กล้วยเป็นพืชที่ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำอีกทั้งปลูกแล้วดูแล รักษาง่ายให้ผลผลิตเร็ว และเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย รวมทั้งตลาดยังมีความคล่องตัวสูงทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก กล้วยจึงเป็น ไม้ผลที่เกษตรกรควรพิจารณาปลูกเป็นการค้าทั้งในลักษณะพืชหลัก หรือแซมพืชอื่น ๆ เป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

กล้วยเป็นไม้ผลล้มลุกที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพภูมิอากาศแบบ ร้อนชื้น โดยเฉพาะในสภาพที่อากาศคงที่ จะทำให้กล้วยเจริญเติบโตและให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ช่วงอากาศแห้งแล้งที่ยาวนาน หรือช่วงอากาศ หนาวเย็น 2-3 เดือน มีผลต่อการชะงักการเจริญเติบโตของกล้วยได้ และทำให้ผลผลิตกล้วยต่ำลง ดิน ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกกล้วย ควรเป็นดินที่มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 4.5-7 ที่เหมาะสมที่สุดคือ (pH) = 6 เป็นดินร่วนซุยมีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี ความชื้น พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วย ควรมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยระหว่าง 50-100 นิ้ว/ปี จำนวนวันที่ฝนตกควรยาวนาน หากมีฝนตกในช่วงสั้น การปลูกกล้วยจะต้องให้น้ำชบประทานช่วยเพิ่มรักษาความชุ่มชื้น ของดินเพิ่ม ขึ้น แต่ในพื้นที่มีฝนตกชุกควรทำการระบายน้ำให้แก่กล้วย ลม พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วย ไม่ควรเป็นแหล่งที่มีลมแรงตลอดปี นอกจากจะทำให้ใบกล้วยฉีกขาดแล้ว อาจจะมีผลทำให้กล้วยหักกลางต้น (หักคอ) หรือโค่นล้มได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กล้วยออก เครือแล้ว

พันธุ์กล้วยที่ปลูกเป็นการค้า

1. กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทยสามารถทนทาน สภาพดินฟ้าอากาศได้ดีกว่ากล้วยพันธุ์อื่น ๆ การดูแลรักษาง่าย การใช้ประโยชน์จากผล ต้น ใบ ดอก มากกว่ากล้วย ชนิดอื่น ๆ ลำต้นสูงปานกลาง เมื่อสุก มีรสชาดหวาน เนื้อแน่น สีเหลืองอ่อน กล้วยน้ำว้าสามารถจำแนกเป็นพันธุ์ต่าง ๆ ดังนี้
1.1 กล้วยน้ำว้าแดง สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีแดง
1.2 กล้วยน้ำว้าขาว สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีเหลือง
1.3 กล้วยน้ำว้าเหลือง สีเนื้อของผลมีไส้กลางสีเหลือง
1.4 กล้วยน้ำว้าค่อม เป็นกล้วยที่ลำต้นเตี้ยหรือแคระ

2. กล้วยหอมทอง เป็นกล้วยที่มีลักษณะลำต้นใหญ่ แข็งแรง กาบใบชั้นในมีสีเขียวหรือชมพูอ่อน เครือได้รูปทรงมาตรฐาน มีน้ำหนักมาก ผลยาวเรียว ปลายผลคอดเป็นแบบคอขวด เปลือกหนา ผลสุกผิวมีสีเหลืองทอง เนื้อมีรสชาดหอมหวาน โดยเฉลี่ยเครือหนึ่ง ๆ จะมีประมาณ 6 หวี เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานโรคตายพราย และโรคใบจุด

3. กล้วยหอมเขียว เป็นกล้วยที่มีลักษณะทั่ว ๆ ไป คล้ายกล้วยหอมทอง แต่กล้วยหอมเขียวกาบใบชั้นในมีสีแดงสด ปลายผลมน ผลสุกมีสีเหลืองอมเขียว เปลือกหนา เป็นที่นิยมของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ นอก จากนี้ กล้วยหอมเขียวยังต้านทานโรคตายพรายได้ดี แต่อ่อนแอต่อโรคใบจุด

4. กล้วยหอมค่อม เป็นกล้วยหอมอีกชนิดหนึ่งลำต้นเตี้ย หรือแคระ ผลมีลักษณะคล้ายกล้วยหอมเขียว เนื้อรสชาดดี จึงมีชื่อว่า กล้วยหอมเขียวเตี้ยอีกด้วย

5. กล้วยไข่ เป็นกล้วยที่มีลำต้นสูงบาง สีใบและก้านใบสีเหลืองอ่อน ไม่มีนวล กาบใบมีสีน้ำตาลหรือสีช็อคโกแลต เครือเล็ก ผลมีขนาดเล็ก เปลือกบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองเข้ม เนื้อแน่ สีเหลืองรสหวาน เจริญเติบโตได้ดี ในที่ร่ม ต้านทานโรคตายพราย แต่อ่อนแอต่อโรคใบจุด

6. กล้วยหักมุข เป็นกล้วยที่มีลำต้นขนาดปานกลาง ลำต้นมีสีเขียวนวล ผลโต เป็นเหลี่ยม สีเขียวนวล ปลายผลเรียว ผลเมื่อสุกสีเหลืองนวล เปลือกหนามีรอยแตกลายงาเนื้อฟู สีเหลืองเข้มเหมาะสำหรับนำมาทำกล้วยปิ้ง กล้วยเชื่อม

7. กล้วยเล็บมือนาง เป็นกล้วยที่มีลำต้นค่อนข้างเล็กไม่สูงมากนัก ผลขนาดเล็ก ปลายผลเรียวแหลม ผลสุกมีสีเหลืองเข้ม เนื้อแน่น รสชาดหอมหวาน ใช้สำหรับรับประทานสุก หรือทำเป็นกล้วยตา เป็นพันธุ์ที่ปลูกเป็น การค้าทางภาคใต้ของประเทศไทย จังหวัดที่ปลูกเป็นการค้ามากคือ จังหวัดชุมพร








ฤดูกาลปลูกกล้วย

การปลูกกล้วยให้ได้ผลดี ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ซึ่งดินมีความชุ่มชื้นในช่วงฤดูฝนเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตทางลำต้นและออก ปลี จนสามารถเก็บเกี่ยวกล้วยได้ในช่วงปลายฤดูฝนพอดี แต่อย่างไรก็ตามสำหรับการปลูกกล้วยในเขตชลประทานที่มีน้ำเพียงพอ สามารถดำเนินการได้ตลอดเวลา
กล้วยที่กำหนดเวลาปลูกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค ได้แก่
1. กล้วยไข่ ควรได้ผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงสารทไทย ไหว้พระจันทร์ ชาวสวนส่วนใหญ่จะเริ่มปลูกในราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งจะทำให้สามารถเก็บเกี่ยวกล้วยได้ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม
2. กล้วยหอม การปลูกกล้วยเป็นการค้าสำหรับตลาดภายในประเทศก็เช่นเดียวกันกับกล้วยไข่ เกษตรกรคาดหวังว่าจะเก็บเกี่ยวกล้วยขายในช่วงสารทไทย ไหว้พระจันทร์ และกินเจ ซึ่งจะทำให้ราคากล้วยสูงกว่าช่วงปกติ แต่สำหรับการผลิตกล้วยหอมเพื่อการส่งออกนั้น ส่วนใหญ่จะทำการผลิตในลักษณะรวมกลุ่มใหญ่ เพื่อผลิตกล้วยส่งให้ตลาดผู้ส่งออกอย่างต่อเนื่อง เช่น การผลิตกล้วยหอมทองของสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น ซึ่งการผลิตจะต้องมีการวางแผนการผลิตให้สามารถเก็บเกี่ยวตามที่ตลาดส่งออก ต้องการ

การขยายพันธุ์
ในการผลิตกล้วยเป็นการค้านั้น นิยมทำการขยายพันธุ์กล้วยสำหรับการเพาะปลูก 3 วิธี ดังนี้
1. การขยายพันธุ์จากหน่อ หน่อที่เกิดจากต้นแม่ที่ได้ทำการปลูกกล้วยต้นแรกไปแล้ว ได้แก่ หน่ออ่อน หน่อใบคาบ หน่อแก่ หน่อใบกล้า จะมีวิธีการดังนี้ เตรียมอุปกรณ์ขุด ได้แก่ เสียมหรือชะแลงหน้ากว้างที่คมสำหรับขุดตัดแยกหน่อจากต้นแม่ และขณะเดียวกันก็สามารถใช้งัดหน่อที่ตัดแยกจากต้นแม่แล้วนำหน่อมาตัดรากออก ด้วยมีดโต้ แล้วกลบดินไว้ตามเดิม
2. การขยายพันธุ์ด้วยเหง้า วิธีการนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยของไทยนัก เพราะเป็นขบวนการขยายพันธุ์ที่ค่อนข้างยุ่งยากเสียเวลานานในการเลี้ยงกล้า ที่เกิดใหม่ มีวิธีการดังนี้ ขุดเหง้ากล้วยที่ตัดเครือใบแล้วนำ มาผ่าใบลงตามยาวเป็น 2 หรือมากกว่า 2 แล้วแต่ขนาดและความสมบูรณ์ของเหง้า และนำไปชำในวัสดุเพาะชำ จนได้ต้นกล้าขนาดพร้อมที่จะปลูกได้ จึงทำการย้ายปลูกได้ต่อไป
3. การขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งในการผลิตกล้วยในหลาย ๆ ประเทศ นิยมใช้วิธีนี้มาก เพราะในการผลิตกล้วยเพื่อส่งตลาดในครั้งละมาก ๆ จะต้องมีการวางแผนการผลิตให้ได้ผลผลิตคุณภาพดีส่งตลาด ในเวลาเดียวกันเป็น ช่วง ๆ ไป เหมาะสำหรับการผลิตกล้วยเป็นการค้าแบบแปลงใหญ่ ข้อดีกล้วยที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้คือ กล้วยจะตกเครือในเวลาเดียวกัน แต่เกษตรกรต้องเสียเวลาในการเพาะปลูกยาวนานกว่าวิธีการ แยกหน่อ


การใส่ปุ๋ย
เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่มีอายุสั้น จึงทำให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากกล้วยตั้งตัวได้แล้ว เกษตรกรควรรีบใส่ปุ๋ยให้แก่กล้วย เพื่อการเจริญเติบโตทางลำต้น และการตกเครือที่มีคุณภาพ ชนิดปุ๋ยมีดังนี้

1. ปุ๋ยคอก ใส่ขณะเตรียมหลุมปลูกแล้ว อัตรา 5 กิโลกรัม/ต้น และหลังกล้วยเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนออกปลี อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ต้น
2. ปุ๋ยไนโตรเจน ที่นิยมใช้คือ โซเดียมไนเตรทหรือแอมโมเนียมซัลเฟต ใช้วิธีการหว่านลงดินปริมาณ 60 กรัม/ต้น แล้วให้น้ำทันที (การใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตบ่อย และมากเกินไปจะทำให้ดินเป็นกรด และเป็น อันตรายต่อกล้วย)
3. ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ปุ๋ยนี้ควรให้หลังติดผลแล้ว อัตรา 500 กรัม/ต้น โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง
- ครั้งแรกหลังตัดปลีแล้ว
- ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 1 เดือน

การกำจัดวัชพืช
วัชพืชเป็นพืชที่มาแย่งดูดอาหารในดินไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต มีผลทำให้กล้วยมีความเจริญเติบโตช้าลง บางชนิดอาจทำให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความยากลำบาก ที่อาศัยของโรคและแมลงบางชนิด เกษตรกรควร มีการกำจัดวัชพืชอย่างเหมาะสม และถูกวิธี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. วิธีกล ได้แก่ การถอน ดาย หรือถากด้วยจอบ ควรทำการกำจัดขณะที่วัชพืชมีต้นเล็ก ก่อนที่วัชพืชนั้นจะออกดอก ถ้าเป็นพืชที่มีดอก ต้องเก็บภาชนะที่ใส่เมล็ดวัชพืช ร่วงหล่นไปตามพื้นดิน มิฉะนั้นจะทำให้วัชพืชมี การระบาดและแพร่กระจายมากยิ่งขึ้น ควรเก็บวัชพืชออกมารวมกันแล้วทำการเผาหรือฝัง หากกองทิ้งไว้เฉย ๆ เมล็ดที่แห้งอาจถูกลมพัดพาไปงอกเป็นต้นใหม่ได้ต่อไป
2. วิธีเขตกรรม โดยการปลูกพืชแซม เลือกพืชที่มีระบบรากตื้น และสามารถใช้ลำต้นเป็นปุ๋ยได้อีกด้วย เช่น พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ หรือพืชผักชนิดต่าง ๆ นอกจากจะช่วยลดปริมาณวัชพืชในแปลงปลูกกล้วย ยังทำให้ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
3. ใช้วิธีคลุมดิน หลังจากมีการตัดแต่งกิ่งใบกล้วยแล้ว เกษตรกรก็นิยมใช้ใบกล้วยช่วยคลุมหน้าดินไว้ นอกจากจะช่วยให้ลดปริมาณวัชพืชลงได้แล้ว ยังช่วยป้องกันการชะล้างของหน้าดินอีกด้วย


การตัดแต่งหน่อ
หลังจากปลูกกล้วยไปแล้วประมาณ 5-6 เดือน กล้วยจะเจริญเติบโตมากขึ้น ในช่วงนี้จะมีหน่อกล้วยเจริญขึ้นมาพร้อมกับต้นแม่ จำนวน 4-5 หน่อ หรือมากกว่านั้น หน่อขนาดใหญ่เป็นหน่อตาม อยู่ตรงข้ามต้นแม่ จะ แย่งอาหารจากต้นแม่ ทำให้เครือกล้วยที่ออกมาจากต้นแม่มีขนาดเล็ก เกษตรกรที่มีการดูแลสม่ำเสมอ ควรขุดแยกออกตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กอยู่ หากหน่อดังกล่าวมีขนาดใหญ่มากแล้ว จะไม่สามารถขุดออกได้ ทำลาย โดยใช้น้ำมันก๊าดหยอดลงที่ยอดประมาณ 1/2 ช้อนชา ส่วนหน่ออื่น ๆ เก็บไว้ได้ 1-2 หน่อ หากมีมากกว่านี้ควรขุดออกบ้าง แต่ไม่ควรขุดหน่อในช่วงกล้วยออกเครือ เพราะอาจทำให้กล้วย ผลลีบเล็ก เครือเล็กหรือสั้นลงได้ เกษตรกรควรใช้มีดปาดหน่อ ที่เกิดช่วงตกเครือให้สั้นลงได้ จะช่วยลดการแย่งอาหารจากต้นแม่ได้อีก ทั้งยังสามารถชะลอการเจริญเติบโตของหน่อ และสามารถขุดหน่อมาใช้ปลูกต่อไป หลังจากที่ทำการตัดเครือกล้วยแล้ว

