนา ปัจจุบันมีวิธีการเพาะ 2 ลักษณะคือ
   2.1 เพาะเห็ดกลางแจ้ง เป็นเห็ดที่มีปริมาณมากที่สุดของเห็ดในประเทศไทย การเพาะใช้ฟางข้าว เปลือกถั่วเขียว เปลือกมันสำปะหลัง ทะลายปาล์ม หรือวัสดุการเกษตรอื่นๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น การเพาะเห็ดเป็นแบบ กองเตี้ย หรือตะกร้า จะใช้เวลาในการเพาะ 10 – 15 วัน
  2.2 เพาะในโรงเรือนแบบอุตสาหกรรม การเพาะเห็ดฟางด้วยวิธีนี้ ต้องใช้เทคโนโลยีสูงกวาการเพาะ เห็ดกลางแจ้ง มีการลงทุนสูงในระยะแรก แต่ภายในโรงเรือนสามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น จึงทำให้สามารถเพาะ ได้ตลอดปี
วิธีการเพาะเห็ด
เมื่อตัดสินใจเลือกประเภทของเห็ดที่จะเพาะเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ผู้เพาะต้องศึกษาคือหลักวิชาการ ความรู้พื้นฐาน เงินทุน ผลตอบแทน เพื่อประกอบการตัดสินใจ รวมทั้ง หาโอกาสเข้าฝึกอบรม ดูงาน และลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจาก การลงทุนน้อยๆ เมื่อมั่นใจแล้วค่อยขยายกิจการต่อไป
1. การเพาะเห็ดถุง มีการเพาะกันทั่วทุกภาคของประเทศไทย สิ่งที่ต้องเรียนรู้ สำหรับผู้ที่ต้องการทำก้อนเชื้อขี้เลื่อย ไว้จำหน่ายหรือเปิดดอกเอง ขั้นตอนต่างๆ ในการเพาะมีดังนี้
1) การเตรียมวัสดุเพาะเห็ด
  1. ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ไม้เบญจพรรณ ชานอ้อย อาหารเสริม
  2. แม่เชื้อเห็ด ชนิดที่ต้องการ
  3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 63/4 x12 นิ้ว ครึ่ง หรือ 8x12 นิ้ว
  4. คอขวดพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ครึ่ง
  5. สำลี, ยางรัด
  6. ถังนึ่งไม่อัดความดัน
  7. โรงเรือนหรือที่บ่มเส้นใย และโรงเปิดดอก แยกกัน 
2) วิธีการเตรียมวัสดุเพาะ

ส่วนผสม เป็นสูตรพื้นฐาน สามารถปรับตามสภาพของแต่ละท้องถิ่น
ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแห้ง 100 กิโลกรัม
รำละเอียด 5 กิโลกรัม
ยิปซั่ม 2 กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม
ดีเกลือ 200 กรัม
นำส่วนผสมดังกล่าวข้างต้น (สูตรใดก็ได้แล้วแต่หาวัสดุได้) ผสมให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่องผสม แล้วปรับ ความชื้น 60-65 % โดยเติมน้ำพอประมาณ ใช้มือกำวัสดุเพาะบีบให้แน่น ถ้ามีน้ำ ซึมที่ง่ามมือแสดงว่าเปียกเกินไป 
3) วิธีการเพาะ

  1. บรรจุวัสดุเพาะใส่ถุงพลาสติกทนร้อน น้ำหนัก 8-10 ขีด กระแทกกับพื้น และทุบให้แน่นพอประมาณ
2 ใน 3 ของถุง ใส่คอขวดรัดด้วยหนังยาง จุกสำลี
  2. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่ 100 องศา 3 ชั่วโมง และนำมาพักให้เย็นในที่สะอาด
  3. ถ่ายเชื้อจากหัวเชื้อเห็ดที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟางโดยเขย่าเชื้อเห็ดที่เต็มขวด ถุงละ 10-15 เมล็ด       ปิดสำลี(เปิดและปิดจุกสำลีโดยเร็ว โดยปฏิบัติในที่สะอาดไม่มีลมโกรก เชื้อเห็ด 1 ขวดใส่ถุงได้   30-50 ถุง
  4. นำไปบ่มในที่สะอาด มีอากาศถ่ายเทสะดวกในอุณหภูมิห้อง เส้นใยจะเจริญเต็มถุง 25-90 วัน ขึ้นอยู่กับ ชนิดของเห็ด
  5. เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงคัดเฉพาะที่ไม่มีการปนเปื้อนของราและแมลงมาเปิดในโรงเรือนเปิดดอกที่สะอาด แสงสว่างพอสมควร การระบายอากาศดี และสามารถเก็บความชื้นสัมพัทธ์ ในโรงเรือนมากกว่า 70 % ขึ้นไป สามารถ บรรจุก้อนเชื้อได้ไม่ควรเกิน 5,000 ก้อน เพราะหากบริหารจัดการโรงเรือนไม่ดี การแพร่กระจายของเชื้อโรคจะรวดเร็ว และยากต่อการควบคุม
4) วิธีการเปิดดอกเห็ด
  1. เห็ดนางรม นางฟ้ า (ภูฏาน) เป๋ าฮื้อ ยานางิ จะเปิดถุงโดยเอาหนังยางสำลีออก ถอดคอขวดออก แล้ว พับถุงเข้าที่เดิม นำก้อนไปเรียงซ้อนกันจะใช้ชั้นไม้ไผ่ตัว A ชั้นไม้ตัว H หรือชั้นแขวนพลาสติกก็ได้ รดน้ำรักษาความชื้ ในโรงเรือนให้มากกว่า 70 % วันละ 2-6 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศโดยสเปยร์น้ำเป็นฝอย ระวังอย่ารดน้ำเข้าในถุงเพ ถุงจะเน่าและเสียเร็ว เก็บผลผลิตได้เมื่อดอกบานเต็มที่ แต่ขอบหมวกยังไม่บานย้วย
  2. เห็ดหูหนู ดึงสำลี ถอดคอขวด พับถุงพลาสติกทำเป็นจุกรัดหนังยาง แล้วกรีดด้วยมีดเป็นรอยเฉียง  3 แนว ๆ ละ 3 บั้ง นำไปแขวนหรือตั้งกับพื้น รดน้ำรักษาความชื้น 80-90 % ประมาณ 5-7 วัน จะเห็นดอกเล็ก ๆ และอีก 5-10 วัน ดอกบานย้วยเต็มที่ก็จะเก็บดอกได้
  3. เห็ดขอนขาว เห็ดลม เอามีดกรีดตรงบ่าถุงออกทั้งหมด (เห็ดลมพักไว้ 1 เดือนก่อนกรีด) นำไปวาง ซ้อนบนชั้นตัว A หรือแขวน รดน้ำรักษาความชื้น มากกว่า 70 % การดูแลเหมือนกับเห็ดนางฟ้ า นางรม แต่ต้องการแสง และการระบายอากาศมากกว่า หลังจากเปิดดอกก้อนเชื้อจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมากขึ้น การเกิดดอกใกล้เคียงกั เห็ดนางรม