การออกปลี
เมื่อปลูกกล้วยไปประมาณ 6-8 เดือน กล้วยจะมีลำต้นขนาดใหญ่พร้อมที่จะออกปลี โดยกล้วยจะแตกใบยอดสุดท้าย ซึ่งมีขนาดสั้นและเล็กมาก ชูก้านใบขึ้นชี้ท้องฟ้า ซึ่งเรียกว่า "ใบธง" หลังจากนั้นกล้วยจะแทงปลี กล้วยสีแดงออกให้เห็นชัด และกาบปลีจะบานต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งผลกล้วยที่อยู่บนหวีเริ่มสั้นและเล็กลง อีกทั้งขนาดแต่ละผลไม่สม่ำเสมอกัน ซึ่งเรียกว่า "หวีตีนเต่า" ส่วนหวีที่ถัดจากหวีตีนเต่าลงมาก็จะมีขนาดเล็ก มากเท่ากับก้านดอกในกาบปลีที่ กำลังบานอยู่ ถ้าปล่อยให้หัวปลีบานต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะเห็นเพียงก้านดอกกล้วยเล็ก ๆ เรียงกัน คล้ายหวีกล้วยขนาดจิ๋ว การบานของหัวปลีจะทำให้การพัฒนาขนาดของผลกล้วยช้าลง ส่งผล ให้ผลกล้วยมีขนาดเล็ก ๆ ไม่โตเท่าที่ควร


การตัดปลี
หลังจากกล้วยออกปลีมาแล้วระยะหนึ่ง ก็จะเห็นผลกล้วยเล็กจำนวนมาก เป็นหวี ๆ อย่างชัดเจน โดยทุกหวีจะมีผลกล้วยขนาดเท่า ๆ กัน ยกเว้นหวีตีนเต่า และหวีต่อไปก็จะเป็นผลกล้วยขนาดเล็กมาก ๆ ให้ทำการตัด ปลีออกหลังจากปลีบานต่อไปจากหวีตีนเต่าอีก 2 ชั้น เพื่อไว้สำหรับมือจับปลายเครือ ขณะทำการตัดเครือกล้วยในช่วงเก็บเกี่ยว อีกทั้งสะดวกในการหยิบยกและแบกหาม

การห่อผล
หลังจากที่ได้ทำการตัดปลีกล้วยออกไปแล้ว ผลกล้วยก็จะเริ่มพัฒนาและขยายขนาดใหญ่ขึ้น ในการผลิตกล้วยเป็นการค้าที่ต้องการให้ผิวกล้วยสวยงามปราศจากโรคแมลงทำลาย สีผิวนวลขึ้น และน้ำหนักผลเพิ่มมากขึ้น ควรมีการห่อผล

การค้ำกล้วย
ต้นกล้วยหลังจากตกเครือแล้ว จะมีการหักกลางต้น (หักคอ) ได้ง่าย เมื่อกล้วยใกล้จะแก่ ทั้งนี้เพราะน้ำหนักผลมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกล้วยหอมทอง ซึ่งจะมีการหักล้มได้ง่ายมาก เพื่อป้องกันการเสียหายจาก หักล้ม เกษตรกรควรใช้ไม้ค้ำกล้วยหลังตกเครือแล้ว ด้วยไม้รวกที่ผ่านการแช่น้ำมาแล้วประมาณ 1 เดือน โดยดำเนินการดังนี้
1. นำไม้รวกมาเสี้ยมปลายด้านที่จะใช้ปักลงดินทั้ง 2 อัน แล้วผูกเชือกปลายไม้ทั้งสองอันนี้ โดยให้เหลือส่วนปลายไม้ด้านบนอันละ 30 เซนติเมตร เพื่อทำหน้าที่รับน้ำหนักต้นกล้วย จากนั้นให้ถ่างไม้ทั้งสองไขว้กันเป็น ลักษณะคีม แล้วนำไปค้ำต้นกล้วยบริเวณที่ต่ำลงมาจากตำแหน่งเครือกล้วย ประมาณ 30-50 เซนติเมตร

โรคและแมลงศัตรูกล้วยที่สำคัญ

โรคกล้วย
1. โรคตายพราย เกิดจากเชื้อรา มักจะเป็นกับกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป โดยจะเห็นทางสีเหลืองอ่อนตามก้านใบของใบล่างหรือใบแก่ก่อน ต่อมาปลายใบหรือขอบใบจะเริ่มเหลือง และขยายออกไปอย่างรวดเร็วจน เหลืองทั่วใบ ใบอ่อนจะมีอาการเหลืองไหม้หรือตายนึ่งและบิดเป็นคลื่น ใบกล้วยจะหักพับบริเวณโคนก้านใบ ใบยอดจะเหลืองตั้งตรงเขียวอยู่ในระยะแรก ต่อมาก็ตายไปเช่นกัน กล้วยที่ตกเครือแล้วจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่ สม่ำเสมอ หรือแก่ก่อนกำหนด เนื้อฟ่ามจืด บางครั้งพบใบกล้วยหักพับที่โคนใบโดยไม่แสดงอาการใบเหลือง หรือเหลืองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าตัดลำต้นตามขวางจะพบว่าเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสีน้ำตาลแดง และอาจมีเส้นใยของเชื้อราให้เห็นบ้าง
การป้องกันและกำจัด
1. โรคนี้เป็นมากกับกล้วยน้ำว้า และกล้วยหอมทอง ควรปลูกกล้วยไข่หรือกล้วยหักมุกแทน
2. ในพื้นที่ปลูกอย่าให้มีน้ำขังแฉะ เพราะจะทำให้กล้วยเจริญได้ไม่เต็มที่ ทำให้อ่อนแอเป็นโรคง่าย โดยเฉพาะดินที่เป็นกรด จะต้องใช้ปูนขาวปรับสภาพดินให้เป็นกลางเสียก่อน
3. ตัดทำลายต้นที่เป็นโรคด้วยการเผาทิ้ง
4. ใส่ปุ๋ยที่มีแร่ธาตุฟอสเฟตและโปแตสเซี่ยมสูง และไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนมาก
5. คัดเลือกหน่อพันธุ์กล้วยจากแหล่งที่ไม่มีโรคนี้หรืออย่างน้อยจากกอที่ไม่เป็นโรค

2. โรคเหี่ยวของกล้วย เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จะพบอาการเหี่ยวบนใบอ่อน ๆ ของกล้วย และมีอาการหักตรงก้านใบ อาการเหี่ยวจะระบาดอย่างรวดเร็ว หน่อกล้วยที่กำลังจะแตกยอดมีสีดำ ยอดบิดและแคระแกร็นและจะ ตายในที่สุด แสดงอาการคล้ายโรคตายพราย แต่เมื่อตัดดูลักษณะภายในลำต้นจะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลแดง พบบริเวณไส้กลางต้นและจะขยายไปยังกาบ ก้านใบ และไปยังเครือกล้วย ผล หน่อ ตา กล้วยจะเหลืองและตาย ในที่สุด ภายในจะพบเนื้อเยื่อเน่าตายเห็นเป็นช่องว่าง เมื่อตัดกล้วยอ่อนที่เป็นโรคแช่น้ำในน้ำ จะพบเชื้อแบคทีเรียสาเหตุเป็นน้ำขุ่น ๆ ไหลออกมาผลจะเน่าดำ การป้องกันและกำจัด ใช้หน่อกล้วยที่ไม่มีโรคทำพันธุ์ ระวังไม่ให้เกิดผลกับลำต้นกล้วย แช่หน่อกล้วยที่ถูกตัดแต่งในน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนปลูก

3. โรคใบจุดของกล้วย เกิดจากเชื้อหลายชนิด แต่ละชนิดแสดงอาการบนใบแตกต่างกัน ดังนี้
3.1 ลักษณะอาการเป็นขีดสีน้ำตาลแดงสั้น ๆ ขนานไปกับเส้นใบ บางครั้งกระจายไปทั่วทั้งใบและขยายไปทางกว้าง ทำให้เกิดอาการใบจุด และแผลลามติดต่อกันทำให้เกิดอาการใบไหม้ โดยมากเกิดจากริมใบเข้าไป แผลมีสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม พบทุกระยะการเจริญเติบโต โดยมากเป็นกับกล้วยน้ำว้า ทำให้จำนวนหวีน้อยลง ขนาดผลเล็กลง การป้องกันและกำจัด ตัดใบกล้วยที่เป็นโรคนำไปเผาไฟทิ้ง และฉีดพ่นด้วยสารเคมีคอปเปอร์อ๊อกซีคลอไรด์ ผสมสารจับใบฉีดพ่น 2-3 ครั้งต่อเดือน หรือใช้สารเคมีแมนโคเซบ หรือเบนโนมิลผสมไวท์ออยย์ฉีดพ่น
3.2 ลักษณะอาการใบจุดรูปไข่สีน้ำตาล มักเกิดกับกล้วยไข่ บนใบจะเห็นแผลมีลักษณะรูปไข่สีน้ำตาล ตรงกลางแผลสีน้ำตาลอ่อนปนเทาถัดเข้ามามีเส้นวงสีน้ำตาลเข้ม และมีวงสีเหลืองล้อมรอบแผลอีกชั้นหนึ่ง การแผ่ ขยายของแผลจะเป็นไปตามความยาวของเส้นใบ การป้องกันและกำจัด ตัดใบที่เป็นโรคออกจากแปลงแล้วเผาทำลายทิ้ง และฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซบ หรือแคปแทน
3.3 ลักษณะอาการใบจุดกลมรี ทั้งขนาดเล็ก-ใหญ่ แผลมีสีน้ำตาล ขอบแผลสีน้ำตาลเข้มล้อมรอบด้วยบริเวณสีเหลือง ตรงกลางแผลมีส่วนสปอร์ของเชื้อราสีดำเกิดเรียงเป็นวงมักเป็นกับกล้วยน้ำว้า การป้องกันและกำจัด ให้ตัดใบกล้วยที่เหี่ยวแห้งคาต้นไปเผาไฟทิ้ง และฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซบ

4.โรคยอดม้วน เกิดจากเชื้อไวรัส แมลงพาหะได้แก่ แมลงประเภทปากดูดทุกชนิด ได้แก่ เพลี้ยต่าง ๆ เชื้อโรคจะแพร่กระจายติดไป กับหน่อหรือส่วนขยายพันธุ์ต่าง ๆ อาการที่พบคือ ในระยะแรก ๆ จะปรากฎรอยขีดสี เขียว และจุดเล็ก ๆ ตามเส้นใบ และก้านใบ ใบถัด ๆ ไปจะมีขนาดเล็กลง สีเหลือง ใบม้วนที่ปลาย เมื่อโรคนี้ระบาดมากขึ้น ต้นกล้วยจะแคระแกร็น ใบขึ้นรวมกันเป็นกระจุก ดอกและปลีของต้นที่เป็นโรคจะเจริญเติบโต อย่างช้า ๆ เมื่อเกือบจะโผล่จะพองโตขึ้น บางคราวเมื่อโผล่ออกมาที่ยอด ทำให้ยอดปริ เครือเล็ก จนใช้ประโยชน์ไม่ได้ ถ้าต้นกล้วยเป็นโรคทุก ๆ หน่อที่เกิดมาก็จะเป็นโรคด้วย การป้องกันและกำจัด ทำลายส่วนต่าง ๆ ของต้นที่เป็นโรคหรือกอที่สงสัยจะเป็นโรค โดยสังเกตจากอาการดังกล่าวข้างต้น

การเก็บเกี่ยว
ปกติแล้วกล้วยจะแก่โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน หลังจากเริ่มออกดอก การเก็บเกี่ยวจะเก็บเกี่ยวความแก่ 80-100 % ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการของตลาด ลักษณะของผลที่นิยมเก็บเกี่ยวนั้น จะมีลักษณะผลกลมและเห็นเหลี่ยมเล็กน้อย ถึงผลกลมไม่มีเหลี่ยมเลย การตัดเครือกล้วยให้ใช้มือที่ถนัดมากที่สุดจับมีด และมืออีกข้างหนึ่งจับที่ปลายเครือ แล้วใช้มีดยาวซึ่งคมตัดก้านเครือ (งวง) เหนือกล้วยหวีแรก ประมาณ 20 เซนติเมตร ในสวนที่เป็นแบบยกร่องจะล้างน้ำไปเลย ช่วย ให้น้ำยางไม่เปื้อนผลกล้วย แล้วนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม การผึ่งควรตั้งให้ปลายเครืออยู่ด้านบนโดยวางพิงกันไว้


การจัดการผลกล้วยหลังเก็บเกี่ยว
1. ทำการชำแหละหวีกล้วยเป็นหวี ๆ แล้วบรรจุหีบห่อส่งตลาดปลายทาง เพื่อนำไปบ่มขายในตลาดผู้บริโภคต่อไป ช่วงขณะชำแหละหวีกล้วยต้องระวังน้ำยางกล้วยจะเปื้อนผลกล้วยจะดูไม่สวยงาม อาจชำแหละลงในน้ำแล้ว ผึ่งให้แห้ง หรือเป่าด้วยพัดลม
2. การคัดคุณภาพและการคัดขนาด หลังชำแหละกล้วยเป็นหวี ๆ แล้ว ก็อาจจะพบกล้วยบางหวีหรือบางผลมีตำหนิ หรือถูกโรคแมลงทำลายก็ให้คัดแยกออก ขณะเดียวกันให้ทำการคัดขนาดหวี และผลกล้วยไปในคราว เดียวกันเลย ตามขนาดใหญ่ กลาง เล็ก
3. บรรจุหีบห่อลงในกล่อง หรือเข่งที่บุด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือใบตองสดก็ได้ เพื่อป้องกันมิให้กล้วยผิวช้ำหรือดำได้ ขณะบรรจุจะมีการนับจำนวนผลไว้แล้ว กรณีจำหน่ายแบบนับผล แต่ถ้าจำหน่ายเป็นกิโลกรัมก็ทำ การชั่งน้ำหนักแต่กล่องหรือเข่ง แล้วเขียนบอกขนาดและน้ำหนักไว้เลยด้วยป้ายกระดาษแข็ง นอกจากบรรจุภาชนะแล้ว ในบางท้องที่อาจใช้วิธีบรรจุบนกระบะรถยนต์บรรทุก หรือตู้รถไฟแบบห้องเย็น โดยการเรียงหวีกล้วยคว่ำลงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ

การบ่มกล้วย
เป็นวิธีที่ทำให้กล้วยที่ตัดมานั้นสุกและเข้าสีสม่ำเสมอกัน สะดวกในการจัดจำหน่าย ในประเทศไทยนิยมบ่มกันได้แก่ กล้วยไข่ และกล้วยหอมทอง โดยเรียงกล้วยในเข่งที่กรุด้วยกระดาษโดยรอบ หรือใส่กล้วยลงใน โอ่งแล้วใส่ถ่านแก๊ซแคลเซี่ยมคาร์ไบด์ ที่ทุบเป็นก้อนเล็ก ๆ ห่อด้วยกระดาษ จะทำให้กล้วยสุกภายใน 1-3 วัน นอกจากนี้แล้วยังมีการใช้สารละลายเอทธีลีน เช่น อีเธล (Ethel) ความเข้มข้น 500-1000 ppm พ่นที่ผลกล้วยแล้วหุ้มด้วยถุงพลาสติก 1 วัน แล้วเปิดออกผึ่งไว้ให้อากาศถ่ายเท กล้วยจะสุกภายใน 1-3 วัน สิ่งที่ควรคำนึง ในการบ่มนั้น ภาชนะที่ใช้บ่มต้องสะอาด อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 12-17 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90%

การชะลอการสุก
ในการส่งกล้วยไป จำหน่ายในตลาดปลายทางที่ค่อนข้างไกล หรือตลาดต่างประเทศที่ต้องการกล้วยดิบ ในกล้วยหอมทองมีปัญหา เพราะสุกง่าย แม้ไม่ต้องบ่ม การทำให้กล้วยสุกช้า โดยใช้อุณหภูมิต่ำในการขนส่งก็จะ ช่วยชะลอการสุกได้ระยะหนึ่ง ทั้งนี้รวมถึงการใช้สารละลายโปแตสเซี่ยมเปอร์มังกาเนต (ด่างทับทิม) ใส่ลงไปในกล่องก็สามารถชะลอการสุกได้อีกวิธีหนึ่งด้วย
Read more >>

at 8:29 PM Labels: Posted by Nutcharin 0 comments

การเพาะเห็ดเป็นอาชีพที่มีความสำคัญในทางเศรษฐกิจอาชีพหนึ่ง เนื่องจากการเพาะเห็ดสามารถที่จะทำให้ ภายในครอบครัวมีอาหารที่มีคุณค่า โดยเฉพาะโปรตีนไม่แพ้เนื้อสัตว์ และมีความปลอดภัยจากสารเคมี การเพาะเห็ด สามารถเพาะสำหรับการบริโภคในครัเรือน หรือสามารถพัฒนาการเพาะเห็ดให้เป็นอาชีพหลัก มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ได้เป็นอย่างดี ในภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่นี้ การเพาะเห็ดนั้นเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย เปลือก มันสำปะหลัง ทะลายปาล์ม ขี้เลื่อย เปลือกถั่วเขียว หรือแม้กระทั่งวัสดุที่มีในธรรมชาติ ได้แก่ หญ้าชนิดต่างๆ ใช้เป็น วัสดุเพาะให้เหมาะสมกับท้องถิ่น เพื่อให้ต้นทุนต่ำลง อีกทั้งช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ต้องไปตัดไม้ทำลายป่าเพียงหาวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาเพาะ และทำให้คนมีงานทำได้อย่างต่อเนื่อง


ประเภทของการเพาะเห็ด เห็ดที่เกษตรกรเพาะในปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. เห็ดถุง ได้แก่ เห็ดสกุลนางฟ้า นางรม เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดขอนขาว เห็ดลม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดตีนแรด และ เห็ดหลินจือ เป็ นต้น วิธีการผลิตโดยนำขี้เลื่อยหรือวัสดุการเกษตรอื่นๆ มาเป็ นวัสดุเพาะ ผสมอาหารเสริมบรรจุ ถุงพลาสติกนำไปนึ่งฆ่าเชื้อ ใส่เชื้อเห็ดที่ผลิตขายในท้องตลาด เช่น เห็ดสกุลนางฟ้า นางรม เห็ดลมใช้เวลาในการเก็บ ประมาณ 3 เดือน – 1 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดเห็ด
2. เห็ดฟาง เป็นเห็ดยอดนิยม และเปรียบเสมือนเห็ดที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของเกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่ทำนา และนำ ฟางมาเพาะเห็ดหลังเสร็จสิ้นฤดูทำนา ปัจจุบันมีวิธีการเพาะ 2 ลักษณะคือ
   2.1 เพาะเห็ดกลางแจ้ง เป็นเห็ดที่มีปริมาณมากที่สุดของเห็ดในประเทศไทย การเพาะใช้ฟางข้าว เปลือกถั่วเขียว เปลือกมันสำปะหลัง ทะลายปาล์ม หรือวัสดุการเกษตรอื่นๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น การเพาะเห็ดเป็นแบบ กองเตี้ย หรือตะกร้า จะใช้เวลาในการเพาะ 10 – 15 วัน
  2.2 เพาะในโรงเรือนแบบอุตสาหกรรม การเพาะเห็ดฟางด้วยวิธีนี้ ต้องใช้เทคโนโลยีสูงกวาการเพาะ เห็ดกลางแจ้ง มีการลงทุนสูงในระยะแรก แต่ภายในโรงเรือนสามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น จึงทำให้สามารถเพาะ ได้ตลอดปี
วิธีการเพาะเห็ด
เมื่อตัดสินใจเลือกประเภทของเห็ดที่จะเพาะเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ผู้เพาะต้องศึกษาคือหลักวิชาการ ความรู้พื้นฐาน เงินทุน ผลตอบแทน เพื่อประกอบการตัดสินใจ รวมทั้ง หาโอกาสเข้าฝึกอบรม ดูงาน และลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจาก การลงทุนน้อยๆ เมื่อมั่นใจแล้วค่อยขยายกิจการต่อไป
1. การเพาะเห็ดถุง มีการเพาะกันทั่วทุกภาคของประเทศไทย สิ่งที่ต้องเรียนรู้ สำหรับผู้ที่ต้องการทำก้อนเชื้อขี้เลื่อย ไว้จำหน่ายหรือเปิดดอกเอง ขั้นตอนต่างๆ ในการเพาะมีดังนี้
1) การเตรียมวัสดุเพาะเห็ด
  1. ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ไม้เบญจพรรณ ชานอ้อย อาหารเสริม
  2. แม่เชื้อเห็ด ชนิดที่ต้องการ
  3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 63/4 x12 นิ้ว ครึ่ง หรือ 8x12 นิ้ว
  4. คอขวดพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ครึ่ง
  5. สำลี, ยางรัด
  6. ถังนึ่งไม่อัดความดัน
  7. โรงเรือนหรือที่บ่มเส้นใย และโรงเปิดดอก แยกกัน 
2) วิธีการเตรียมวัสดุเพาะ

ส่วนผสม เป็นสูตรพื้นฐาน สามารถปรับตามสภาพของแต่ละท้องถิ่น
ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแห้ง 100 กิโลกรัม
รำละเอียด 5 กิโลกรัม
ยิปซั่ม 2 กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม
ดีเกลือ 200 กรัม
นำส่วนผสมดังกล่าวข้างต้น (สูตรใดก็ได้แล้วแต่หาวัสดุได้) ผสมให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่องผสม แล้วปรับ ความชื้น 60-65 % โดยเติมน้ำพอประมาณ ใช้มือกำวัสดุเพาะบีบให้แน่น ถ้ามีน้ำ ซึมที่ง่ามมือแสดงว่าเปียกเกินไป 
3) วิธีการเพาะ