  4. เห็ดหอม หลังจากเส้นใยเดินเต็มถุงทิ้งไว้ 1-2 เดือน เพื่อรอให้เส้นใยรัดตัว เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลกว่า 50 % ของก้อน นำไปกรีดพลาสติกออกให้เหลือเฉพาะส่วนก้นถุงประมาณ 1-2 นิ้ว เมื่อก้อนสัมผัสอากาศจะ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมากขึ้น ถ้าอุณหภูมิ 25 องศา ความชื้นเหมาะสม 70-80 % มีแสงและการระบายอากาศที่ดีก็จะเกิด ดอกประมาณ 7-10 วัน ก็เก็บผลผลิตได้ จากนั้นให้ก้อนพักตัวประมาณ 10-12 วัน สเปรย์รดน้ำแบบฝนเทียม 1 วัน 1 คืน (หรือคลุมด้วยน้ำแข็งก็ได้ ช่วงนี้ก้อนเชื้อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลกว่า 70 % แล้ว) ถ้าอุณหภูมิ, ความชื้นเหมาะสมก็ ให้ผลผลิตรุ่นที่ 1 และ 2 ดอกจะไม่ค่อยสมบูรณ์
2 การเพาะเห็ดฟางกลางแจ้งและโรงเรือนแบบอุตสาหกรรม 
2.1 การเพาะเห็ดฟางกลางแจ้ง ขั้นตอนต่างๆ ในการเพาะมีดังนี้ 
1. วัสดุอุปกรณ์ 
  1) วัสดุเพาะ เช่นฟางข้าว ผักตบชวา ทะลายปาล์ม ขี้เลื่อย เปลือกถั่วเขียว หรือก้อน เห็ดถุงที่เก็บผลผลิตแล้ว
  2) อาหารเสริม ได้แก่ ไส้ฝ้ าย ไส้นุ่น ผักตบชวาตากแห้ง ฝักถั่วเหลือง มูลสัตว์ ผสม ดินร่วนในอัตราส่วน 1 : 1
  3) ไม้แบบ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ด้านบนกว้าง 30 ซม. ด้านล่างกว้าง 35 ซม. ยาว 80-100 ซม. สูง 30 ซม. สำหรับไม้แบบที่ใช้วัสดุเพาะเป็นเปลือกถั่วเขียว และเปลือกมันสำปะหลังขนาดเล็กกว่านี้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการเคลื่อนย้ายออก และนั้นต้องมีแผ่นไม้สำหรับกดให้วัสดุเพาะแน่นแทนการเหยียบย่ำเหมือ การเพาะด้วยฟาง
  4) น้ำ ควรสะอาดปราศจากคลอรีน
  5) พลาสติกใสใช้สำหรับคลุมกองเห็ด
  6) อุปกรณ์รดน้ำ จอบหรือเสียม
  7) ฟางแห้ง หรือหญ้าแห้ง สำหรับคลุมกองเพาะเห็ด
  8) สถานที่สำหรับเพาะ ควรเป็นที่ดอน น้ำไม่ท่วมและต้องไม่เคยเป็นที่เพาะเห็ดฟางมา ก่อน 3-4 เดือน ไม่มีมด ปลวก ไม่มีสารเคมีตกค้างมาจากการใช้สารป้ องกันกำจัดศัตรูพืช
  9) เชื้อเห็ดฟาง การเลือกซื้อเชื้อเห็ดฟางคุณภาพดีและเหมาะสมกับราคา
มีหลักเกณฑ์ การพิจารณาดังนี้
- จับที่ถุงเชื้อเห็ดดูจะต้องมีลักษณะเป็นก้อนแน่นมีเส้นใยของเห็ดเดินเต็มก้อนแล้ว
- ไม่มีเชื้อราชนิดอื่นๆ หรือ พวกแมลง หนอน หรือตัวไร และไม่ควรมีน้ำอยู่ก้นถุงซึ่ง แสดงว่าชื้นเกินไป
- ไม่มีดอกเห็ดอยู่ในถุงเชื้อ เพราะเชื้อเริ่มแก่เกินไป
- เส้นใยไม่ฟูจัดหรือละเอียดเล็กเป็นฝอยจนผิดธรรมดา ลักษณะของเส้นใยควรเป็นสี ขาวนวล เจริญคลุมทั่วทั้งก้อนเชื้อ
- ต้องมีกลิ่นหอมของเห็ดฟางด้วย
- เชื้อเห็ดที่ซื้อต้องไม่ถูกแดด หรือรอการขายไว้นานจนเกินไป เมื่อซื้อแล้วควรเพาะภาย ใน 7 วัน
- อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาใด ๆ ของผู้ขาย ควรสอบถามจากผู้ที่เคยทดลองเพาะมาก่อน ดีกว่า และควรตรวจสอบเชื้อจากหลายยี้ห้อ ยี้ห้อใดให้ผลผลิตสูงก็เลือกใช้ยี่ห้อนั้น
- ราคาของเชื้อเห็ดฟางไม่ควรจะแพงจนเกินไป ควรสืบราคาหลายๆ ยี่ห้อ เพื่อเปรียบ เทียบราคา
2. ขั้นตอนและเทคนิคการเพาะเห็ดฟางกลางแจ้ง 
  1) นำวัสดุเพาะรวมทั้งอาหารเสริมทุกชนิดไปแช่น้ำให้โชกเสียก่อนยกเว้นอาหารเสริม เช่น ไส้ นุ่น
 ไส้ฝ้าย ผักตบชวา แช่น้ำ 1-2 ชั่วโมง ส่วนฟางข้าวควรแช่ประมาณ 1/2-1 วัน
  2) ปรับดินให้เรียบ และขุดหน้าดินเล็กน้อย รดน้ำให้ชุ่ม วางแบบพิมพ์ลงบนดิน ใส่ฟางลงไป ให้หนา 8-12 เซนติเมตร ขึ้นเหยียบสัก 1-2 เที่ยว ใส่อาหารเสริมบริเวณขอบโดยรอบ กว้าง 5-7 เซนติเมตร
  3) โรยเชื้อเห็ด โดยรอบบนอาหารเสริม เชื้อเห็ดที่ใช้ควรขยี้ให้แตกออกจากกันเสียก่อน เป็น อันเสร็จชั้นที่ 1 แล้วทำชั้นต่อไปเช่นเดียวกับการทำชั้นแรก คือ ใส่ฟางข้าวลงในแบบไม้อัดหนา 8-12 เซนติเมตร ขึ้น เหยียบให้แน่น ใส่อาหารเสริม โรยเชื้อ ถ้าเป็นฤดูหนาว หรือฤดูที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียสควรทำ 4-5 ชั้น ฤดู ร้อน ควรทำ 3 ชั้นหรือสูง 28-30 เซนติเมตร
  4) เมื่อทำกองเสร็จแล้วรดน้ำกองให้โชกอีกครั้ง ถอดแบบพิมพ์เพื่อนำไปใช้เพาะกองต่อไป โดยวางแบบพิมพ์ห่างกันประมาณ 1 คืบ แล้วทำกองตามขั้นตอนเดิมทุก ๆ กอง จำนวน 10-20 กอง การโรยเชื้อขั้น สุดท้าย ใช้เชื้อเห็ดฟางผสมกับอาหารเสริมโรยรอบกองและระหว่างกอง จะทำให้ดอกเห็ดเกิดระหว่างกอง เป็นการเพิ่ม ปริมาณดอกเห็ด
  5) คลุมกองด้วยผ้าพลาสติกใสหรือทึบทั้งหมด 2 ผืน โดยให้ขอบด้านหนึ่งทับกับบริเวณหลัง กอง จากนั้นใช้ฟางแห้งคลุมทับพลาสติกอีกที ก่อนคลุมด้วยพลาสติกอาจทำโครงไม้เหนือกองเพื่อไม่ให้พลาสติกติด หลังกองแล้วปิดด้วยฟางหลวม ๆ ก่อนในฤดูร้อนแดดจัด (อุณหภูมิสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส) ควรเปิดผ้าพลาสติกหลัง กองกว้าง ประมาณ 1 ฝ่ามือ เวลากลางวันถึงตอนอาทิตย์ตก ส่วนกลางคืนปิดไว้อย่างเดิม ในวันที่ 4-5 ให้ตรวจดู ความชื้น ถ้าเห็ดว่าข้างหลังกองแห้งให้ใช้บัวรดน้ำ โชยน้ำเบา ๆ ให้ชื้น แล้วปิดไว้อย่างเดิม   6) ประมาณ 7-9 วัน เก็บผลผลิตได้ผลผลิตเฉลี่ย 0.5 – 1 กิโลกรัม/กอง