  1. บรรจุวัสดุเพาะใส่ถุงพลาสติกทนร้อน น้ำหนัก 8-10 ขีด กระแทกกับพื้น และทุบให้แน่นพอประมาณ
2 ใน 3 ของถุง ใส่คอขวดรัดด้วยหนังยาง จุกสำลี
  2. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่ 100 องศา 3 ชั่วโมง และนำมาพักให้เย็นในที่สะอาด
  3. ถ่ายเชื้อจากหัวเชื้อเห็ดที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟางโดยเขย่าเชื้อเห็ดที่เต็มขวด ถุงละ 10-15 เมล็ด       ปิดสำลี(เปิดและปิดจุกสำลีโดยเร็ว โดยปฏิบัติในที่สะอาดไม่มีลมโกรก เชื้อเห็ด 1 ขวดใส่ถุงได้   30-50 ถุง
  4. นำไปบ่มในที่สะอาด มีอากาศถ่ายเทสะดวกในอุณหภูมิห้อง เส้นใยจะเจริญเต็มถุง 25-90 วัน ขึ้นอยู่กับ ชนิดของเห็ด
  5. เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงคัดเฉพาะที่ไม่มีการปนเปื้อนของราและแมลงมาเปิดในโรงเรือนเปิดดอกที่สะอาด แสงสว่างพอสมควร การระบายอากาศดี และสามารถเก็บความชื้นสัมพัทธ์ ในโรงเรือนมากกว่า 70 % ขึ้นไป สามารถ บรรจุก้อนเชื้อได้ไม่ควรเกิน 5,000 ก้อน เพราะหากบริหารจัดการโรงเรือนไม่ดี การแพร่กระจายของเชื้อโรคจะรวดเร็ว และยากต่อการควบคุม
4) วิธีการเปิดดอกเห็ด
  1. เห็ดนางรม นางฟ้ า (ภูฏาน) เป๋ าฮื้อ ยานางิ จะเปิดถุงโดยเอาหนังยางสำลีออก ถอดคอขวดออก แล้ว พับถุงเข้าที่เดิม นำก้อนไปเรียงซ้อนกันจะใช้ชั้นไม้ไผ่ตัว A ชั้นไม้ตัว H หรือชั้นแขวนพลาสติกก็ได้ รดน้ำรักษาความชื้ ในโรงเรือนให้มากกว่า 70 % วันละ 2-6 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศโดยสเปยร์น้ำเป็นฝอย ระวังอย่ารดน้ำเข้าในถุงเพ ถุงจะเน่าและเสียเร็ว เก็บผลผลิตได้เมื่อดอกบานเต็มที่ แต่ขอบหมวกยังไม่บานย้วย
  2. เห็ดหูหนู ดึงสำลี ถอดคอขวด พับถุงพลาสติกทำเป็นจุกรัดหนังยาง แล้วกรีดด้วยมีดเป็นรอยเฉียง  3 แนว ๆ ละ 3 บั้ง นำไปแขวนหรือตั้งกับพื้น รดน้ำรักษาความชื้น 80-90 % ประมาณ 5-7 วัน จะเห็นดอกเล็ก ๆ และอีก 5-10 วัน ดอกบานย้วยเต็มที่ก็จะเก็บดอกได้
  3. เห็ดขอนขาว เห็ดลม เอามีดกรีดตรงบ่าถุงออกทั้งหมด (เห็ดลมพักไว้ 1 เดือนก่อนกรีด) นำไปวาง ซ้อนบนชั้นตัว A หรือแขวน รดน้ำรักษาความชื้น มากกว่า 70 % การดูแลเหมือนกับเห็ดนางฟ้ า นางรม แต่ต้องการแสง และการระบายอากาศมากกว่า หลังจากเปิดดอกก้อนเชื้อจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมากขึ้น การเกิดดอกใกล้เคียงกั เห็ดนางรม
  4. เห็ดหอม หลังจากเส้นใยเดินเต็มถุงทิ้งไว้ 1-2 เดือน เพื่อรอให้เส้นใยรัดตัว เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลกว่า 50 % ของก้อน นำไปกรีดพลาสติกออกให้เหลือเฉพาะส่วนก้นถุงประมาณ 1-2 นิ้ว เมื่อก้อนสัมผัสอากาศจะ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมากขึ้น ถ้าอุณหภูมิ 25 องศา ความชื้นเหมาะสม 70-80 % มีแสงและการระบายอากาศที่ดีก็จะเกิด ดอกประมาณ 7-10 วัน ก็เก็บผลผลิตได้ จากนั้นให้ก้อนพักตัวประมาณ 10-12 วัน สเปรย์รดน้ำแบบฝนเทียม 1 วัน 1 คืน (หรือคลุมด้วยน้ำแข็งก็ได้ ช่วงนี้ก้อนเชื้อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลกว่า 70 % แล้ว) ถ้าอุณหภูมิ, ความชื้นเหมาะสมก็ ให้ผลผลิตรุ่นที่ 1 และ 2 ดอกจะไม่ค่อยสมบูรณ์
2 การเพาะเห็ดฟางกลางแจ้งและโรงเรือนแบบอุตสาหกรรม 
2.1 การเพาะเห็ดฟางกลางแจ้ง ขั้นตอนต่างๆ ในการเพาะมีดังนี้ 
1. วัสดุอุปกรณ์ 
  1) วัสดุเพาะ เช่นฟางข้าว ผักตบชวา ทะลายปาล์ม ขี้เลื่อย เปลือกถั่วเขียว หรือก้อน เห็ดถุงที่เก็บผลผลิตแล้ว
  2) อาหารเสริม ได้แก่ ไส้ฝ้ าย ไส้นุ่น ผักตบชวาตากแห้ง ฝักถั่วเหลือง มูลสัตว์ ผสม ดินร่วนในอัตราส่วน 1 : 1
  3) ไม้แบบ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ด้านบนกว้าง 30 ซม. ด้านล่างกว้าง 35 ซม. ยาว 80-100 ซม. สูง 30 ซม. สำหรับไม้แบบที่ใช้วัสดุเพาะเป็นเปลือกถั่วเขียว และเปลือกมันสำปะหลังขนาดเล็กกว่านี้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการเคลื่อนย้ายออก และนั้นต้องมีแผ่นไม้สำหรับกดให้วัสดุเพาะแน่นแทนการเหยียบย่ำเหมือ การเพาะด้วยฟาง
  4) น้ำ ควรสะอาดปราศจากคลอรีน
  5) พลาสติกใสใช้สำหรับคลุมกองเห็ด
  6) อุปกรณ์รดน้ำ จอบหรือเสียม
  7) ฟางแห้ง หรือหญ้าแห้ง สำหรับคลุมกองเพาะเห็ด
  8) สถานที่สำหรับเพาะ ควรเป็นที่ดอน น้ำไม่ท่วมและต้องไม่เคยเป็นที่เพาะเห็ดฟางมา ก่อน 3-4 เดือน ไม่มีมด ปลวก ไม่มีสารเคมีตกค้างมาจากการใช้สารป้ องกันกำจัดศัตรูพืช
  9) เชื้อเห็ดฟาง การเลือกซื้อเชื้อเห็ดฟางคุณภาพดีและเหมาะสมกับราคา
มีหลักเกณฑ์ การพิจารณาดังนี้
- จับที่ถุงเชื้อเห็ดดูจะต้องมีลักษณะเป็นก้อนแน่นมีเส้นใยของเห็ดเดินเต็มก้อนแล้ว
- ไม่มีเชื้อราชนิดอื่นๆ หรือ พวกแมลง หนอน หรือตัวไร และไม่ควรมีน้ำอยู่ก้นถุงซึ่ง แสดงว่าชื้นเกินไป
- ไม่มีดอกเห็ดอยู่ในถุงเชื้อ เพราะเชื้อเริ่มแก่เกินไป
- เส้นใยไม่ฟูจัดหรือละเอียดเล็กเป็นฝอยจนผิดธรรมดา ลักษณะของเส้นใยควรเป็นสี ขาวนวล เจริญคลุมทั่วทั้งก้อนเชื้อ
- ต้องมีกลิ่นหอมของเห็ดฟางด้วย
- เชื้อเห็ดที่ซื้อต้องไม่ถูกแดด หรือรอการขายไว้นานจนเกินไป เมื่อซื้อแล้วควรเพาะภาย ใน 7 วัน
- อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาใด ๆ ของผู้ขาย ควรสอบถามจากผู้ที่เคยทดลองเพาะมาก่อน ดีกว่า และควรตรวจสอบเชื้อจากหลายยี้ห้อ ยี้ห้อใดให้ผลผลิตสูงก็เลือกใช้ยี่ห้อนั้น
- ราคาของเชื้อเห็ดฟางไม่ควรจะแพงจนเกินไป ควรสืบราคาหลายๆ ยี่ห้อ เพื่อเปรียบ เทียบราคา
2. ขั้นตอนและเทคนิคการเพาะเห็ดฟางกลางแจ้ง 
  1) นำวัสดุเพาะรวมทั้งอาหารเสริมทุกชนิดไปแช่น้ำให้โชกเสียก่อนยกเว้นอาหารเสริม เช่น ไส้ นุ่น
 ไส้ฝ้าย ผักตบชวา แช่น้ำ 1-2 ชั่วโมง ส่วนฟางข้าวควรแช่ประมาณ 1/2-1 วัน
  2) ปรับดินให้เรียบ และขุดหน้าดินเล็กน้อย รดน้ำให้ชุ่ม วางแบบพิมพ์ลงบนดิน ใส่ฟางลงไป ให้หนา 8-12 เซนติเมตร ขึ้นเหยียบสัก 1-2 เที่ยว ใส่อาหารเสริมบริเวณขอบโดยรอบ กว้าง 5-7 เซนติเมตร
  3) โรยเชื้อเห็ด โดยรอบบนอาหารเสริม เชื้อเห็ดที่ใช้ควรขยี้ให้แตกออกจากกันเสียก่อน เป็น อันเสร็จชั้นที่ 1 แล้วทำชั้นต่อไปเช่นเดียวกับการทำชั้นแรก คือ ใส่ฟางข้าวลงในแบบไม้อัดหนา 8-12 เซนติเมตร ขึ้น เหยียบให้แน่น ใส่อาหารเสริม โรยเชื้อ ถ้าเป็นฤดูหนาว หรือฤดูที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียสควรทำ 4-5 ชั้น ฤดู ร้อน ควรทำ 3 ชั้นหรือสูง 28-30 เซนติเมตร
  4) เมื่อทำกองเสร็จแล้วรดน้ำกองให้โชกอีกครั้ง ถอดแบบพิมพ์เพื่อนำไปใช้เพาะกองต่อไป โดยวางแบบพิมพ์ห่างกันประมาณ 1 คืบ แล้วทำกองตามขั้นตอนเดิมทุก ๆ กอง จำนวน 10-20 กอง การโรยเชื้อขั้น สุดท้าย ใช้เชื้อเห็ดฟางผสมกับอาหารเสริมโรยรอบกองและระหว่างกอง จะทำให้ดอกเห็ดเกิดระหว่างกอง เป็นการเพิ่ม ปริมาณดอกเห็ด
  5) คลุมกองด้วยผ้าพลาสติกใสหรือทึบทั้งหมด 2 ผืน โดยให้ขอบด้านหนึ่งทับกับบริเวณหลัง กอง จากนั้นใช้ฟางแห้งคลุมทับพลาสติกอีกที ก่อนคลุมด้วยพลาสติกอาจทำโครงไม้เหนือกองเพื่อไม่ให้พลาสติกติด หลังกองแล้วปิดด้วยฟางหลวม ๆ ก่อนในฤดูร้อนแดดจัด (อุณหภูมิสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส) ควรเปิดผ้าพลาสติกหลัง กองกว้าง ประมาณ 1 ฝ่ามือ เวลากลางวันถึงตอนอาทิตย์ตก ส่วนกลางคืนปิดไว้อย่างเดิม ในวันที่ 4-5 ให้ตรวจดู ความชื้น ถ้าเห็ดว่าข้างหลังกองแห้งให้ใช้บัวรดน้ำ โชยน้ำเบา ๆ ให้ชื้น แล้วปิดไว้อย่างเดิม   6) ประมาณ 7-9 วัน เก็บผลผลิตได้ผลผลิตเฉลี่ย 0.5 – 1 กิโลกรัม/กอง
2.2 การเพาะเห็ดโรงเรือนแบบอุตสาหกรรม 
1. วัสดุเพาะ 
  1) ฟางข้าว 250 กิโลกรัม
  2) กากฝ้าย 250 กิโลกรัม (อาจใช้น้อยกว่านี้แต่ต้องเพิ่มเปลือกถั่วเหลือง)
  3) รำละเอียด 15 กิโลกรัม
  4) แป้งข้าวเหนียว 2 กิโลกรัม (อาจใช้แป้ งข้าวสาลีแทนก็ได้)
  5) ยิปซั่ม 3 กิโลกรัม
  6) ปูนขาวที่ทำจากเปลือกหอย 6 กิโลกรัม
  7) เปลือกถั่วเหลือง (ไม่ใช้ก็ได้) 30-50 กิโลกรัม
  8) ปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0 400 กรัม
2. ขั้นตอนและเทคนิคการเพาะเห็ดฟางกลางแจ้ง 
วันที่ 1 นำกากฝ้ายผสมเปลือกถั่วเหลืองลงเกลี่ยให้ทั่วกระบะ รดน้ำให้เปียกโชก (อุดรูกระบะ) แล้ว รวมกากฝ้ายกองเป็นรูปยอดแหลม ตบกองให้แน่นคลุมด้วยผ้าพลาสติกและกระสอบป่ านอีกชั้นหนึ่ง เปิดรูระบายน้ำ ออกให้แห้ง และทำการหมักต่อซังข้าวกับปูนขาวอีกทีหนึ่ง
วันที่ 2 เปิดผ้าคลุมออก กระจายกองกากฝ้ ายแล้วนำส่วนผสมต่าง ๆ ทั้งหมดคลุกเคล้ากับกากฝ้ าย ให้ทั่ว แล้วรวมกองเป็นรูปฝาชี ใช้ผ้าพลาสติกคลุม หมักทิ้งไว้อีก 1-2 คืน
วันที่ 3 นำฟางที่หมักแล้วขึ้นเรียงบนชั้นในโรงเรือน เปิดผ้าคลุมกองออก กระจายเพื่อให้แก๊สที่เกิด หมดไป แบ่งออกเป็น 12 กอง เท่า ๆ กับจำนวนชั้นเพาะแล้วขนไปเกลี่ยบนฟางที่เรียงไว้ในโรงเรือนกระจายให้ทั่ว ห่าง จากริมฟางด้านละ 1 ฝ่ามือ ใช้มือกดให้แน่นพอประมาณจากนั้นปิดโรงเรือนให้มิดชิด ควบคุมอุณหภูมิ 40-45 องศา เซลเซียส โดยใช้ไอน้ำเพิ่มอุณหภูมิ เพื่อเลี้ยงเชื้อราชนิดหนึ่ง
วันที่ 4 ใส่ไอน้ำให้ได้อุณหภูมิ 60-65 องศา ประมาณ 5-6 ชั่วโมง ฆ่าเชื้อราและเชื้ออื่น ๆ แล้วพัก   โรงเรือนไว้ 1 คืน
วันที่ 5 โรยเชื้อเห็ดฟางให้ทั่วทุกชั้น (ชั้นละ 15-20 ถุง) ควบคุมอุณหภูมิไว้ประมาณ 35-36 องศา เซลเซียส ปิดโรงเรือนให้มิดชิดอย่าให้แสงเข้า ประมาณ 3 วัน เส้นใยเห็ดจะเดินทั่วแปลง
วันที่ 8 เมื่อเส้นใยเห็ดเดินทั่วแปลงแล้ว เปิดวัสดุบังแสงออกให้หมดทุกด้าน
วันที่ 9 เปิดประตู หน้าต่าง เพื่อไล่แก๊สแอมโมเนียและแก๊สอื่น ๆ ออก โดยเปิดโรงเรือนไว้ 3-5 นาทีต่อครั้ง
วันที่ 10 ควบคุมอุณหภูมิประมาณ 30-35 องศาเซลเซียส เมื่อเห็นว่าเกิดดอกเห็ดเล็ก ๆ ขึ้นมากพอจึง ปิดแสงหลังจากนี้อีก 2-3 วันก็สามารถเก็บดอกเห็ดได้ ผลผลิตเฉลี่ย 1.5 กิโลกรัม/ตารางเมตร
3. ลักษณะโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้ 
  1) หลังคาทรงจั่วกว้าง 5.80 เมตร ยาว 6.80 เมตร มีประตูหน้า-หลัง ด้านละ 1 บาน กว้าง 0.75 สูง 1.75 เมตร บนประตูทำหน้าต่างกว้างเท่ากับประตู สูง 30 ซม. ทั้งประตูและหน้าต่างกรุด้วยผ้าพลาสติก แล้วกรุด้วยแฝก ด้านนอกอีกชั้นหนึ่ง
  2) ภายในโรงเรือน กรุด้วยพลาสติกทนร้อนอย่างหนา ทั้งฝาผนังและหลังคามิดชิดทุก ด้านเพื่อให้สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้น
  3) ด้านนอกโรงเรือน ฝาผนังทุกด้านกรุด้วยแฝกจนถึงชายคาไม่ให้แสงเข้า
  4) พื้นโรงเรือน อาจเทคอนกรีตหรือไม่เทก็ได้ ควรใช้เสาคอนกรีตเพอื่ ความคงทนและป้องกัน ปลวก
  5) ทำชั้นสำหรับวัสดุเพาะ 3 ชุด ชุดละ 4 ชั้น กว้าง 80-90 ซม. ยาว 5 เมตร ชั้นแรกสูง จากพื้น 30 ซม. ชั้นต่อไปห่างกันชั้นละ 60 ซม. ตั้งห่างจากฝาผนังโรงเรือนโดยรอบ 80-90 ซม. พื้นของชั้นปูด้วยไม้ไผ่ ห่างกัน 5-10 ซม.
  6) กระบะหมักอาหารเสริม เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือผืนผ้าก็ได้ ยกขอบทั้ง 4 ด้าน สูงประมาณ 30 เซนติเมตร เจาะรูระบายน้ำออกด้านละ 2 รู   7) หม้อต้มผลิตไอน้ำเพื่อฆ่าเชื้อในโรงเรือน ใช้ถังน้ำขนาด 200 ลิตร วางถังนอนบนเตา คู่กัน หันด้านที่เป็นฝาเกลียวเล็ก ๆ ขึ้นด้านบนต่อท่อหัวเกลียวที่มีขนาดเท่าฝาถังออกมาทำที่สำหรับเติมน้ำ แล้วใช้สา ยางต่อจากท่อเหล็กไปยังโรงเรือน เพื่อฆ่าเชื้อต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อการเกิดดอกเห็ด หม้อต้มอาจดัดแปลงทำได้หลาย แบบแล้วแต่ทุนมากหรือน้อย ส่วนเชื้อเพลิงอาจใช้ฟืน แก๊ส น้ำมัน แล้วแต่จะหาได้
4 การปฏิบัติอื่น ๆ 
  1) ก่อนเพาะเห็ดรุ่นต่อไปต้องทำความสะอาดโรงเรือน แล้วอบไอน้ำฆ่าเชื้อประมาณ 2 –3 ชั่วโมง
  2) ถ้าดอกเห็ดมีขน ดอกแตกเป็นตุ่มคล้ายหนังคางคกแสดงว่าภายในโรงเรือนมีแก๊สมาก มีกลิ่นเหม็นฉุน อุณหภูมิสูง แก้ไขโดยการเปิดประตูโรงเรือนออกทุกด้านใช้น้ำฉีดล้างพื้น
  3) ถ้าดอกเห็ดเน่า ชุ่มน้ำมาก มีสาเหตุมาจากแปลงเพาะแฉะมากเกินไป แก้ไขเช่นเดียวกับข้อ 2
  4) เวลาเก็บดอกเห็ดควรเป็นเวลาบ่ายใกล้เย็น เพราะอุณหภูมิภายนอกกับภายในโรงเรือนใกล้เคียงกันทำ ให้ไม่กระทบต่อการเกิดดอกของรุ่นต่อไปและการเก็บดอกเห็ด


Read more >>

at 5:38 PM Labels: Posted by Nutcharin 0 comments

ระยะกล้าไม้ (1-3 เดือน)
ลำต้น ลำต้นแข็งตั้งตรง ทรงเหลี่ยม ยอดอ่อนสีแดง

ใบ ใบสีเขียว รูปหอก (lanceolate) ปลายใบแหลม ฐานใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเป็นคลื่น เส้น
กลางใบสีเหลือง ก้านใบสีแดงแกมเขียว ใบเรียงตัวแบบสลับ (disjunct early)




ระยะกล้าไม้ (2-5 ปี)
ลำต้น ลำต้นเดี่ยว ทรงกลม ตั้งตรง กิ่งเล็กถี่ ทำมุม 30-45 องศากับลำต้น ลักษณะการลอกของ
เปลือกเป็นแถบสั้น (short ribbon) ขณะลำต้นยังสดอยู่เปลือกติดทั่วลำต้น (persistent on
full trunk)



ใบ ใบสีเขียว รูปใบหอก (lanceolate) ขอบใบเรียบ

ลักษณะอื่น ๆ
ผลผลิต ให้ผลผลิตเฉลี่ย 23.7 ตัน/ไร่ ที่ระยะปลูก 1.5 x 3 เมตร (อายุ 5 ปี)
ขอบเขตพื้นที่ปลูก ปลูกได้กับพื้นที่ทั่วไป เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีดินร่วน ดินทราย หรือดิน
เหนี่ยว อาจเจริญเติบโตไม่ดีในดินลูกรังที่มีชั้นดาน ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ต่ำที่มี
น้ำท่วมขังเป็นเวลานานเกิน 2 สัปดาห์ และพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการกระทบแล้งเป็นเวลานานในช่วงปีแรก
ความต้านทานต่อโรค-แมลง ทนทานต่อแตนฝอยปม (Leptocybe invasa) ค่อนข้างต้านทานต่อโรคใบไหม้ (Cylindrocladium sp.) ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคใบจุดด่างเหลืองจากเชื้อ สาเหตุ Phaeophlospora destructans




Read more >>

at 4:37 PM Labels: Posted by Nutcharin 0 comments

ระยะกล้าไม้อายุ 1 – 2 เดือน
ลำต้น กลม ตั้งตรง ข้อถี่ ยอดอ่อนสีแดงชมพู
ใบ บางสีเขียวอ่อนหนาแน่น รูปไข่ (ovate) ปลายใบเป็นติ่งหนามสั้น (apiculate) ฐานใบมน (obtuse) ขอบใบและแผ่นใบเรียบ ขนาด 5.5 x 8.0 เซนติเมตร ใบเรียงตัวแบบสลับ (alternate)