2.2 การเพาะเห็ดโรงเรือนแบบอุตสาหกรรม 
1. วัสดุเพาะ 
  1) ฟางข้าว 250 กิโลกรัม
  2) กากฝ้าย 250 กิโลกรัม (อาจใช้น้อยกว่านี้แต่ต้องเพิ่มเปลือกถั่วเหลือง)
  3) รำละเอียด 15 กิโลกรัม
  4) แป้งข้าวเหนียว 2 กิโลกรัม (อาจใช้แป้ งข้าวสาลีแทนก็ได้)
  5) ยิปซั่ม 3 กิโลกรัม
  6) ปูนขาวที่ทำจากเปลือกหอย 6 กิโลกรัม
  7) เปลือกถั่วเหลือง (ไม่ใช้ก็ได้) 30-50 กิโลกรัม
  8) ปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0 400 กรัม
2. ขั้นตอนและเทคนิคการเพาะเห็ดฟางกลางแจ้ง 
วันที่ 1 นำกากฝ้ายผสมเปลือกถั่วเหลืองลงเกลี่ยให้ทั่วกระบะ รดน้ำให้เปียกโชก (อุดรูกระบะ) แล้ว รวมกากฝ้ายกองเป็นรูปยอดแหลม ตบกองให้แน่นคลุมด้วยผ้าพลาสติกและกระสอบป่ านอีกชั้นหนึ่ง เปิดรูระบายน้ำ ออกให้แห้ง และทำการหมักต่อซังข้าวกับปูนขาวอีกทีหนึ่ง
วันที่ 2 เปิดผ้าคลุมออก กระจายกองกากฝ้ ายแล้วนำส่วนผสมต่าง ๆ ทั้งหมดคลุกเคล้ากับกากฝ้ าย ให้ทั่ว แล้วรวมกองเป็นรูปฝาชี ใช้ผ้าพลาสติกคลุม หมักทิ้งไว้อีก 1-2 คืน
วันที่ 3 นำฟางที่หมักแล้วขึ้นเรียงบนชั้นในโรงเรือน เปิดผ้าคลุมกองออก กระจายเพื่อให้แก๊สที่เกิด หมดไป แบ่งออกเป็น 12 กอง เท่า ๆ กับจำนวนชั้นเพาะแล้วขนไปเกลี่ยบนฟางที่เรียงไว้ในโรงเรือนกระจายให้ทั่ว ห่าง จากริมฟางด้านละ 1 ฝ่ามือ ใช้มือกดให้แน่นพอประมาณจากนั้นปิดโรงเรือนให้มิดชิด ควบคุมอุณหภูมิ 40-45 องศา เซลเซียส โดยใช้ไอน้ำเพิ่มอุณหภูมิ เพื่อเลี้ยงเชื้อราชนิดหนึ่ง
วันที่ 4 ใส่ไอน้ำให้ได้อุณหภูมิ 60-65 องศา ประมาณ 5-6 ชั่วโมง ฆ่าเชื้อราและเชื้ออื่น ๆ แล้วพัก   โรงเรือนไว้ 1 คืน
วันที่ 5 โรยเชื้อเห็ดฟางให้ทั่วทุกชั้น (ชั้นละ 15-20 ถุง) ควบคุมอุณหภูมิไว้ประมาณ 35-36 องศา เซลเซียส ปิดโรงเรือนให้มิดชิดอย่าให้แสงเข้า ประมาณ 3 วัน เส้นใยเห็ดจะเดินทั่วแปลง
วันที่ 8 เมื่อเส้นใยเห็ดเดินทั่วแปลงแล้ว เปิดวัสดุบังแสงออกให้หมดทุกด้าน
วันที่ 9 เปิดประตู หน้าต่าง เพื่อไล่แก๊สแอมโมเนียและแก๊สอื่น ๆ ออก โดยเปิดโรงเรือนไว้ 3-5 นาทีต่อครั้ง
วันที่ 10 ควบคุมอุณหภูมิประมาณ 30-35 องศาเซลเซียส เมื่อเห็นว่าเกิดดอกเห็ดเล็ก ๆ ขึ้นมากพอจึง ปิดแสงหลังจากนี้อีก 2-3 วันก็สามารถเก็บดอกเห็ดได้ ผลผลิตเฉลี่ย 1.5 กิโลกรัม/ตารางเมตร
3. ลักษณะโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้ 
  1) หลังคาทรงจั่วกว้าง 5.80 เมตร ยาว 6.80 เมตร มีประตูหน้า-หลัง ด้านละ 1 บาน กว้าง 0.75 สูง 1.75 เมตร บนประตูทำหน้าต่างกว้างเท่ากับประตู สูง 30 ซม. ทั้งประตูและหน้าต่างกรุด้วยผ้าพลาสติก แล้วกรุด้วยแฝก ด้านนอกอีกชั้นหนึ่ง
  2) ภายในโรงเรือน กรุด้วยพลาสติกทนร้อนอย่างหนา ทั้งฝาผนังและหลังคามิดชิดทุก ด้านเพื่อให้สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้น
  3) ด้านนอกโรงเรือน ฝาผนังทุกด้านกรุด้วยแฝกจนถึงชายคาไม่ให้แสงเข้า
  4) พื้นโรงเรือน อาจเทคอนกรีตหรือไม่เทก็ได้ ควรใช้เสาคอนกรีตเพอื่ ความคงทนและป้องกัน ปลวก
  5) ทำชั้นสำหรับวัสดุเพาะ 3 ชุด ชุดละ 4 ชั้น กว้าง 80-90 ซม. ยาว 5 เมตร ชั้นแรกสูง จากพื้น 30 ซม. ชั้นต่อไปห่างกันชั้นละ 60 ซม. ตั้งห่างจากฝาผนังโรงเรือนโดยรอบ 80-90 ซม. พื้นของชั้นปูด้วยไม้ไผ่ ห่างกัน 5-10 ซม.
  6) กระบะหมักอาหารเสริม เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือผืนผ้าก็ได้ ยกขอบทั้ง 4 ด้าน สูงประมาณ 30 เซนติเมตร เจาะรูระบายน้ำออกด้านละ 2 รู   7) หม้อต้มผลิตไอน้ำเพื่อฆ่าเชื้อในโรงเรือน ใช้ถังน้ำขนาด 200 ลิตร วางถังนอนบนเตา คู่กัน หันด้านที่เป็นฝาเกลียวเล็ก ๆ ขึ้นด้านบนต่อท่อหัวเกลียวที่มีขนาดเท่าฝาถังออกมาทำที่สำหรับเติมน้ำ แล้วใช้สา ยางต่อจากท่อเหล็กไปยังโรงเรือน เพื่อฆ่าเชื้อต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อการเกิดดอกเห็ด หม้อต้มอาจดัดแปลงทำได้หลาย แบบแล้วแต่ทุนมากหรือน้อย ส่วนเชื้อเพลิงอาจใช้ฟืน แก๊ส น้ำมัน แล้วแต่จะหาได้
4 การปฏิบัติอื่น ๆ 
  1) ก่อนเพาะเห็ดรุ่นต่อไปต้องทำความสะอาดโรงเรือน แล้วอบไอน้ำฆ่าเชื้อประมาณ 2 –3 ชั่วโมง
  2) ถ้าดอกเห็ดมีขน ดอกแตกเป็นตุ่มคล้ายหนังคางคกแสดงว่าภายในโรงเรือนมีแก๊สมาก มีกลิ่นเหม็นฉุน อุณหภูมิสูง แก้ไขโดยการเปิดประตูโรงเรือนออกทุกด้านใช้น้ำฉีดล้างพื้น
  3) ถ้าดอกเห็ดเน่า ชุ่มน้ำมาก มีสาเหตุมาจากแปลงเพาะแฉะมากเกินไป แก้ไขเช่นเดียวกับข้อ 2
  4) เวลาเก็บดอกเห็ดควรเป็นเวลาบ่ายใกล้เย็น เพราะอุณหภูมิภายนอกกับภายในโรงเรือนใกล้เคียงกันทำ ให้ไม่กระทบต่อการเกิดดอกของรุ่นต่อไปและการเก็บดอกเห็ด


Read more >>