ระยะไม้ใหญ่อายุ 3 – 5 ปี
ลำต้น ลำต้นกลม อาจพบโคนต้นคดเล็กน้อย ทรงพุ่มกว้างแตกพุ่มรอบลำต้น ครอบคลุมในส่วนที่ 1/3 ของลำต้นนับจากยอด ปริมาณใบและกิ่งหนาแน่นมาก กิ่งขนาดกลาง ทำมุมกับลำต้นน้อยกว่า 70 องศา ไม่มีกิ่งง่ามใหญ่ ลิดกิ่งตามธรรมชาติได้ปานกลาง เปลือกค่อนข้างหนาสีน้ำตาลแดง ลอกเปลือกเป็นแผ่นหลังอายุ 2 ปี
ใบ ใบสีเขียวเข้มผิวใบค่อนข้างเป็นมัน รูปหอก (lanceolate) ปลายใบสอบแหลม ฐานใบแหลมขอบใบและแผ่นใบเรียบ ขนาด 3.5 x 15.0 เซนติเมตร ใบเรียงตัวแบบสลับ (alternate)

ลักษณะอื่นๆ
- ผลผลิตที่ระยะปลูก 2 X 3 เมตร น้ำหนักเฉลี่ย 15 - 20 ตันต่อไร่ ต่อ 5 ปี
- ความต้านทานต่อโรคและแมลง ระยะกล้าไม้ : จากการสังเกตพบแมลงกัดกินใบ หรือ
หนอนห่อใบบ้างเล็กน้อย ระยะไม้ใหญ่ : ในช่วงฤดูฝนช่วงฝนตกชุก หรือมีความชื้น
สูง อาจพบอาการใบจุด หรือใบไหม้ได้บ้าง
- ขอบเขตพื้นที่ปลูก เติบโตได้ดี ในพื้นที่ราบ และพื้นที่ชื้นที่มีฝนตกมาก หรือตกไม่มากแต่ตกบ่อยๆ ระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขัง ลักษณะดินเป็นดินที่อุ้มน้ำดี ดินร่วน มีหน้าดินลึก
Read more >>

at 4:32 PM Labels: Posted by Nutcharin 0 comments

ระยะกล้าไม้อายุ 1 – 2 เดือน
ลำต้น แข็งตั้งตรงและเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย สีน้ำตาลแดง ข้อห่าง ยอดอ่อนสีแดงเข้มถึง แดงอมชมพู มีนวลเล็กน้อย
ใบ สีเขียวเข้ม รูปหอกกว้าง (broad – lanceolate) ปลายใบเป็นติ่งแหลม ฐานใบมนถึง แหลม ขนาด 3.5x8.5 เซนติเมตร ขอบใบสีแดงเป็นคลื่น ใบเรียงตัวแบบตรงกันข้ามตั้งฉาก (opposite decussate)

ระยะไม้ใหญ่ อายุ 3 – 5 ปี
ลำต้น ลำต้นไม่กลม ตั้งตรง มีความเปลาตรงสม่ำเสมอไม่โค้งงอ มีร่องกิ่งชัดเจน ใบหนาแน่น เรือนยอดแหลม ทรงพุ่มแผ่ กว้างครอบคลุมในส่วนที่ 2/3 ของลำต้นนับจากยอด กิ่งมากขนาดปานกลางถึงใหญ่ แตกรอบลำต้น ทำมุมกับลำต้นน้อยกว่า 70 องศา ลิดกิ่งได้ปานกลาง ผิวเปลือกเรียบสีนวลเทา ลอกเปลือกเป็นแผ่น
ใบ ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน รูปหอกกว้าง (broad – lanceolate) ปลายใบแหลม และฐานใบมนถึงแหลม ขอบใบเป็นคลื่น ใบเรียงตัวแบบสลับ (alternate) ขนาด 4.0 x 18.0 เซนติเมตร

ลักษณะอื่น ๆ 
- ผลผลิตที่ระยะปลูก 2 x 3 เมตร น้ำหนักเฉลี่ย 17 ตันต่อไร่ ต่อ 5 ปี
- ความต้านทานต่อโรคและแมลง ระยะกล้าไม้ : จากการสังเกตพบอาการของโรคทางใบเล็กน้อยได้แก่ โรคใบจุดเหลี่ยม โรคใบจุดเหลืองดำ ระยะไม้ใหญ่ : พบอาการของโรคใบจุดเหลืองดำ และใบไหม้วงแหวนเล็กน้อยในช่วงฤดูฝนหรือปลายฤดูฝน
- ขอบเขตพื้นที่ปลูก เติบโตได้ดี ในพื้นที่ราบ และที่ราบต่ำ ที่มีความชื้นในดิน และอากาศปานกลางเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทราย อุ้มน้ำดี หรือดินร่วนปนลูกรัง
Read more >>

at 9:57 PM Labels: Posted by Nutcharin 0 comments








ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักกันก่อนว่า ผักเชียงดา คือ อะไร และสามารถทำอาหารรสเลิสได้

ผักเชียงดา หรือ ชื่ออื่นๆเรียกว่า ผักเซี่ยงดา ,ผักเซ่งดา,ผักฮ้วน,ผักม้วนไก่,ผักเซ็ง,ผักจินดา ( GYMNEMA INODORUM DECNE )อยู่ในวงศ์ ACLEPIADACEAE มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยไม้เถาส่วนต่างๆมีน้ำยางใสออกใบเดี่ยวสลับดอกช่อออกที่ง่ามใบดอกเล็กๆสีเหลืองหรือเหลืองอมส้มหรือเขียวผลรูปหอกพบขึ้นตามป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ


การขยายพันธุ์

ใช้ในการปักชำกิ่ง นิยมปลูกตามริมรั้ว หรือให้ขึ้นเลื้อยไม้อื่น...

การประกอบอาหารนิยมกันตั้งแต่โบราณมาแล้วโดยเอายอดอ่อนดอกอ่อนใบอ่อนแกงกับปลาแห้งแกงกับผักเสี้ยวแกงแคกับผักต่างๆในฤดูแล้งรสชาติจะหอมหวานฤดูฝนจะติดเฝื่อนนิดๆรสชาติโดยทั่วไปขมนิดๆ

สรรพคุณทางสมุนไพร

-มีสรรพคุณเหมือนฟ้าทะลายโจรแก้ไข้แก้แพ้และยังรักษาอาการทางจิต
-ใช้ในการรักษาโรคท้องผูกโดยแกงผักเชียงดารวมกันกับผักตำลังและยอดชะอม
-แก้ไข้แก้หวัดใช้ใบสดตำละเอียดพอกกระหม่อม
-บำรุงตับอ่อนรักษาเบาหวานปัจจุบันมีงานวิจัยระบุว่า"ผักเชียงดา"สามารถช่วยบำรุง"ตับอ่อน"ที่ไม่ผลิตอินซูลินสาเหตุหนึ่งของโรคเบาหวานให้ทำงานได้ดีขึ้น
- ลดน้ำตาลในเลือดของโรคเบาหวาน โดย เอายอดอ่อนหรือใบอ่อนต้มกับน้ำจนเดือด ดื่มขณะอุ่นแทนน้ำ วันละ 2-3แก้วต้มดื่มเรื่อยๆจะช่วยบำรุงตับอ่อนและลดเบาหวานได้ดี

ผักเชียงดาถูกใช้เป็นยารักษาเบาหวานในอินเดียและประเทศในแถบเอเชียมานานกว่า 2000 ปีแล้ว มีสารสำคัญคือ gymnemic acid ในภาษาฮินดู Gurmar แปลตรงตัวว่า ผู้ฆ่าน้ำตาล ประเทศญี่ปุ่น ใช้ยอดอ่อนของผักเชียงดาที่นำเข้าจากประเทศไทยผลิตเป็น ชาชงสมุนไพร (Herbal tea)

บ้านเราที่เชียงรายก็ปลูกไว้ตามริมรั้วเราลองไปเก็บมาทำอาหารกันเถอะ


แกงผักเชียงดา

เครื่องปรุง
ปลาช่อนย่างหรือปลาช่อนแห้ง 1 ตัว
ผักเชียงดา 2 ขีด
มะเขือเทศพื้นเมือง 1ขีด
เครื่องแกง พริกแห้ง 50 กรัม หอมแดง 3 หัว กระเทียม 2 หัว ตะไคร้ 2 ช้อนโต๊ะ กะปิ 1ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

โขลกพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ให้ละเอียด แล้วเติมกะปิ นำปลาช่อนมาแกะแล้วพักไว้ ต้มน้ำให้เดือด และใส่เครื่องแกงที่โขลกเรียบร้อยแล้ว ใส่มะเขือเทศพื้นเมือง ยกตั้งไฟให้เดือดอีกครั้ง ใส่เนื้อปลาช่อนย่างที่แกะไว้ ตั้งไฟให้เดือดอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นใส่ผักเชียงดา ปรุงรสตามชอบใจ กรณีที่ใช้ปลาช่อนแห้งให้ต้มปลาช่อนแห้งให้เนื้ออ่อนนุ่มก่อนจึงใส่เครื่องแกงและมะเขือเทศพื้นเมืองตั้งไฟให้เดือดอีกครั้งหนึ่งจากนั้นใส่ผักเชียงดาปรุงรสตามใจชอบ
ประโยชน์ทางอาหารของแกงผักเชียงดา

ตะไคร้ มีสรรพคุณช่วยขับลมบรรเทาอาการท้องอืดแก้ไขปวดกล้ามเนื้อปัสสาวะขัดและเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิดเช่นแคลเซียมฟอสฟอรัสเหล็กและวิตามินเอ

หอมแดง สรรพคุณช่วยขับลมแก้ปวดท้องแก้หวัดคัดจมูก

กระเทียม ช่วยลดโคเรสเตอรอล กระเทียมมีสารอาหารสำคัญๆ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก วิตามินบี วิตามินซี ไนอาซิน มีฤทธิ์ทางยา เป็นยาฆ่าเชื้อที่ทำให้เกิดอาการอักเสบในช่องปากระยะแรก
Read more >>




การปลูกสับปะรด

สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจำพวกไม้เนื้ออ่อน ที่มีอายุหลายปี สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี ปลูกได้ในดินแทบทุกแห่ง ในประเทศไทย มีช่อดอกที่ส่วนยอดของลำต้น ซึ่งเมื่อเจริญเป็นผลแล้วจะเจริญต่อไป โดยตาที่ลำต้น จะเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อีก สับปะรดแบ่งออกตามลักษณะความเป็นอยู่ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ พวกที่มีระบบราก หาอาหารอยู่ในดิน หรือ เรียกว่าไม้ดิน พวกอาศัยอยู่ตามคาคบไม้หรือลำต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ไม้อากาศต่าง ๆ ที่ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยอยู่ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประดับ และพวกที่เจริญเติบโตบนผาหินหรือโขดหิน ส่วนสับปะรดที่เราใช้บริโภคจัดเป็นไม้ดิน แต่ยังมีลักษณะบางประการของไม้อากาศเอาไว้ คือ สามารถเก็บน้ำไว้ตามซอกใบได้เล็กน้อย มีเซลล์พิเศษสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในใบ ทำให้ทนทานในช่วงแล้งได้ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

สับปะรดต้องการอากาศค่อนข้างร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 23.9-29.4 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนที่ต้องการอยู่ในช่วง 1,000-1,500 มิลลิเมตรต่อปี แต่ต้องตกกระจายสม่ำเสมอ ตลอดปี และมีความชื้นในอากาศสูง สับปะรดขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ที่ระบายน้ำดี แต่ชอบดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินปนลูกรัง ดินทรายชายทะเล และชอบที่ลาดเท เช่น ที่ลาดเชิงเขา สภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินควรเป็นกรดเล็กน้อย คือ ตั้งแต่ 4.5-5.5 แต่ไม่เกิน 6.0 แหล่งปลูก

แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของไทย อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเลได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด และจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ เช่น ภูเก็ต พังงา ชุมพร ซึ่งนิยมปลูกในสวนยาง ปัจจุบันมีการปลูกสับปะรดในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณริมแม่น้ำโขง และอีกหลายจังหวัดในภาคเหนือ การปลูกสับปะรด ในพื้นที่ที่อยู่ไกลทะเลนี้ จะต้องคำนึงถึงความชื้นในอากาศเป็นสำคัญ เพราะจะมีผลต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพของผลสับปะรด ดังนั้น ควรเลือกปลูกในบริเวณที่มีความชื้น ในอากาศสูง เช่น ที่ราบระหว่างภูเขา ที่ลาดเชิงเขา บริเวณใกล้ป่าหรือแหล่งน้ำ พันธุ์ที่ปลูกมากในประเทศไทย

พันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 5 พันธุ์ โดยถือตามลักษณะของต้น ที่ได้ขนาดโตเต็มที่ และแข็งแรงสมบูรณ์ เป็นบรรทัดฐานดังนี้คือ

1. พันธุ์ปัตตาเวีย พันธุ์นี้รู้จักแพร่หลายในนามสับปะรดศรีราชา และชื่ออื่น ๆ เช่น ปราณบุรี, สามร้อยยอด ปลูกกันมากเพื่อโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งปลูกที่สำคัญคือ ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี เพชรบุรี ลำปาง และการปลูกกันทั่ว ๆ ไป เพื่อขายผลสด เพราะมีรสหวานฉ่ำมีน้ำมาก ลักษณะทั่ว ๆ ไป คือ มีใบสีเขียวเข้ม และเป็นร่องตรงกลางผิวใบด้านบนเป็นมันเงา ส่วนใต้ใบ จะมีสีออกเทาเงิน ตรงบริเวณกลางใบ มักมีสีแดงอมน้ำตาล ขอบใบเรียบมีหนามเล็กน้อย บริเวณปลายใบ กลีบดอกสีม่วงอมน้ำเงิน ผลมีขนาดและรูปทรงต่างกันไป มีน้ำหนักผล อยู่ระหว่าง 2-6 กิโลกรัม แต่โดยปกติทั่วไปประมาณ 2.5 กิโลกรัม เปลือกผลเมื่อดิบสีเขียวคล้ำ เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม ทางด้านล่างของผลประมาณครึ่งผล ก้านผลสั้นมีไส้ใหญ่ เนื้อเหลืองอ่อนแต่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มในฤดูร้อน รสชาติดี พันธุ์สิงคโปร์ พันธุ์สิงคโปร์-ปัตตาเวีย

2. พันธุ์อินทรชิต เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ปลูกกันกระจัดกระจายทั่วไป แหล่งปลูก ที่สำคัญ ได้แก่จังหวัดฉะเชิงเทรา ลักษณะทั่ว ๆ ไป คือขอบใบจะมีหนามแหลมร่างโค้งงอสีน้ำตาลอมแดง ใบสีเขียวอ่อนไม่เป็นมัน ขอบใบทั้ง 2 ข้างมีแถบสีแดงอมน้ำตาลตามแนวยาว ใต้ใบจะมีสีเขียวออกขาว และมีวาวออกสีน้ำเงิน กลีบดอกสีม่วงเข้ม ผลมีขนาดเล็กกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย รสหวานอ่อน มีตะเกียงติดอยู่ ที่ก้านผล เปลือกผลเหนียวแน่น ทนทานต่อการขนส่ง เหมาะสำหรับบริโภคสดี

3. พันธุ์ขาว เป็นพันธุ์พื้นเมือง เกษตรนิยมปลูกพันธุ์นี้ร่วมกับพันธุ์อินทรชิต เข้าใจว่าจะกลายพันธุ์ มาจากพันธุ์อินทรชิต แหล่งปลูกที่สำคัญคือ ฉะเชิงเทรา ลักษณะทั่ว ๆ ไป มีใบสีเขียวอมเหลืองหรือเขียวใบไม้ ทรงพุ่มเตี้ยใบแคบและสั้นกว่าพันธุ์อินทรชิต ขอบใบมีหนามโค้งงอเข้าสู่ปลายใบ โคนกลีบดอกสีม่วงอ่อน ปลายกลีบสีม่วงอมชมพู เนื้อผลสีเหลืองทอง รสหวานอ่อน ผลมักมีหลายจุก คุณภาพของเนื้อไม่ค่อยดีนัก ผลมีขนาดปานกลาง น้ำหนักเฉลี่ย 0.85 กิโลกรัม มีลักษณะเป็นทรงกระบอก มีตาลึกทำให้ผลฟ่ามง่าย

4. พันธึภูเก็ตหรือสวี ปลูกกันมากในสวนยางจังหวัดภูเก็ต ชุมพร นครศรีธรรมราช และตราด โดยปลูกระหว่างแถวยาว รุ่นที่ยังมีอายุน้อยเพื่อเก็บผลขายก่อนกรีดยาง มีชื่ออื่น ๆ อีกเช่น พันธุ์ชุมพร พันธุ์สวี พันธุ์ตราดสีทอง ลักษณะทั่ว ๆ ไป ใบสีเขียวอ่อนและมีแถบสีแดงในตอนกลางและปลายในขอบใบมีหนามสีแดงแคบและยาวกว่าพันธุ์อินทรชิตและ พันธุ์ขาวกลีบดอก สีม่วงอ่อน ผลมีขนาดเล็กกว่าทุกพันธุ์ที่กล่าวมาตาลึกเปลือกหนา เนื้อหวานกรอบสีเหลืองเข้ม เยื่อใยน้อย มีกลิ่นหอม เหมาะสำหรับบริโภคสด เป็นที่นิยมมากในภาคใต้

5. พันธุ์นางแลหรือน้ำผึ้ง ปลูกมากในจังหวัดเชียงราย ลักษณะทั่ว ๆ ไป คล้ายคลึงกับพันธุ์ปัตตาเวีย แต่มีรูปร่างของผลทรงกลมกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย ตานูน เปลือกบางกว่า และรสหวานจัดกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย ผลแก่มีเนื้อในสีเหลืองเข้ม มีเยื่อใยน้อยเหมาะสำหรับบริโภคสด เป็นที่นิยมมาก ในภาคเหนือ ผลมีเปลือกบางมาก ขนส่งทางไกลไม่ดีนัก ส่วนขยายพันธุ์และการขยายพันธุ์

ส่วนต่าง ๆ ที่ใช้ในการขยายพันธุ์สับปะรด มีดังนี้

1. หน่อดิน เกิดจากตาที่อยู่ในบริเวณลำต้นใต้ดิน ซึ่งจะเริ่มแทงขึ้นมาพ้นผิวดิน หลังจากเกิดการสร้างดอกแล้ว มีจำนวนน้อย รูปทรงเล็กเรียว ใบยาวกว่าหน่อข้าง

2. หน่อข้าง เกิดจากตาที่พักตัวอยู่บนลำต้นในบริเวณโคนใบ หน่อข้างเหล่านี้จะมีน้ำหนักต่างกันไปตั้งแต่ 0.5-1 กิโลกรัม ให้ผลเมื่อมีอายุ 14-18 เดือน ใช้ขยายพันธุ์ได้ดี

3. ตะเกียง เกิดจากตาบนก้านผลที่อยู่ในบริเวณโคนผล ตะเกียงมีน้ำหนักเฉลี่ยทั่วไปอยู่ระหว่าง 0.3-0.5 กิโลกรัม ให้ผลเมื่อมีอายุ 18-20 เดือน

4. จุก เติบโตขึ้นเหนือผลสับปะรดหลังจากดอกโรยไปแล้ว จุกจะมีน้ำหนักทั่วไปตั้งแต่ 0.075-0.2 กิโลกรัม ให้ผลตามธรรมชาติเมื่ออายุ 22-24 เดือน เมื่อเก็บผลสับปะรดก็จะปลิดจุกออกจากผล และหลังจากเก็บเกี่ยวผลไปแล้วประมาณ 6 สัปดาห์ ก็จะปลิดหน่อออกจากต้น หน่อที่มีขนาดเหมาะแก่การขยายพันธุ์คือ มีความยาวประมาณ 50-75 เซนติเมตรหลังจากเก็บหน่อ, ตะเกียงหรือจุกมาแล้ว ให้นำมาผึ่งแดดโดยคว่ำยอดลงสู่พื้นดิน ให้โคนแผลได้รับแสงแดดจนรอยแผลแห้งรัดตัวเป็นการฆ่าเชื้อโรคด้วย แล้วนำมามัดรวมกันเป็นกองเพื่อรอการปลูก หรือนำไปขายต่อไป ก่อนปลูกต้องลอกกาบใบล่างออก 3-4 ชั้น เพื่อให้รากแทงออกมาได้สะดวกและเร็วขึ้น

การเตรียมดินปลูก

ขุดดินหรือพรวนดินให้ร่วนโปร่ง และมีความลึกประมาณ 25 เซนติเมตร แล้วยกร่องเป็นลูกฟูกสูง 25 เซนติเมตร ให้ร่องระบายน้ำได้ สำหรับฤดูฝนให้พื้นที่นาใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักตาม ที่หาได้เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย วิธีปลูกโดยทั่วไปจะปลูกในหลุมที่ขุดเตรียมเอาไว้ ก่อนหน้านั้นจะให้น้ำก่อน ประมาณ 3 วัน เพื่อหลังจากปลูกแล้วจะทำให้เมล็ดงอกได้รับความชื้นพอดี ก่อนปลูกเอาปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก รองก้นหลุมประมาณ 1 กะลามะพร้าว/หลุม แล้วใส่ปุ๋ยเคมีหลุมละ 7 กรัมหรือฝาน้ำอัดลมใช้สูตร 20-20-0 หรือ 16-20-0 คลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้เข้ากัน เอาดินกลบบางๆ หยอดเมล็ดหลุมละ 4-5 เมล็ด (เมล็ดควรทดสอบความงอกแล้วคลุกยา เอพรอน 35 หรือยากันราก่อนปลูก) เอาดินกลบหนาประมาณ 1-2 ซม. เมื่อเมล็ดงอกแล้ว 2 สัปดาห์ หรือต้นข้าวโพดสูงประมาณ 1 คืบ ถอนต้นที่อ่อนแอออกเหลือต้นที่แข็งแรงไว้ 3 ต้นต่อหลุม การหยอดเมล็ดนั้น อาจจะใช้ เครื่องหยอดเมล็ดซึ่งหยอดเมล็ดได้สะดวก ประหยัดเวลา และสามารถควบคุมอัตราการ ใช้เมล็ดพันธุ์ได้สม่ำเสมอกว่าการใช้คนปลูก

การเตรียมหน่อพันธุ์ก่อนปลูก

- การคัดขนาดหน่อหรือจุกก่อนปลูก ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกสับปะรดควรจะมีการคัดขนาดแบ่งเป็นกลุ่มอย่างชัดเจน และมีขนาดเท่า ๆ กัน และปลูกเป็นแปลง ๆ หรือชุด ๆ ไป จะทำให้การเติบโตของต้นสม่ำเสมอกันทั้งแปลง ใส่ปุ๋ยแต่ละต้นได้พร้อมกัน และใส่ปริมาณต่อต้นเท่า ๆ กัน บังคับผลได้พร้อมกันทั้งแปลง ง่ายต่อการบำรุงรักษา สับปะรดแก่พร้อมกันง่าย ต่อการประเมินผลผลิตและเก็บเกี่ยว หน่อ

- การชุบหน่อหรือจุกด้วยสารเคมีก่อนปลูก เป็นการลดอัตราการสูญเสียของต้น อันเนื่องมาจากโรคยอดเน่าหรือต้นเน่า ทั้งเป็นการประหยัดแรงงาน และเวลาในการปลูกหน่อซ่อมแซมใหม่อีกด้วย การชุบหน่ออาจทำได้โดยเครื่องจักรอัตโนมัติ แต่เกษตรกรโดยทั่ว ๆ ไปอาจใช้ถัง 200 ลิตร แล้วผ่าครึ่งถัง หรือสร้างบ่อซิเมนต์ขนาดย่อม ๆ ใช้เป็นที่ชุบหน่อก็จะสะดวกยิ่งขึ้น สำหรับสารเคมีกันเชื้อรา และอัตราที่ใช้ โดยเลือกใช้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง มีดังนี้

1. แคปตาโฟล เช่น ไดโฟลาแทน 80% อัตรา 60-120 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 86 กรัมต่อน้ำ 8.6 ลิตร ชุบได้ 1,000 หน่อ

2. ฟอสเอธิล อลูมินั่ม เช่น อาลีเอท อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

3. เมตาแลกซิล เช่น ริโดมิล อัตรา 30-45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

ถ้าพบเพลี้ยแป้งมากับหน่อพันธุ์ควรผสมสารฆ่าแมลง มาลาไธออน อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ลงไปในสารชุบหน่อพันธุ์ด้วยโดยจุ่มหน่อพันธุ์ให้ชุ่มก่อนปลูก จุ่มนานประมาณ 3 นาที และถ้าปลูกไปแล้ว หากมีฝนตกชุก ควรใช้สารเคมีดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งฉีดซ้ำอีกทั่วทั้งแปลง ในกรณีปลูกซ่อมหรือปลูกปริมาณน้อย การชุบหน่อพันธุ์อาจจะสิ้นเปลือง ใช้วิธีหยอดยอดก็ได้ โดยใช้อาลีเอท 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้หยอดยอดละ 50 ซีซี หรือเต็มยอด ให้ทำทันทีหลังจากปลูกสำเร็จ สามารถป้องกันโรคได้นานประมาณ 4 เดือน

ฤดูปลูกและวิธีปลูก

ในประเทศไทยสามารถปลูกสับปะรดได้เกือบตลอดปี ยกเว้นช่วงฝนตกหนักติดต่อหลายวัน เพราะจะเกิดโรคเน่า ควรเตรียมดินให้เสร็จในเดือนธันวาคม และปลูกในเดือนมกราคม-เมษายน ซึ่งมีแสงแดดจ้าและไม่มีฝนชุก แต่ดินยังมีความชุ่มชื้นเพียงพอ แก่การเจริญเติบโตในระยะแรกอยู่ การปลูกในฤดูฝนควรฝังหน่อให้เอียง 45 องศา เพื่อป้องกันน้ำขังในยอด ถ้าปลูกในฤดูแล้งฝังหน่อให้ตั้งตรง หากมีเครื่องมือช่วยปลูก ซึ่งเป็นเหล็กคล้ายมีดปลายแหลม ช่วยเปิดหลุม จะทำให้สะดวกและรวดเร็วกว่าใช้จอบ เฉลี่ยแล้วผู้ปลูก 1 คน สามารถปลูกได้วันละ 5,000-7,000 หน่อ การปลูกส่วนใหญ ่มักปลูกเป็นแถวคู่ฝังหน่อให้ลึก 15-20 เซนติเมตร ใช้ระยะปลูกแตกต่างกันไป ตามวัตถุประสงค์

การควบคุมและกำจัดวัชพืช

ในปัจจุบันนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมากกว่าใช้แรงคน เพราะประหยัดและรวดเร็วกว่า หากทำการควบคุมวัชพืชได้ดี สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าเดิม ถึง 1 ใน 4 เท่าตัว การใช้แรงงานคนกำจัดวัชพืช โดยถากด้วยจอบ ต้องทำไม่ต่ำกว่า 8 ครั้งต่อ 1 ฤดูปลูก การใช้จอบจะรบกวนระบบรากของสับปะรด ทำให้การเจริญเติบโตของต้น และคุณภาพของผลผลิตต่ำกว่า ใช้สารเคมี ในปัจจุบันนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมากกว่าใช้แรงคน เพราะประหยัดและรวดเร็วกว่า หากทำการควบคุมวัชพืชได้ดี สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าเดิมถึง 1 ใน 4 เท่าตัว การใช้แรงงานคนกำจัดวัชพืชโดยถากด้วยจอบ ต้องทำไม่ต่ำกว่า 8 ครั้งต่อ 1 ฤดูปลูก การใช้จอบจะรบกวนระบบรากของสับปะรด ทำให้การเจริญเติบโตของต้น และคุณภาพของผลผลิตต่ำกว่า ใช้สารเคมี สารเคมีกำจัดวัชพืชที่นิยมใช้ในแปลงสับปะรด ได้แก่ ไดยูรอน เช่น คาร์แมกซ์ ซึ่งเป็นสารเคมีคุมวัชพืชใบกว้างได้ผลดี ใช้ฉีดพ่นก่อนวัชพืช จะงอก และโบรมาซิล เช่น โบรมิกซ์ ซึ่งเป็นสารเคมีฆ่าวัชพืชใบแคบได้ผลดี ใช้ฉีดพ่นในแปลงสับปะรด เมื่อมีวัชพืชงอกขึ้นมาแล้วหรือจะใช้ทั้ง 2 ชนิดผสมกันโดยใช้โบรมาซิล 363 กรัม และไดยูรอน 363 กรัม ผสมน้ำฉีดพ่นในเนื้อที่ 1 ไร่ ฉีดทันทีหลังจากปลูกสับปะรดแล้ว สามารถควบคุมวัชพืช ทั้งชนิดใบแคบและใบกว้างอื่น ๆ ได้นานถึง 4 เดือน ในแปลงสับปะรดที่ปลูกแซมในสวนยางพารา หรือสวนไม้ผลอื่น ๆ ไม่แนะนำให้ใช้โบรมาซิล เพราะถ้าใช้ซ้ำซาก จะเกิดการสะสมในดินโดยสารเคมีจะจับตัวกับเม็ดดิน เมื่อน้ำพัดพาไปจะเกิดอันตรายกับพืชอื่น ๆ ได้ ให้ใช้อะทราซิน เช่น เกสาพริม หรืออะมีทริน เช่น เกสาแพกซ์ ผสมกับไดยูรอน แทน การใช้สารเคมีกำจัด วัชพืช ควรผสมสารจับใบลงไปประมาณ 0.1-0.3% โดยริมาตร จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น อาจพ่นซ้ำอีก 1 ครั้ง เมื่อพบว่าวัชพืชงอกขึ้นมา โดยพ่นหมดทั้งแปลง หรือเฉพาะจุดก็ได้ ข้อควรระวัง ภายหลังจากการใช้สารเคมีเร่งดอกสับปะรด แล้วห้ามใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช จนกว่าจะเก็บผลเสร็จสิ้น

ประโยชน์ของสับปะรด

สับปะรดมีส่วนต่าง ๆ ที่ใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง ดังนี้

1. เนื้อ ใช้รับประทานสดหรือแปรรูปเป็นสับปะรดแช่อิ่ม สับปะรดกวน สับปะรดแห้ง แยมสับปะรด หรือ บรรจุกระป๋อง และคั้นทำน้ำสับปะรด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้เนื้อสับปะรดผสมกับปลา และเกลือหมักไว้ทำเป็นอาหารที่เรียกว่า "เค็มหมากนัด"

2. ผลพลอยได้จากเศษเหลือ เศษเหลือของสับปะรดส่วนใหญ่จากอุตสาหกรรมบรรจุกระป๋อง สามารถนำมาแปรรูปทำอย่างอื่นได้ เช่น
2.1 น้ำเชื่อม
2.2 แอลกอฮอล์
2.3 น้ำส้มสายชู และไวน์
2.4 อาหารสำหรับเลี้ยงวัว
2.5 กรดอินทรีย์ 3 ชนิด คือ กรดซิตริก กรดมาลิก และกรดแอสคอร์บิก

3. ใบ
3.1 เส้นใยจากใบสับปะรด นำมาทอเป็นผ้าใยสับปะรด ในฟิลิปปินส์เรียกว่า "ผ้าบารอง" ราคาแพง นิยมตัดเป็นชุดสากลประจำของชาติฟิลิปปินส์และไต้หวัน
3.2 เยื่อกระดาษจากใยสับปะรด จะได้กระดาษที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ความบางมาก มีผิวนุ่มเนียน สามารถบิดงอหรือเปลี่ยนรูปร่างได้ง่าย โดยไม่เสียหาย ในหลายประเทศใช้เป็นกระดาษสำหรับพิมพ์ธนบัตร

4. เปลือก การใช้เปลือกสับปะรดเลี้ยงวัว เศษเหลือทิ้งจากโรงงานสับปะรด คือ เปลือกและแกนกลางซึ่งจะมีน้ำอยู่สูงถึงร้อยละ 90 เมื่อคิดต่อน้ำหนักสดส่วนเหลือทิ้งจะมีโปรตีน และโภชนะย่อยได้ทั้งหมดประมาณร้อยละ 0.7 และ 7 เมื่อคิดต่อน้ำหนักแห้ง จะมีค่าโปรตีนและโภชนะย่อยได้สูงถึงร้อยละ 7 และ 70 ตามลำดับ ปกติวัวชอบกินเปลือกสับปะรด ยิ่งเปลือกที่ทิ้งไว้ 2-3 วัน สีออกเป็นน้ำตาลเทา ๆ มีกลิ่นเหม็นเล็กน้อย วัวจะชอบกินมากกว่าเปลือกสด ดังนั้น หากเลี้ยงวัวในแหล่งที่มีโรงงานสับปะรด จึงใช้เปลือกสับปะรดเป็นอาหารเลี้ยงวัวได้ทั้งฝูง และวัวขุน โดยนำเปลือกมากองทิ้งไว้ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงใช้เป็นอาหารเลี้ยงวัวได้เป็นการลงทุนที่น้อยที่สุด แต่ให้ผลตอบแทนสูง

การใช้สารเคมีเร่งการออกดอกในสับปะรด
เนื่องจากสับปะรดมีอายุการออกดอกค่อนข้างช้า และไม่สม่ำเสมอ ซึ่งมีผลไปถึงการเก็บผลด้วย แต่ในบรรดาพืชมีดอกทั้งหลาย สับปะรดนับว่าเป็นพืชที่ใช้สารเคมี เร่งให้ออกดอกก่อนกำหนดได้ง่าย

1. เอทธิฟอน เป็นสารเคมีที่ให้ก๊าซเอทธิลินโดยตรง เมื่อเอทธิฟอนเข้าไปในเนื้อเยื่อสับปะรด จะแตกตัวปล่อยเอทธิลินออกมา เอทธิลิน เป็นตัวชักนำให้เกิดการสร้างตาดอกขึ้น ซึ่งจะทำให้เก็บผลได้ก่อนกำหนดประมาณ 2 เดือน เอทธิฟอน มีชื่อการค้าหลายชื่อ แต่ที่นิยมคือ อีเทรล (39.5% เอทธิฟอน) โดยใช้ในอัตรา 8 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร และเติมปุ๋ยยูเรียอีก 300 กรัม ผสมให้เข้ากันดีแล้ว ใช้หยอดยอดหรือฉีดพ่น ต้นละ 70-80 ซีซี หยอด 2 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน สารนี้เมื่อผสมน้ำแล้ว ต้องใช้ทันทีอย่างช้าไม่เกิน 2 ชั่วโมง มิฉะนั้นสารเคมีจะลดประสิทธิภาพลง เวลาที่เหมาะสมในการหยอด คือ ตอนเช้ามืด และต้นสับปะรดต้องมีลักษณะพร้อมที่จะออกดอก หากฝนตกมาภายใน 2 ชั่วโมงหลังการใช้สารนี้ให้ทำซ้ำอีกครั้ง ให้เร็วเท่าที่จะทำได้ ปริมาณการใช้เอทธิฟอนจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดต้นสับปะรด ถ้าต้นสมบูรณ์มาก ให้ใช้ปริมาณมากขึ้น หรือหากจำเป็นต้องหยอดยอดในตอนกลางคืน ช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าว ให้ใช้ปริมาณมากขึ้นอีกเท่าตัว

2. ถ่านแก๊สแคลเซียมคาร์ไบด์ (บางที่เรียกว่าถ่านเหม็น) การใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ เร่งดอกสับปะรดเป็นที่นิยมกันมาก เพราะหาง่ายและราคาไม่แพง แต่การใช้จะได้ ผลดีนั้น ต้นสับปะรดจะต้องมีลักษณะพร้อมที่จะออกดอก คือ มีอายุระหว่าง 7-8 เดือน หรือมีโคนต้นที่อวบใหญ่ ประมาณน้ำหนักของต้น 2.5 กิโลกรัมขึ้นไป หรือมีใบ 45 ใบขึ้นไป จึงใช้สารเร่งดอกได้ผล การใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ เพื่อเร่งดอกสับปะรดนั้น ปัจจุบันมีชนิดเกล็ดสำเร็จรูปเพื่อให้ใช้ได้ง่าย โดยใช้อัตรา 200-250 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ปล่อยให้เดือดเต็มที่แล้วนำไปหยอดสับปะรดต้นละ 70-80 ซีซี (ถ้าเป็นแปลงสับปะรดตอหยอดต้นละ 80-90 ซีซี) ทำการหยอด 2 ครั้งห่างกัน 5-7 วัน ควรทำในเวลาเช้ามืดหรือตอนเย็น เพราะถ้าทำในตอนกลางวันจะได้ผลไม่ดีนัก หากฝนตกมาภายใน 2 ชั่วโมงหลังการใช้สารนี้ ให้ทำซ้ำอีกครั้ง ให้เร็วเท่าที่จะทำได้ หลังจากหยอดสารเร่งประมาณ 40-45 วัน จะเริ่มเห็นสับปะรด เป็นจุดแดงอยู่ภายในยอด ต่อมา 60-70 วัน จะเห็นผลสับปะรดขนาดเล็กทรงกลมสีแดงโผล่ขึ้นจากยอด อาจมีดอกสีม่วงอยู่ด้วยดอกจะเริ่มบาน จากฐานไปยอดลูก ประมาณ 90 วัน ดอกสีม่วงจะแห้ง แล้วเข้าสู่ช่วงการขยายขนาดผลซึ่งจะขึ้นอยู่กับความชื้น และธาตุอาหารที่ต้นสับปะรด ได้รับในระหว่างการเจริญ เติบโตของผล (ปัจจุบันมีปัญหาขาดแรงงานในการหยอดแก๊ส จึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้)

การเก็บเกี่ยว

ในประเทศไทยการปลูกสับปะรดสามารถทำได้เกือบตลอดปีดังนั้นการเก็บผลสับปะรดก็ สามารถทําได้เกือบตลอดทั้งปีเช่นกัน แต่ที่สับปะรดให้ผลชุกที่สุดมี 2 ช่วง คือ ช่วงสับปะรดปี ซึ่งจะเก็บผลได้มากกว่าสับปะรดทะวายประมาณ 3 เท่า ช่วงนี้จะอยู่ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน และช่วงสับปะรดทะวาย ซึ่งออกในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม การสังเกตผลแก่ของสับปะรด พิจารณาได้จากลักษณะภายนอกผลดังนี้ ผิวเปลือก จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นเขียวอมเหลืองอมส้ม หรือเขียวเข้มเป็นมัน ใบเล็ก ๆ ของตาย่อย จะเหี่ยวแหห้ง เป็นสีน้ำตาลหรือชมพู ตาย่อย จะนูนเด่นชัดเรียกว่าตาเต็ม ร่องตาจะตึงเต็มที่ขนาดของผลไม่เพิ่มขึ้นอีก ดมกลิ่น ผลสับปะรดแก่จะส่งกลิ่นหอมเฉพาะตัว ความแน่นของผล จะลดลงเมื่อใช้นิ้วดีดหรือไม้เคาะเพื่อฟังเสียง ถ้าเสียงโปร่งแสดงว่ายังไม่แก่ ถ้าเสียงทึบ (หรือแปะ) แสดงว่าแก่จัดได้ที่แล้ว

การเก็บผล

การเก็บผลเพื่อบริโภคผลสด ใช้มีดตัดที่ก้านผลให้เหลือขั้วติดผลไว้บ้าง และคงให้มีจุกติดอยู่กับผลเพื่อป้องกัน การเน่าของผล อันเนื่องจาก แผลที่เกิดจาก การปลิดจุกหรือขั้วผลออก หลังจากตัดผลแล้วให้ใช้มีดฟันใบต้น เดิมออกเสียบ้าง เพื่อให้หน่อได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ และเหลือหน่อดินไว้แทนต้นเดิม 1-2 หน่อเท่านั้น ส่วนหน่อที่เหลือก็ขุดหรือปลิดออกจากต้นนำไปปลูก ขยายเนื้อที่หรือจำหน่าย ต่อไปได้ พันธุ์ภูเก็ต จะนิยมปลิดจุกตั้งแต่ผลมีอายุประมาณ 2 เดือน ส่วนพันธุ์อินทรชิตและ พันธุ์ขาว จะตัดจุกทิ้งประมาณ 1/2 ส่วน ในเวลาที่เก็บผลจำหน่าย การเก็บผลเพื่อส่งโรงงานอุตสาหกรรม ก็จะปลิดผลออกจากก้านเท่านั้น หรืออาจจะปลิดจุกออกด้วย การเก็บผลสับปะรดให้ได้คุณภาพดี ควรเก็บ 3 ครั้ง - ครั้งแรก จะเก็บได้ประมาณ 20-25% ของผลทั้งหมดในแปลง - ครั้งที่สอง เก็บหลังจากครั้งแรกประมาณ 5 วัน จะเก็บได้ประมาณ 40-60% ของผลทั้งหมด - ครั้งสุดท้าย เก็บหลังจากครั้งที่สองประมาณ 5-7 วัน โดยเก็บผลที่เหลือทั้งหมด

การไว้หน่อสับปะรด

หลังจากเก็บผลรุ่นแรกหมดแล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้

1. เก็บหน่ออุ้มลูก ซึ่งจะเกิดพร้อม ๆ กับผลสับปะรด ออกไปจากแปลงปลูก

2. ฟันใบทิ้งไปเสียบ้างโดยฟันให้เหลือใบสูงจากพื้นดินเพียง 1 คืบ ถ้าเป็นช่วงฝนแล้งให้ฟันใบให้สูงขึ้นมาอีกเล็กน้อย การฟันใบนี้ช่วยให้หน่อแตกใหม่เร็วขึ้น หลังจากเก็บหน่ออุ้มลูก และฟันใบออกแล้วสามารถเก็บหน่อได้อีก 2-3 ครั้งเพื่อนำไปขยายพันธุ์ได้ แต่ถ้าจะไว้หน่อเอาไว้พร้อม ๆ กันในช่วงเดียวกัน หลังจากเก็บหน่อครั้งสุดท้ายไปแล้ว

โรค-แมลงศัตรูและการป้องกันกำจัด

ปกติสับปะรดมักปลูกซ้ำที่เดิมอยู่ตลอดปีเพียงพืชเดียวโดด ๆ จึงเป็นโอกาสที่โรค-แมลงศัตรูจะระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดจนโรคมีโอกาสปรับตัวให้เข้ากับสภาพการปลูก และการดูแลรักษา ซึ่งปฏิบัติซ้ำซากตลอดมา โรคแมลงศัตรูที่สำคัญที่ทำความเสียหายให้กับสับปะรดมีดังนี้

1. โรคยอดเน่าหรือต้นเน่า เกิดจากเชื้อรา 2 ชนิด ทำความเสียหายร้ายแรง ให้กับสับปะรดที่ปลูกในพื้นที่ที่มีการระบายน้ำเลว หรือในช่วงฝนตกชุก และระบาดรุนแรงมากเป็นพิเศษ ในพื้นที่ที่มีสภาพเป็นด่างคือระดับความเป็นกรด-ด่างของดินสูงกว่า 5.5 ขึ้นไป เชื้อราพักอยู่ในดินได้เป็นเวลาหลายปี เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็เข้าทำลายสับปะรดได้อีก อาการ ในแปลงสับปะรดที่มีอายุ 2-3 เดือน อาการเริ่มแรกจะเห็นใบสับปะรด เปลี่ยนจากสีเขียวสดเป็นเขียวอมเหลืองซีด ปลายใบงอเกิดรอยย่นบริเวณตัวใบ ใช้มือดึงส่วนยอดจะหลุดติดมือโดยง่าย โคนใบที่เน่าจะมีสีขาวอมเหลือง และมีขอบสีน้ำตาล ส่งกลิ่นเหม็นเฉพาะตัว สำหรับสับปะรดที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไป หากดินฟ้าอากาศไม่เหมาะสม ก็อาจเกิดโรคนี้ได้ โดยจะแสดงอาการที่ส่วนยอดเท่านั้น ซึ่งเป็นเพราะว่าส่วนยอดมีความอ่อนแอมากที่สุด สับปะรดที่เกิดโรคนี้มักจะไม่ตาย แต่ทำให้เกิดอาการเตี้ยแคระออกผลล่าช้า หรือไม่ติดผลเลยก็ได้ ในฤดูฝนจะสังเกตอาการได้ยาก มักพบว่าใบตรงกลุ่มกลางต้นจะล้มพับลงมา ทั้ง ๆ ที่ใบเริ่มจะเปลี่ยนสีเขียวเล็กน้อย การเน่าจะมีกลิ่นเหม็นเฉพาะตัว

การป้องกันกำจัด

1. ปรับปรุงการระบายน้ำในแปลงปลูกให้ดี เช่น ไถดินให้มีความลึกมากขึ้น การยกแปลงให้สูง การปรับระดับ พื้นที่ให้ลาดเอียงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้น้ำขัง จะช่วยลดความเสียหายลงได้มาก

2. ควรใช้หน่อหรือตะเกียงปลูก เพราะว่าการใช้จุกปลูกจะมีโอกาสเน่าเสียหายได้ง่าย เพราะจุกมรอยแผล ที่โคนขนาดใหญ่กว่า เมื่อเทียบ กับหน่อหรือตะเกียง

3. ปรับระดับความเป็นกรด-ด่างของดินให้ลดต่ำกว่า 5.5 โดยใช้กำมะถัน หรือปุ๋ยที่มีฤทธิ์ตกค้างเป็นกรด เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต

4. ก่อนปลูกจุ่มหน่อพันธุ์ให้ชุ่มในสารเคมีป้องกัน เชื้อราที่แนะนำไปแล้ว ในเรื่อง "การเตรียมหน่อพันธุ์ก่อนปลูก" หลังปลูกไปแล้ว ควร ป้องกันโรคนี้โดยการใช้สารเคมีดังกล่าวฉีดพ่นที่ยอดทุก ๆ 2 เดือน

2. โรคผลแกน เกิดจากเชื้อรา 2 ชนิด โรคนี้จะพบมากในสับปะรดที่แก่จวนจะเก็บผลได้แล้ว สับปะรดที่ผ่านช่วงแล้งและร้อนเป็นระยะเวลานาน ๆ สลับกับฝนตกในช่วงผลใกล้จะแก่ จะเกิดโรคนี้ได้มาก รวมทั้งการใช้ปุ๋ยยูเรีย ติดต่อกันในอัตราที่สูงมีแนวโน้มทำให้เกิดโรคนี้ได้ อาการ ลักษณะอาการภายนอกผลไม่ค่อยแตกต่างจากสับปะรดที่ปกติ แต่เนื้อภายในผลจะแข็งเป็นไต มีบางส่วนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เกิดอาการเป็นหย่อม ๆ หรือแพร่กระจาย ทั่วทั้งลูกก็ได้ ทำให้ความหวานลดลง สับปะรดที่มีผลขนาดใหญ่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผลที่มีขนาดเล็ก การป้องกันกำจัด
1. โดยลดปริมาณปุ๋ยยูเรีย ให้ใช้ตามอัตราที่แนะนำ
2. ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 15 วัน ตั้งแต่ผลสับปะรดอยู่ได้ 90 วัน จนก่อนเก็บเกี่ยวผล 1 เดือน
3. ฉีดพ่นด้วยสารเตตรามัยซิน อัตรา 250 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ในช่วงที่ผลสับปะรด เริ่มพัฒนาจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว

3. ไส้เดือนฝอย จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตอย่างมาก โดยเฉพาะในสับปะรดรุ่นที่ 2 หรือ 3 มักจะมีอาการรากปม ซึ่งเกิดจากไส้เดือนฝอยรากผมเป็นส่วนใหญ่ เมื่อไส้เดือนฝอยนี้เข้าทำอันตรายแก่สับปะรดแล้ว เชื้อราโรคเน่าจะเข้าไปทำลายซ้ำเติมได้ การป้องกันกำจัด
1. ขุดต้นและรากของสับปะรดที่แสดงอาการขึ้นมาเผาทำลาย
2. หลีกเลี่ยงการปลูกสับปะรดซ้ำที่เดิม, ปลูกพืชอื่นหมุนเวียน
3. ปลูกพืชที่มีความต้านทานต่อไส้เดือนฝอย เช่น ดาวเรือง ถั่วลายโครตาเลีย เป็นต้น
4. ใช้สารเคมีอบฆ่าไส้เดือนฝอยในดิน เช่น นีมากอน ดี-ดี-มิกซ์เจอร์ เป็นต้น

4. เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงตัวเล็กยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ลำตัวเป็นปล้องค่อนข้างสั้น มีขี้ผึ้งคล้ายผงแป้งสีขาวห่อหุ้มตัว และมีเส้นใยยื่นออกจากตัว ตัวเมียไม่มีปีก ตัวผู้มีปีก มักพบเป็นกลุ่มที่ซอกกาบใบ โดนต้นและลำต้น เมื่อบี้ตัวแมลงจะมีเมือกสีแดงคล้ายเลือดออกมา การทำลายโดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่บริเวณโคนต้นและราก ถ้ามีการทำลายมาก ๆ ต้นและใบจะค่อย ๆ เหี่ยวแห้งอาจถึงตายได้ ทำให้ผลผลิต ลดลง ตัวพาหะของเพลี้ยแป้งคือ มดดำ ซึ่งจะคาบเพลี้ยแป้งมาปล่อยไว้ที่ต้นสับปะรด และอาศัยกินของเหลวที่เพลี้ยแป้งขับถ่ายออกมา การป้องกันกำจัด
ควรทำควบคู่ไปกับการกำจัดมดดำที่เป็นพาหะของเพลี้ยแป้ง โดยใช้มาลาไธออนฉีดพ่นหรือจุ่มหน่อก่อนปลูก เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้ง และใช้เซฟวินฉีดเป็นแนวกันมดรอบแปลงปลูก ถ้าพบเพลี้ยแป้งในภายหลังปลูกแล้วให้ใช้มาลาไธออนฉีดพ่นในอัตรา 40 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้ง
Read more >>

 การผลิตมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ เป็นเทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดูแบบไร้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช สามารถบังคับมะนาวออกดอกติดผลนอกฤดูได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ปลูกได้เกือบทุกที่ที่เป็นที่โล่งแจ้ง ให้ผลตอบแทนสูงและคืนทุนได้เร็ว

ขั้นตอนการผลิตมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์
พันธุ์ที่แนะนำ
ควรเป็นพันธุ์ที่ต้องการของตลาด ทนต่อโรคและแมลง และออกดอกติดผลง่าย เช่น มะนาวแป้นมะนาวไข่ และมะนาวหนัง เป็นต้น
 การปลูก
1) ระยะปลูก ควรปลูกด้วยระยะ กว้างxยาว = 3.5x4.0 เมตร หรือ 4.0x4.0 เมตร จำนวนต้น 100-120 ต้น/ไร่
2) การเตรียมวงบ่อซีเมนต์วงบ่อซีเมนต์ที่เหมาะสมควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 80-100 เซนติเมตร สูง 40-50 เซนติเมตร (ขนาดวงบ่อห้องสุขา) และฝาวงบ่อที่มีขนาดเดียวกันรองอยู่ชนิดไม่เชื่อมติดกับวงบ่อโดยตรง
3) การเตรียมดินปลูกดินที่ใช้ปลูกต้องดีและมีความอุดมสมบูรณ์สูง โดยใช้ ดินร่วน:ปุ๋ยหมัก อัตรา 3:2 ส่วน หรือ ดินร่วน:ปุ๋ยคอก อัตรา 3:1 ส่วน นำดินที่ผสมกันดีแล้วใส่ในวงบ่อซีเมนต์ที่จัดเตรียมไว้ให้เต็ม แล้วพูนขึ้นมาเล็กน้อย
4) วิธีการปลูกใช้ต้นพันธุ์ จากกิ่งตอน หรือปักชำ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ขุดหลุมในวงบ่อให้มีขนาดใหญ่เท่ากับขนาดถุงชำพอดี รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อต้น แล้วตักดินกลบ ยกถุงต้นพันธุ์ วางปักไม้หลัก และผูกเชือกยึดเพื่อป้องกันลมโยก รดน้ำให้ชุ่ม

การบังคับมะนาวให้ออกดอก/ติดผลนอกฤดู
1) การปลิกดอกและผลมะนาวที่ออกดอกติดผลในฤดูกาล หลังจากปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ได้ประมาณ 6 เดือน มะนาวบางพันธุ์อาจมีการออกดอกติดผลเล็กน้อยก่อนถึงช่วงบังคับให้มะนาวออกดอกติดผล ควรเด็ดออกทั้งหมด การปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ไม่ควรปล่อยให้มะนาวออกดอกติดผลอยู่บนต้นตลอดทั้งปี เพราะมะนาวที่ปลูกในวงบ่อซีเมนต์ต้นจะทรุดโทรมเร็วกว่าปกติ
2) ต้นมะนาวที่สามารถนำมาบังคับให้ออกดอกนอกฤดู ควรเป็นต้นมะนาวที่มีอายุได้ 8 เดือน หรือ1 ปีขึ้นไป หลังปลูก
3) การคลุมโคนด้วยผ้าพลาสติกก่อนบังคับมะนาวให้ออกดอก 1 เดือน ต้องงดการให้น้ำ เช่น ต้องการให้มะนาวออกดอกในเดือนตุลาคม ให้งดการให้น้ำเดือน กันยายน แล้วนำพลาสติก (ผ้าพลาสติกกันฝน) ยาวประมาณ 3 เมตร กว้าง 1 เมตร มาคลุมปากวงบ่อซีเมนต์ด้านโคนต้นไม่ให้น้ำซึมลงไปในดินปลูก โดยให้ชายของผ้าพลาสติกด้านหนึ่งมัดติดกับโคนต้นมะนาวให้สูงประมาณ 20 เซนติเมตร จากพื้นดินขึ้นมาส่วนชายด้านล่างใช้เชือกฝางมัดติดกับวงบ่อซีเมนต์ เป็นเวลานาน 15-30 วัน สังเกตดูเมื่อใบมะนาวมีอาการเหี่ยว (ใบสลด) หรืออาจมีใบร่วงบ้างแล้ว ให้แกะผ้าพลาสติกที่คลุมโคนต้นปากบ่อวงซีเมนต์ออก แล้วให้น้ำแก่ต้นมะนาวตามปกติ พร้อมใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา1 ช้อนแกงต่อต้นเมื่อต้นมะนาวออกดอกติดผลแล้ว ควรให้น้ำและปุ๋ยเพื่อบำรุงต้นมะนาวตามปกติ จนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงฤดูแล้ง
 

การดูแลรักษา
1) การให้น้ำ ควรให้น้ำต้นมะนาวอย่างสม่ำเสมอ 1-3 วัน/ครั้ง
2) การให้ปุ๋ย
2.1) ระยะที่ยังไม่ให้ผลผลิต
ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อต้น ทุก 1-2 เดือน โดยหว่านปุ๋ยบน
ผิวดินรอบๆโคนต้นแล้วรดน้ำตามทันที
2.2) ระยะให้ผลผลิตแล้ว
ระยะบำรุงต้น
ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ16-16-16 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อต้น ทุก 1-2 เดือน
โดยหว่านปุ๋ยบนผิวดินรอบๆโคนต้นแล้วรดน้ำตามทันที
ระยะเร่งสร้างตาดอก (หลังบังคับการออกดอก)
ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อต้น โดยหว่านปุ๋ยบนผิวดินรอบๆโคนต้นแล้วรดน้ำตามทันที
ระยะบำรุงผล
ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อต้น ทุก 1-2 เดือน โดยหว่านปุ๋ยบนผิวดินรอบๆโคนต้นแล้วรดน้ำตามทันที
ระยะหลังเก็บเกี่ยว
ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 1½ ช้อนแกงต่อต้น โดยหว่านปุ๋ยบนผิวดินรอบๆโคนต้นแล้วรดน้ำตามทันที
3) การป้องกันกำจัดโรคและแมลง, การป้องกันกำจัดวัชพืช, การค้ำกิ่ง, การตัดแต่งกิ่ง, การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ดูแลเช่นเดียวกับการปลูกมะนาวตามปกติ
4) การเพิ่มดินและใส่ปุ๋ยปลูกหลังเก็บเกี่ยว
หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตและตัดแต่งกิ่งมะนาวที่ปลูกในวงบ่อซีเมนต์แต่ละปี ควรนำดินร่วน:ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 1:1 ส่วน หรือ ดินร่วน:ปุ๋ยคอก อัตรา 2:1 ส่วน ผสมกันให้เข้ากันดีแล้วนำไปใส่เพิ่มในวงบ่อซีเมนต์ให้เต็มปากบ่อพูนขึ้นมาเล็กน้อย พร้อมใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1½ ช้อนแกงต่อต้น โดยหว่านปุ๋ยบนผิวดินรอบๆโคนต้นแล้วรดน้ำตามทันที
Read more >>

at 4:15 PM Labels: Posted by Nutcharin 0 comments

หญ้าแฝกเป็นพืชตระกูลหญ้าที่ขึ้นเป็นกอหนาแน่นอยู่ตามธรรมชาติ ทั่วทุกภาคของประเทศจากที่ลุ่มจนถึงที่ดอน สามารถขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด เจริญเติบโตโดยการแตกกอ เส้นผ่าศูนย์กลางกอประมาณ 30 เซนติเมตร ความสูงจากยอดประมาณ
0.5-1.5 เมตร ใบแคบยาว ประมาณ 75 เซนติเมตรกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร ค่อนข้างแข็ง เจริญเติบโตในแนวดิ่งมากกว่าออกทางด้านข้างและมีจำนวนรากมากจึงเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี รากจะประสานติดต่อกันหนาแน่นเสมือนม่านหรือกำแพงใต้ดิน สามารถกักเก็บน้ำและความชื้นได้ ระบบรากจะแผ่ขยายกว้างเพียง 50 เซนติเมตรโดยรอบกอเท่านั้น ไม่เป็นอุปสรรคต่อพืชที่ปลูกข้างเคียง จึงสามารถนำมาปลูกเพื่อใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้นและรักษาหน้าดิน รักษาสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สามารถนำไปปลูกบนพื้นที่สองข้างของทางชลประทาน อ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ ป่าไม้ ขอบตลิ่ง คอสะพาน ไหล่ถนนเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายได้

หญ้าแฝกช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำได้อย่างไร
1. แถวหญ้าแฝกช่วยลดความเร็วและความรุนแรงของน้ำไหลบ่า ช่วยกักเก็บตะกอนดินที่ถูกน้ำพัดพา
2. ตะกอนที่ทับถมจะพัฒนาเป็นคันดินธรรมชาติ
3. รากหญ้าแฝกช่วยยึดเกาะดิน

การปลูกหญ้าแฝกนอกจากจะช่วยในการอนุรักษ์ดินและน้ำแล้ว ยังมีบทบาทที่สำคัญในการปรับปรุงบำรุงดินทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบและรากของหญ้าแฝกนั้น เมื่อมีการย่อยสลายสามารถปล่อยธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองแก่ดิน รากหญ้าแฝกจะช่วยให้ดินร่วนซุย เนื่องจากรากหญ้าแฝกหยั่งลึกลงดินจึงมีการดูดธาตุอาหารจากดินล่างขึ้นมาหมุนเวียน และยังพบจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์หลายชนิดอาศัยอยู่ในบริเวณรากของหญ้าแฝก เมื่อรากหญ้าแฝกตายลงเกิดช่องว่างสำหรับน้ำและอากาศถ่ายเทได้สะดวก เป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช หรือช่วยให้ปุ๋ยที่ใส่ซึมลงดินได้มากขึ้น


ข้อมูลจาก กลุ่มวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการจัดการดิน
สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน
กรมพัฒนาที่ดิน
Read more >>